German International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in Bangkok
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • โครงการ
  • โครงการระบบเครือข่ายพลังงานทดแทนสำหรับเกาะไทย
โครงการระบบเครือข่ายพลังงานทดแทนสำหรับเกาะไทยwebadminMarch 14, 2017April 21, 2022
ข่าวและกิจกรรม
  • 24 สิงหาคม 2560
    การจัดหาไฟฟ้าให้ชุมชนบนเกาะที่อยู่นอกระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศไทย
  • 13 มีนาคม 2560
    Assessing RE hybridization potential – GIZ field work on Thai islands
  • 03 มีนาคม 2560
    GIZ ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ริเริ่มโครงการศึกษาความเหมาะสมในการนำระบบพลังงานทดแทนแบบผสมผสานมาใช้บนเกาะ
  • 17 มกราคม 2560
    เกาะไทยวิสัยทัศน์กว้างไกลเลือกใช้พลังงานทดแทน


Resources
  • Project Summary Presentation Mak Noi – Thai Island Solar Nov 29, 2017
  • Project Summary Presentation Bulon Don – Thai Island Solar Nov 29, 2017
  • Project Summary Report Mak Noi – Thai Island Solar Nov 29, 2017
  • Potential Business Models for Thai Islands – Thai Island Solar Nov 29, 2017
  • Feasibility Study Mak Noi – Thai Island Solar Nov 29, 2017
  • Feasibility Study Bulon Don – Thai Island Solar Nov 29, 2017
  • Site Assessment Report Mak Noi – Thai Island Solar Nov 29, 2017
  • Site Assessment Report Bulon Lae – Thai Island Solar Nov 29, 2017
  • Site Selection Criteria Catalogue – Thai Island Solar Nov 29, 2017
  • Site Assessment Report Bulon Don – Thai Island Solar Nov 29, 2017


โครงการระบบเครือข่ายพลังงานทดแทนสำหรับเกาะไทย
123
ความเป็นมา

แม้ว่าปัจจุบันประชากรในประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงไฟฟ้าถึงร้อยละ 99 แต่มีชุมชนที่อยู่นอกระบบโครงข่ายไฟฟ้า อย่างเกาะในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ที่ต้องพึ่งพาเครื่องปั่นไฟจากน้ำมันดีเซล ไม่ว่าจะเป็นการปั่นไฟเพื่อใช้ในครัวเรือน หรือจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนที่ขายไฟฟ้าให้แก่ชุมชน

เกาะเหล่านี้ต้องเผชิญกับปัญหาการใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่อย่างจำกัด ราคาสูง และไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับ โดยปกติเครื่องปั่นไฟจากน้ำมันดีเซลทำงานเพียงวันละ 4-6 ชั่วโมง และการผลิตไฟฟ้าโดยเครื่องปั่นไฟนั้นก็มีต้นทุนสูงเมื่อเทียบกับค่าไฟมาตรฐานของประเทศ และบางครั้งชุมชนก็ไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะจ่ายได้

วัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน

ระบบกริด (เครือข่ายการจ่ายไฟฟ้า) แบบผสมผสานระหว่างพลังงานทดแทนและน้ำมันดีเซล หรือที่เรียกว่าไฮบริดกริด ช่วยให้ชุมชนที่อยู่นอกระบบโครงข่ายไฟฟ้า สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้มากขึ้น และยังแก้ปัญหาเรื่องราคาสูงและไฟฟ้าที่ไม่เสถียร

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจลงทุนทำระบบกริด ไม่สามารถประเมินความเหมาะสมของการลงทุนได้ เนื่องจากยังขาดการศึกษาด้านความเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ โครงการฯ จึงทำหน้าที่เป็นผู้ศึกษาความเหมาะสมและพัฒนารูปแบบธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมไปถึงการวางแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมเพื่อสร้างมูลค่าให้กับท้องถิ่นและรองรับการดำเนินงานในระยะยาว ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการมีดังนี้:

