German International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in Bangkok
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)webadminNovember 7, 2018March 11, 2022
ข่าวและกิจกรรม
  • 03 กันยายน 2564
    CSH ประเทศไทยจัดอบรม “เรา แยก (ขยะ) กันเถอะ” ส่งเสริมความรู้การแยกขยะอย่างถูกวิธี
  • 27 มกราคม 2564
    CSH ประเทศไทย ยกระดับการเรียนรู้ภาษาเยอรมันเบื้องต้นสู่ระบบดิจิทัล
  • 30 ตุลาคม 2562
    GIZ pilots regional Training on Sustainable Procurement
  • 26 กรกฎาคม 2562
    GIZ ประเทศไทยผลักดันการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


คอร์สอบรม
  • 27 ม.ค. - 3 ก.พ. 2566 Results-oriented Project Management (Online)
จดหมายข่าว
CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
Logo CSH

ในฐานะที่บริษัทที่ดำเนินงานในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลก
เราถือหน้าที่และพันธกิจในการส่งเสริมความยั่งยืนขององค์กรเป็นเรื่องสำคัญ

 

แนวทางการดำเนินงาน CSH (GIZ, 2016)

Corporate Sustainability Handprint  หรือ CSH เป็นหนึ่งในเครื่องมือการจัดการที่สำคัญที่สุดของ GIZ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการพัฒนาด้านความยั่งยืนในทุกระดับของ บริษัท โดยมุ่งเน้นไม่เพียงแค่ผลกระทบด้านลบต่อระบบนิเวศ หรือคาร์บอนที่เกิดจากจากการใช้ทรัพยากร (footprint) ของบริษัท แต่ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมในด้านบวก 4 ด้านของความยั่งยืน   (handprint)

การดำเนินงานด้าน CSH ของ GIZ ประจำประเทศไทย

สำนักงานส่วนกลางของ GIZ ประจำประเทศไทยเริ่มกระบวนการ CSH ในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2559 โดยมีการรวมตัวกันของทีมงาน ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานส่วนกลาง และเจ้าหน้าที่โครงการ หลังจากการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 กันยายน ทีมงานได้รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการทำงาน (ด้านความยั่งยืน)ใน 4 สาขา ดังนี้

  1. ประสิทธิภาพทางด้านเศรษฐกิจ
  2. ความรับผิดชอบทางสังคม
  3. ความสมดุลด้านระบบนิเวศ
  4. ความมีส่วนร่วมของพนักงาน

ทีมงาน CSH ได้ประเมินสถานะความยั่งยืนปัจจุบันของ GIZ ประจำประเทศไทย โดยมีกระบวนการรวบรวมข้อมูล ซึ่งครอบคลุมการปฏิบัติงานของสำนักงานส่วนกลางทั้งหมด และการปฏิบัติงานของโครงการบางส่วน การประเมินนี้ใช้เป็นฐานในการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน เพื่อปรับปรุงความยั่งยืนในเฉพาะด้านภายในกรอบเวลา 2 ปี

กิจกรรม CSH ที่ผ่านมาและที่กำลังดำเนินงานอยู่ ได้แก่ อาหารกลางวันไร้พลาสติก (Brown Bag Lunch) การทำความสะอาดชายหาดที่เกาะสาก จังหวัดชลบุรี การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำน้ำหมักสำหรับทำความสะอาด งานแข่งขันวิ่งของพนักงาน การรีไซเคิลกระดาษถ่ายเอกสาร การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้รับจาก CSH

ทำให้บริหารจัดการความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้สำนักงานสามารถรวบรวมข้อมูลหลัก ๆ ที่เกี่ยวกับตัวบ่งชี้ และแนวความคิดความยั่งยืนได้อย่างเป็นระบบและสม่ำเสมอ และเพื่อสามารถประเมินข้อมูลที่ได้มานี้

