สถาบันฝึกอบรมด้านการบริหาร Yashada (ATI) เป็นสถาบันการศึกษาที่ฝึกอบรมหน่วยงานภาครัฐในเขตชนบทและในเมือง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของรัฐ Maharashtra ได้นำแนวทางบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมือง (Urban Nexus) มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานของสถาบันและการทำงานกับเมืองและรัฐต่างๆ ตัวแทนจากสถาบันฝึกอบรม ATI ของรัฐ Maharashtra ประเทศอินเดียผู้แทนเมืองและสถาบันฝึกอบรมและวิจัยต่างๆ ได้เข้าร่วมการฝึกอบรม Urban Nexus ในรัฐ Maharashtra เมื่อวันที่ 25 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และใน New Delhi ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม พ.ศ. 2562
หลังจากการฝึกอบรม Urban Nexus ใน New Delhi เมื่อปีที่แล้ว ตัวแทนจากสถาบันฝึกอบรม ATI บางคนแสดงความสนใจและเริ่มวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองและวิธีการฝึกอบรมเชิงโต้ตอบแบบใหม่เข้าสู่สถาบันของตนทันที ซึ่งการบูรณาการจะถูกรวมอยู่ในหลักสูตรหลังจากนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการล่าสุดมุ่งเน้นที่การปรับปรุงการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันทุกระดับของรัฐบาล รวมทั้งการบูรณาการข้ามภาคส่วน เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการองค์รวมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้เข้าร่วมต่างปกป้องรักษาและบริหารจัดการ ”ความมั่นคงของอุปทาน” ซึ่งได้แก่ น้ำ พลังงานและความมั่นคงด้านอาหารในลักษณะที่สมดุลกัน เห็นได้จากตัวอย่างของการประสานงานของหน่วยงานระหว่างสถาบันหน่วยงานปฏิบัติการเฉพาะกิจ การอภิปรายโต๊ะกลมการเจรจาหรือแม้แต่กลไกการสื่อสารระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ล้วนใช้แนวทาง Urban Nexus เป็นเครื่องมือในการดำเนินงานด้วยกันทั้งสิ้น ผู้เข้าร่วมกว่า 30 คนจากสถาบันฝึกอบรมของรัฐ Maharashtra และเมืองต่างๆ ร่วมวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นรูปธรรมของเมืองตนเอง เช่น มลพิษทางอากาศ น้ำเสียและการจัดการขยะ โดยวิธีการฝึกอบรมและแนวทางของ Nexus ช่วยให้พวกเขาเห็นความสำคัญและลงลึกในเชิงปฏิบัติมากขึ้นและสามารถหาแนวทางในการแก้ปัญหาข้ามภาคส่วนได้ อาจกล่าวได้ว่าหากต้องการให้การจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการเกิดขึ้นจริง การประสานงานระหว่างสถาบันที่ถือเป็นจุดอ่อนที่สุดก็ “ต้อง” ได้รับการแก้ไข ใน Delhi ผู้เข้าร่วมค่อนข้างหลากหลาย เพราะมาจากการฝึกอบรมจากสถาบันวิจัยจากรัฐและเมืองทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ เชิงนวัตกรรมรูปแบบใหม่ของความร่วมมือ รวมถึงความเข้าใจ เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่างๆ เหล่านี้ไม่ค่อยได้มีโอกาสนักที่จะมารวมตัวกัน เพื่อทำงานและช่วยกันคิดแก้ไขปัญหาที่พบเจอ ปัญหาที่พวกเขาพบเจอส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่อยู่อาศัยใน Gurgaon การจัดการขยะใน Jabalpur รวมถึงน้ำเสียใน Hyderabad และ Bangalore ซึ่งล้วนอิงมาจากโครงการพัฒนาระดับชาติของอินเดียที่ต้องการให้เกิดแผนงาน Swachh Bharat, Housing for All, Smart City และ AMRUT ซึ่งแผนงานเหล่านี้ต้องการการบูรณาการทั้งระดับรัฐบาลและภาคส่วน งานเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เกี่ยวกับ Nexus จะมุ่งเน้นไปที่การเชื่อมโยงทางกายภาพระหว่างภาคส่วน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า บทบาทของสถาบันและภาครัฐ ได้รับความสนใจน้อยลง อย่างไรก็ตามเพื่อจัดการความเสี่ยงเพิ่มผลกำไรสูงสุดและลดสภาวะการได้อย่างเสียอย่าง เราจะต้องไม่เพียงแต่เข้าใจว่าแนวทางของ Nexus เชื่อมโยงทางกายภาพเท่านั้น แต่เชื่อมโยงกับระบบทางสถาบันได้อย่างไรด้วย
นอกจากนี้ วาระการประชุมระหว่างประเทศ (วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนค.ศ. 2030 และความตกลงปารีส) ได้ถูกรวมเข้ากับแผนงานนโยบายของอินเดียที่มีอยู่ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ตามคำแนะนำที่ว่าแนวทางการดำเนินงานและการตรวจวัด ควรต้องมีประเทศเป็นผู้นำให้เกิดการพัฒนา
ทุกคนต่างต้องการแนวทางการบริหารจัดการที่รับประกันว่าทรัพยากรธรรมชาติจะเกิดความยั่งยืน ดังนั้น การมี “สถาบันที่แข็งแกร่งจะช่วยเชื่อมโยงแนวทางการบริหารทรัพยากรได้อย่างดีและสมบูรณ์กว่า” ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่แนวทางของ Nexus แนวทาง Nexus เป็นทฤษฎีและในเวลาเดียวกันก็เป็นแนวคิดทางการเมืองที่ร้องขอให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการซึ่งเป็นเสมือน “เครื่องเตือน” ในการพยายามที่จะไม่ใช้ทรัพยากรอย่างน้ำพลังงานและที่ดินมากเกินกว่าที่มีอยู่ ซึ่งการวิเคราะห์การเชื่อมโยงระหว่างน้ำพลังงานและความมั่นคงด้านอาหาร มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อผนึกกำลังและลดการได้อย่างเสียอย่างระหว่างภาคส่วนให้น้อยที่สุด โดยจะมุ่งเน้นไปที่บทบาทสำคัญของความสัมพันธ์ของสถาบันและกลไกการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