  • ระบุเกาะที่มีความเหมาะสมในการนำระบบพลังงานทดแทนแบบผสมผสานมาใช้
  • เลือกเกาะที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการ
  • ลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูลและประเมินเกาะที่ได้คัดเลือก
  • จัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมในการนำระบบพลังงานทดแทนแบบผสมผสานมาใช้บนเกาะ
  • พัฒนารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับชุมชน
  • จัดหาและร่วมมือกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบ
  • สนับสนุนและช่วยเหลือในกระบวนการติดตั้งระบบ
  • จัดอบรมและให้ความรู้กับชุมชน

การพัฒนารูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับชุมชน จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับท้องถิ่น ทางเลือกที่น่าสนใจและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานด้านนี้ คือ การมีบริษัทจัดการพลังงานทดแทน หรือ RESCO ที่มีโครงสร้างการบริหารจัดการโดยชุมชนและได้รับการสนับสนุนความรู้และการฝึกอบรมด้านเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งชุมชนเกาะจะได้รับประโยชน์สองต่อ คือ การเข้าถึงไฟฟ้าที่มั่นคงซึ่งจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และการสร้างมูลค่าให้ท้องถิ่นซึ่งจะช่วยให้ชุมชนมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

ผลกระทบ

ระบบไฮบริดกริดจะช่วยเปิดโอกาสให้ชุมชนได้ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์มากที่สุดในราคาที่สามารถจ่ายได้ ซึ่งจะส่งผลดีในหลายๆ ด้านดังนี้

ธุรกิจและการสร้างอาชีพ
การเข้าถึงไฟฟ้าที่มั่นคง ช่วยให้มีร้านค้า ร้านอาหารและธุรกิจขนาดเล็กเกิดขึ้นในท้องถิ่น ธุรกิจเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างรายได้เท่านั้น แต่ยังสร้างงานในท้องถิ่นอีกด้วย

สิ่งแวดล้อม
การขนส่ง การเก็บน้ำมัน รวมไปถึงการเดินเครื่องปั่นไฟที่ลดลง จะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นการช่วยลดมลพิษทางอากาศ เสียง ทะเล และดิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การศึกษา
การมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง และการลดลงของปัญหามลพิษทางเสียงและอากาศ จะส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้โดยรวม

การมีน้ำสะอาดใช้
การเข้าถึงไฟฟ้าจะช่วยให้ชุมชนสามารถสูบน้ำจากแหล่งน้ำและมีน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคได้เพียงพอต่อความต้องการ ปริมาณขยะพลาสติกจะลดลงและลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มที่ขนส่งมาจากฝั่งซึ่งมักมีราคาแพง

สุขภาพ
การมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง จะส่งผลให้ศูนย์บริการสุขภาพของชุมชน มีเครื่องทำความเย็นที่สามารถเก็บยาไว้ได้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมและสามารถใช้เครื่องมือแพทย์ต่างๆ ที่จำเป็นได้สะดวกขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพของการบริการด้านสุขภาพ

การเก็บรักษาอาหาร
การมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้คนในชุมชนสามารถใช้อุปกรณ์ทำความเย็นในการเก็บอาหารได้นานขึ้น อีกทั้งการประมง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักของเกาะ ก็จะได้รับประโยชน์จากการเก็บอาหารทะเลได้นานขึ้นด้วยเครื่องทำความเย็นหรืออุปกรณ์อบแห้ง

โทรคมนาคมและการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อสัญญาณโทรศัพท์ในเกาะส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี แต่ยังมีข้อจำกัดในการชาร์จแบตเตอรี่ของอุปกรณ์สื่อสาร เนื่องจากต้องชาร์จเฉพาะในช่วงที่มีการเดินเครื่องปั่นไฟจากน้ำมันดีเซลเท่านั้น การมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้คนในชุมชนสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายจะแพร่หลายมากขึ้น และสามารถติดตั้งในสถานที่ต่างๆ เช่น บริเวณศูนย์บริการสุขภาพ โรงเรียน อาคารราชการ เพื่อให้คนในชุมชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น

ผู้สนับสนุน: มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation)

