เมืองส่วนใหญ่ในเอเชียเผชิญปัญหาน้ำเสียที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการเก็บน้ำเสียจากครัวเรือนและสถานประกอบการ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้แทนระดับเมืองและระดับประเทศจากประเทศจีน อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนามจำนวน 25 คน จึงเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ และเยี่ยมชมการเก็บน้ำเสียระบบสุญญากาศ ที่เมืองดูไบ และอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในวันที่ 6 – 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
การประชุมเชิงปฏิบัติการและการเข้าชมการเก็บน้ำเสียระบบระบบสุญญากาศ เป็นทางออกทางหนึ่งสำหรับปัญหาการเก็บน้ำเสียแบบระบบแรงโน้มถ่วงทั่วไป ระบบสุญญากาศนี้ ช่วยให้เมืองสามารถสร้างหรือขยายเครือข่ายการจัดเก็บน้ำเสียในพื้นที่เมืองที่ยากต่อการเข้าถึง เช่น ถนนเล็ก ๆ พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ที่ราบลุ่มที่ไม่มีความลาดชัน ชายหาดและริมฝั่งแม่น้ำความสามารถในการขยายเครือข่ายการรวบรวมน้ำเสีย จะช่วยให้เมืองต่างๆ มีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป้าที่ 6 (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล) เป้าที่ 11 (เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน) เป้าที่ 13 (การรับมือการเปล่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และเป้าที่ 7 (พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้) ในกรณีที่น้ำเสียที่รวบรวมได้ ถูกนำมาใช้เป็นแหล่งสำหรับผลิตพลังงาน
การประชุมเชิงปฏิบัติการ มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีและความเหมาะสมของระบบรวบรวมน้ำเสียแบบสุญญากาศในการนำมาใช้ในเอเชียและตะวันออกกลาง ผู้เข้าร่วมประชุมได้เยี่ยมชมโครงการที่อยู่อาศัย Palm Jumeirah ที่เมืองดูไบ เพื่อดูระบบการรวบรวมน้ำเสียแบบสุญญากาศ และโรงงานบำบัดน้ำเสียสำหรับพื้นที่ที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวน 23,000 คน การรวบรวมน้ำเสียของ Palm Jumeirah ในดูไบเป็นโครงการระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียแบบสุญญากาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกสถานที่หนึ่งที่ผู้เข้าประชุมได้มีโอกาสเยี่ยมชม คือ ระบบรวบรวมน้ำเสียแบบสุญญากาศในเมืองอาบูดาบี ในทุกๆ ปี เกาะ Yas ในเมืองอาบูดาบีจะเป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งรถฟอร์มูล่า 1 เป็นเวลา 5 วัน โดยมีผู้เข้าชมประมาณ 60,000 คนต่อวัน ดังนั้นระบบรวบรวมน้ำเสียจึงต้องสามารถรองรับปริมาณน้ำเสียตามฤดูกาลและมีปริมาณมาก เมืองที่มีการท่องเที่ยวตามฤดูกาล เช่น เมืองเชียงใหม่ ประเทศไทย เมืองเหว่ยฟาง-บินไห่ ประเทศจีน เมืองตันจุงปีนัง ประเทศอินโดนีเซีย และเมืองดานัง ในประเทศเวียดนาม อาจเห็นความเป็นไปได้ในการใช้ระบบรวบรวมน้ำเสียแบบสุญญากาศเช่นกัน
ผู้เข้าร่วมประชุมกล่าวว่า มุมมองใหม่ๆ และความรู้ที่ได้รับมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการน้ำเสียและการพัฒนาเมือง และยังแสดงเจตนารมณ์ในการใช้เทคโนโลยีการเก็บรวบรวมน้ำเสียระบบสุญญากาศในพื้นที่ที่เหมาะสมในเมืองของตนอีกด้วย
แนวทางการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองเน้นการพึ่งพาอาศัยระหว่างน้ำ พลังงาน และความมั่นคงทางอาหารเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ เช่น การบริการพื้นฐานและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการใช้ทรัพยากรของโลกอย่างยั่งยืน
การประชุมเชิงปฏิบัติการและการเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ดำเนินการภายใต้กรอบโครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย