ความมุ่งมั่นเพื่อธรรมชาติที่ดีขึ้นกว่าเดิมภายในปี พ.ศ. 2573

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เรียกร้องให้มีการร่วมมือกันเพื่อยกระดับการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย และเพื่อบรรลุเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกที่ได้ประกาศใช้ไปเมื่อเร็วๆ นี้
เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ผู้แทนจากประเทศต่างๆกว่า 200 คนได้เข้าร่วมประชุมที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในวาระการประชุมว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 15 (CBD COP15) โดยผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นชอบในการนำกรอบงานคุนหมิง – มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก (GBF) มาใช้ ซึ่งเป็นแนวทางที่ยังไม่เคยใช้มาก่อน กรอบความคิดนี้มีจุดประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะยุติการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของโลกอย่างเร่งด่วน เพื่อปกป้องระบบนิเวศที่สำคัญของเรา และเพื่อต่อยอดความพยายามในการฟื้นฟูธรรมชาติให้มากขึ้น
เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลสรุปที่สำคัญและข้อคิดต่างๆที่ได้จากกการประชุมนานาชาติครั้งนี้ให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในประเทศไทย สผ.ได้เชิญผู้แทนมากกว่า 240 คนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม บริษัทเอกชน องค์กรวิชาการ และองค์กรระหว่างประเทศ มาร่วมการประชุมสัมมนาที่โรงแรมคาร์ลตัน สุขุมวิท เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566
เลขาธิการ สผ. ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช กล่าวย้ำว่าการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกัน และก่อให้เกิดความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนต่อมนุษยชาติ
สผ. มีหน้าที่เป็นจุดศูนย์กลางสำหรับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยและกำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนากรอบนโยบายระดับชาติเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานภายในประเทศให้ตรงตามเป้าหมายระดับโลก ในขณะเดียวกันก็จะนำผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงานต่างๆด้วย
มร. ฮานส์ อูลริช ซูดเบค อุปทูตและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของสถานเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย และ มร. ไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทย ย้ำว่าความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันที่แน่นแฟ้น เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเยอรมนีเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ การที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้แผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (International Climate Initiative IKI) โครงการใหม่ที่ดำเนินการโดย GIZ ซึ่งสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยสู่ทิศทางของการปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง ความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ และความเป็นธรรมชาติที่มากขึ้น
การประชุมจบลงด้วยการอภิปรายซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวคิดและความคิดริเริ่มต่างๆ ที่สามารถจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการปกป้องดินและน้ำให้ได้ร้อยละ 30 ของพื้นที่ภายในปี พ.ศ. 2573 (2023) (“เป้าหมาย 30×30”) ช่วยแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพของโลกและทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและด้วยความเท่าเทียมกัน รวมทั้งส่งผลให้การท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ธรรมชาติได้รับผลประโยชน์ไปด้วยกัน