German International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in Bangkok
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


ความเท่าเทียมทางเพศwebadminJuly 24, 2020March 11, 2022
ข่าวและกิจกรรม
  • 02 สิงหาคม 2564
    ความสำคัญด้านเพศสภาพและการปรับเปลี่ยนองค์กร: ข้อเสนอต่อผู้บริหารของ GIZ ประเทศปากีสถานและประเทศไทย
  • 08 มีนาคม 2564
    GIZ เปิดตัวแคมเปญรณรงค์ “ก้าวไปสู่โลกแห่งความเท่าเทียมทางเพศ”
  • 23 ตุลาคม 2563
    GIZ ประเทศไทย แบ่งปันแนวทางความร่วมมือเพื่อลดการคุกคามทางเพศ


คอร์สอบรม
  • 27 ม.ค. - 3 ก.พ. 2566 Results-oriented Project Management (Online)
จดหมายข่าว
ความเท่าเทียมทางเพศ

ความเท่าเทียมทางเพศ เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนและเป็นหลักการที่ GIZ ยึดถือปฏิบัติในการดำเนินงาน สิ่งสำคัญ คือ การสร้างและขยายโอกาสของพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีเพศสภาพ เพศวิถี หรืออัตลักษณ์ทางเพศเป็นอย่างไร

เราขับเคลื่อนประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ สร้างศักยภาพในระดับองค์กร และส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีสิทธิ และใช้สิทธิในการแสดงออกถึงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งในการดำเนินโครงการ กระบวนการภายในของ GIZ และหลักการต่างๆ ได้แสดงให้เห็นว่าความตระหนักด้านความเท่าเทียมกันทางเพศจะช่วยขจัดการกีดกันทางเพศและความไม่เท่าเทียมกันได้อย่างไรบ้าง

เพื่อเป็นการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ “เราทำงานเพื่อสร้างอนาคตที่น่าอยู่” GIZ ได้วางกลยุทธ์ความเท่าเทียมทางเพศ เพื่อเป็นกรอบในการทำงานของ GIZ ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่แต่ละประเทศสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง

องค์ประกอบเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ 5 ข้อ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ได้แก่

นโยบายและความรับผิดชอบของผู้นำ องค์กรมีนโยบายที่ชัดเจน และวิธีปฎิบัติเพื่อความเท่าเทียมทางเพศเป็นสิ่งที่ผู้บริหารยึดถือ สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานในขอบข่ายที่ตนรับผิดชอบ
วัฒนธรรมองค์กร องค์กรมีการเผยแพร่แนวทางปฏิบัติ จรรยาบรรณ และกระบวนการที่ส่งเสริมและขยายความเท่าเทียมกันให้เป็นที่รับรู้ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ทักษะความรู้ด้านเพศสภาวะ องค์กรมีการถ่ายทอดทักษะและความรู้ด้านเพศสภาวะให้กับพนักงาน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับวิธีการและแนวทางที่เกี่ยวข้อง เพื่อขจัดการกีดกันทางเพศและข้อจำกัดต่างๆ อันนำไปสู่ความเท่าเทียมทางเพศ
การปรับระบบการทำงาน องค์กรมีการวางแผนกระบวนการทำงานและวิธีการที่คำนึงถึงความแตกต่างทางสังคมและบทบาทของหญิงและชายในสำนักงานใหญ่และสำนักงานย่อย โดยเฉพาะในส่วนของการบริหารทรัพยากรบุคคล การทำสัญญา การจัดการด้านคุณภาพ รวมถึงการติดตามผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้น
ความเท่าเทียมทางเพศภายในองค์กร องค์กรมีการส่งเสริมศักยภาพ สิทธิ และโอกาสที่เท่าเทียมกันของพนักงานทุกคนโดยไม่จำกัดเพศสภาพ เพศวิถี หรืออัตลักษณ์ทางเพศ นอกจากนี้ องค์กรยังสร้างความสมดุลทางเพศในการทำงาน การรักษาสัดส่วนของจำนวนพนักงานหญิงและชายให้สมดุลในแต่ละประเภทของงานและการมอบหมายงานภายในองค์กร

วิดีโอ กลยุทธ์ความเท่าเทียมทางเพศของ GIZ

ความเท่าเทียมทางเพศใน GIZ ประเทศไทย

ความเท่าเทียมทางเพศเป็นหนึ่งในค่านิยมของ GIZ การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ การสร้างโอกาสความเท่าเทียมกัน การขจัดการกีดกันทางเพศ และการขจัดความรุนแรง เป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในการดำเนินงานด้านความร่วมมือกับประเทศต่างๆ และหน่วยงานภาครัฐของไทย รวมถึงปัจเจกบุคคลด้วย

เราสนับสนุนความเป็นธรรม ความหลากหลายทางเพศภายในองค์กร และสร้างโอกาสเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ ตลอดจนระบุและลดผลกระทบเชิงลบเกี่ยวกับเพศสภาวะที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการดำเนินโครงการ

บทสัมภาษณ์พิเศษ มร. ทิม มาเลอร์ อดีตผู้อำนวยการ GIZ ประเทศไทย

ความเท่าเทียมกันทางเพศ ไม่ใช่ประเด็นสำหรับผู้หญิงเท่านั้น

ความเท่าเทียมทางเพศและการไม่เลือกปฏิบัติ โดยทั่วไปครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับผู้หญิง ผู้ชาย เด็กผู้หญิง เด็กผู้ชาย กลุ่มเพศทางเลือก และบุคคลอื่นๆ ที่เผชิญกับการกีดกัน หรือการจำกัดศักยภาพหรือการแสดงออกด้านการเมืองการปกครองและสังคม

เพศสภาวะ เป็นเป้าหมายร่วมกันซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในสังคม

ความเท่าเทียมทางเพศ และการสร้างความเสมอภาคทางเพศ ครอบคลุมในหลายประเด็น เช่น การส่งเสริมผู้หญิงในการทำงานและการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ เนื่องจากปัจจุบัน พบว่ามีการแบ่งแยกเพศในโลกดิจิทัล และจำนวนผู้หญิงที่ทำงานในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ และการออกแบบมีน้อย

ความเท่าเทียมทางเพศ และการสร้างความเสมอภาคทางเพศให้เป็นแนวทางหลักของการพัฒนาในระดับสากล ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ลงนามในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2573 ซึ่งกำหนดให้สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศเป็นหัวใจหลักของการดำเนินการพัฒนา ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 5 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติร่วมมติในข้อตกลงเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความเท่าเทียมทางเพศ ทั้งด้านการเมืองและสังคม การขจัดความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง

การสร้างความเสมอภาคทางเพศในระดับองค์กร GIZ ประเทศไทย มีการกำหนดนโยบายการป้องกันการคุกคามทางเพศและการกดขี่ข่มเหงในสถานที่ทำงาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณวีณา คิ้วงามพริ้ง
คุณณฐพร เศรษฐวงศ์
อีเมล gender-thailand(at)giz.de

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
ติดตามเรา
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
ติดต่อเรา

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16)
ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

อีเมล: giz-thailand [at] giz.de
โทรศัพท์ : +66 2 661 9273    โทรสาร : +66 2 661 9281

ตู้ไปรษณีย์

ตู้ปณ. 11-1485 นานา กรุงเทพฯ 10112 ประเทศไทย

สมัครจดหมายข่าว

© 2561 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.