  • ช่วยประหยัดทรัพยากร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดค่าใช้จ่าย
  • ทำให้เรามั่นใจว่าความพยายามในด้านความยั่งยืนของบริษัทเป็นที่ยอมรับจากทั้งภายในและภายนอก
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และช่วยดึงดูดลูกค้าและคู่ค้า โดยแสดงให้เห็นถึงแนวทางการจัดการที่มีความรับผิดชอบ
  • ช่วยให้บริษัทสามารถระบุตัวเลือกทางยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการปรับปรุงวิธีดำเนินมาตรการความยั่งยืนหลัก
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน ในกระบวนการความยั่งยืนขององค์กร
  • สร้างโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีไปทั่วโลก

แนวทางการดำเนินงาน CSH (GIZ, 2016)

“อยากให้โลกเป็นอย่างไร จงเป็นคนแบบนั้นก่อน” (มหาตมะ คานธี)
วิดีโอ

มาเรียนรู้เกี่ยวกับ CSH…

CSH คืออะไร? ทำไม CSH ถึงมีความสำคัญต่อ GIZ ประเทศไทย? ที่ผ่านมา CSH ประเทศไทย ได้สร้างผลงานอะไรมาแล้วบ้าง? และพนักงาน GIZ ประเทศไทยจะช่วยส่งเสริมความยั่งยืนต่อไปได้อย่างไรบ้าง?

เจ้าหน้าที่ GIZ ประเทศไทยร่วมมือร่วมใจทำหน้ากากผ้าใช้เอง

เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากาก พวกเราจึงพร้อมใจกันทำหน้ากากผ้า ป้องกันไวรัสโควิด-19 หน้ากากผ้านี้ สามารถใช้ป้องกันละอองน้ำลาย และสามารถซัก นำมาใช้ซ้ำได้

เราเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เรากำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัล และเราดำรงอยู่เพื่อความยั่งยืน

วิดีโอนี้ ได้รวบรวมกิจกรรมด้านความยั่งยืนต่างๆ ที่เราได้ทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บขยะพลาสติกริมชายหาด การรีไซเคิลและการจัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Sustainability Contest 2021
Photo Credit: Susanne Ferrari

สำหรับการประกวด Sustainability Contest ประจำปีนี้ เจ้าหน้าที่ของ GIZ จากทั่วโลก ได้ส่งวิดีโอกันเข้ามามากมายในหมวดหมู่ที่แตกต่างกัน และประเทศไทยได้ถูกตัดสินให้เป็นหนึ่งในผู้ชนะในการส่งคลิปวิดีโอ ภายใต้หัวข้อ “Living sustainability in times of the pandemic” หรือ “การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนยามโรคระบาดมาเยือน”

ปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง เริ่มได้ตั้งแต่ตอนนี้!

เราจะดำเนินชีวิตให้มีความสุขและปลอดภัยในช่วงการระบาดของโควิด-19 ได้อย่างไร? การปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงมีความสำคัญต่อชีวิตและโลกของเรา เจ้าหน้าที่ของ GIZ ประเทศไทย ได้เรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตใหม่ จากการเดินทางมาที่ทำงานเปลี่ยนมาเป็นการทำงานจากบ้าน การประชุมออนไลน์ได้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติของเรามากขึ้นในปัจจุบัน เราเดินทางน้อยลงและอยู่บ้านมากขึ้น ซึ่งแนวทางการปฏิบัติในรูปแบบนี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย นอกจากนี้ เรายังมีเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับครอบครัวมากขึ้น เช่น ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ ทำปุ๋ยหมักใช้เอง หรือแม้แต่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กที่บ้าน สิ่งเหล่านี้นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวแล้ว ยังช่วยรักษาสมดุลชีวิตการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว ตลอดจนสร้างความมั่นใจได้ว่าร่างกายและจิตใจของเราจะมีสุขภาพที่ดี

คู่มือ

คลิก ที่นี่ เพื่ออ่านคู่มือแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่จัดทำขึ้นโดยทีม CSH ของ GIZ ประจำประเทศไทย

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
ติดตามเรา
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
ติดต่อเรา

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16)
ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

อีเมล: giz-thailand [at] giz.de
โทรศัพท์ : +66 2 661 9273    โทรสาร : +66 2 661 9281

ตู้ไปรษณีย์

ตู้ปณ. 11-1485 นานา กรุงเทพฯ 10112 ประเทศไทย

สมัครจดหมายข่าว

© 2561 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.