นับเป็นครั้งแรกที่ GIZ และมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ผนึกกำลังร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกาะในประเทศไทยมีเทคโนโลยีสะอาดใช้บนพื้นฐานของรูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน

มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์สนับสนุนโครงการฯ ภายใต้กรอบแนวคิด “Smart Power for Rural Development Initiative” (SPRD) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงาน โดยจัดการไฟฟ้าในรูปแบบมินิกริดเพื่อให้แสงสว่างและใช้ในการประกอบธุรกิจ

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

ธันวาคม 2559 – ธันวาคม 2560

ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา

เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่
เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่พัฒนามาจากประสบการณ์การดำเนินโครงการของ GIZ ที่ประสบความสำเร็จในทวีปเอเชียและแอฟริกา

GIZ ใช้เกณฑ์ดังกล่าวในการคัดเลือกเกาะจำนวน 3 เกาะที่มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการมากที่สุด เพื่อลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลจากจำนวนทั้งหมด 5 เกาะที่ได้ระบุไว้ก่อนหน้าว่ามีความเหมาะสมในการนำระบบพลังงานทดแทนแบบผสมผสานมาใช้
เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่

การสำรวจพื้นที่
GIZ และที่ปรึกษาด้านเทคนิคได้ลงพื้นที่เกาะที่ได้รับการคัดเลือกทั้ง 3 เกาะ เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลเชิงเทคนิค เศรษฐกิจและสังคม เพื่อประเมินความเหมาะสมในการนำระบบพลังงานทดแทนแบบผสมผสานไปใช้

พิจารณาจากข้อมูลที่รวบรวมมา โครงการได้คัดเลือก 2 เกาะ เพื่อออกแบบระบบพลังงานทดแทนแบบผสมผสาน
รายงานการสำรวจพื้นที่เกาะบูโหลนดอน
รายงานการสำรวจพื้นที่เกาะบูโหลนเล
รายงานการสำรวจพื้นที่เกาะหมากน้อย

รูปแบบธุรกิจ
ในระหว่างที่ที่ปรึกษาด้านเทคนิคออกแบบระบบพลังงานทดแทนแบบผสมผสานที่เหมาะสมสำหรับเกาะ GIZ ก็ได้พัฒนารูปแบบธุรกิจที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสม เพื่อให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์สูงสุดและช่วยสร้างมูลค่าให้ท้องถิ่น รูปแบบธุรกิจที่พัฒนาขึ้นกำลังอยู่ระหว่างการทบทวนและกลั่นกรองโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
รูปแบบธุรกิจ

การศึกษาความเป็นไปได้ – การออกแบบระบบ
หลังจากการรวบรวมข้อมูลและการสำรวจพื้นที่ ได้มีการคำนวณการออกแบบระบบไฮบริดกริดสำหรับสองเกาะที่เลือก การศึกษาความเป็นไปได้นี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ง่ายต่อการเข้าถึงเทคโนโลยีและขนาดของระบบที่ถูกแนะนำ แต่ยังง่ายต่อการเข้าถึงการลงทุนด้วย

การศึกษาความเป็นไปได้เกาะบูโหลนดอน
การศึกษาความเป็นไปได้เกาะหมากน้อย

รายงานสรุปผลการดำเนินงาน

คลิกทีนี่

ติดต่อ

โทมัส โครเม็ทซ์กา
ผู้อำนวยการโครงการพลังงานทดแทน
Email: thomas.chrometzka(at)giz.de

PREVIOUS PROJECTโครงการสนับสนุนการจัดทำแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในมิติการจัดการความเสี่ยง (Risk – NAP)
NEXT PROJECTโครงการสนับสนุนการเตรียมพร้อมในการดำเนินงานของกองทุน Green Climate Fund ระยะที่ 1

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
ติดตามเรา
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
ติดต่อเรา

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16)
ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

อีเมล: giz-thailand [at] giz.de
โทรศัพท์ : +66 2 661 9273    โทรสาร : +66 2 661 9281

ตู้ไปรษณีย์

ตู้ปณ. 11-1485 นานา กรุงเทพฯ 10112 ประเทศไทย

สมัครจดหมายข่าว

© 2561 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.