German International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in Bangkok
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • GIZ จับมือพันธมิตร ถกแนวทางการวางแผนพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
GIZ จับมือพันธมิตร ถกแนวทางการวางแผนพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพsoup chingnawanMarch 17, 2022April 8, 2022
โครงการ
  • การเกษตรและอาหาร
  • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • พลังงาน
  • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
  • การสาธารณสุข
  • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
  • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
จดหมายข่าว
GIZ จับมือพันธมิตร ถกแนวทางการวางแผนพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 17 มีนาคม 2565
  • แชร์บน
กลับสู่หน้าโครงการ

โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้และมั่นคงสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CASE) ซึ่งดำเนินงานหลักโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และพันธมิตร ร่วมกันจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “Long Term Energy Scenarios and Co-benefit Study: LEAP Training and Assumption Validation” ระหว่างวันที่ 17-18 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานร่วมกับโครงการฯอาทิ Agora Energiewende สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และ New Climate Institute (NCI)

การประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 1 มุ่งเน้นการนำเสนอแบบจำลองการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ หรือ Low Emissions Analysis Platform (LEAP) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ความต้องการพลังงานและการใช้พลังงานรายสาขาเศรษฐกิจ โดยมุ่งหวังให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลพื้นฐานและเกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้แบบจำลอง ตลอดจนการใช้สมมติฐานและการจำลองภาพอนาคตพลังงาน ซึ่งจะสามารถนำไปวางแผนรูปแบบการใช้พลังงาน และวิเคราะห์ความต้องการในการใช้พลังงานในอนาคตได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

สำหรับการประชุมในวันที่ 2 เป็นการจัดกิจกรรมสำหรับการตรวจสอบความถูกต้อง (result validation) ของฉากทัศน์ด้านพลังงานในระยะยาว หรือ Long-term Energy Scenario (LTES) โดยมีการสาธิตภาพจำลองความต้องการพลังงานของแต่ละฉากทัศน์  และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้หารือถึงความต้องการพลังงานของประเทศไทย โดยข้อเสนอแนะที่ได้จากการหารือจะถูกนำไปปรับสมมติฐานของฉากทัศน์ด้านพลังงานซึ่งจะถูกใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการจัดทำแผนพลังงานชาติ และแผนงานด้านพลังงานอื่นๆ ของประเทศต่อไป โดยแผนดังกล่าวอยู่ในระหว่างจัดทำโดยหน่วยงานต่างๆ รวมถึงสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมโครงการในส่วนของภาครัฐ

ผู้เข้าร่วมงานประชุมครั้งนี้กว่า 40 คนมาจากหน่วยงานที่เป็นกำลังสำคัญในการกำหนดนโยบายด้านพลังงานของประเทศ และหน่วยงานด้านพลังงานชั้นนำ อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน  ซึ่งให้ความสนใจในหัวข้อของการประชุมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ หัวข้อที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ การตรวจสอบความถูกต้องของผลรายสาขาเศรษฐกิจของฉากทัศน์ด้านพลังงานในระยะยาว LTES โดยมีการนำเสนอผลการจำลองฉากทัศน์ด้านพลังงานทั้งหมด 2 ฉากทัศน์ ได้แก่ Baseline scenario ซึ่งเป็นการจำลองภาพสถานการณ์ด้านพลังงานภายใต้การดำเนินนโยบายด้านพลังงานของประเทศไทยในปัจจุบัน และ Carbon neutrality scenario ซึ่งเป็นการนำเสนอภาพจำลองของการดำเนินนโยบายด้านพลังงานที่เข้มข้นมากขึ้นในแต่ละภาคส่วน เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปีพ.ศ. 2593 ตามแนวทางที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตจำนงไว้ในที่ประชุมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ COP26 ที่ผ่านมา

 จากการประชุมตลอดระยะเวลา 2 วัน ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ได้เสนอแนะให้มีการใช้พลังงานชีวภาพ (biomass) และพลังงานหมุนเวียน (renewable energy) มาใช้เป็นพลังงานหลักเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พลังงานชีวภาพที่ใช้วัสดุจากภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่สอดคล้องกับการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของภาครัฐ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยังให้ข้อคิดเห็นว่าการพัฒนาไฮโดรเจนเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการทำความร้อนจะเกิดขึ้นได้จริงหากได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศ 

โดยกิจกรรมการตรวจสอบความถูกต้องของผลเป็นกระบวนการสำคัญในการตรวจสอบสมมติฐานและผลลัพธ์การจำลองภาพฉากทัศน์พลังงานอนาคตของประเทศไทย เพื่อให้มั่นใจว่าสมมติฐานและผลลัพธ์ที่ปรากฏอยู่ในฉากทัศน์มีความสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย เพื่อให้งานศึกษาสามารถนำไปใช้ได้จริงภายใต้บริบทด้านพลังงานของประเทศไทย และเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนกระบวนการจัดทำแผนพลังงานชาติ ทั้งนี้ ข้อเสนอจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะถูกนำมาปรับปรุงในสมมติฐานและผลลัพธ์ของงานศึกษาต่อไป โดยผลการศึกษา LTES และ Co-benefit analysis จะถูกนำเสนอในการประชุมเชิงนโยบายระดับสูงที่มีกำหนดจัดงานในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 นี้ โดยผลการศึกษาจะถูกจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป

อัลบั้มภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

ซิมงก์ โรลอง
ผู้อำนวยการโครงการ
อีเมล:simon.rolland(at)giz.de

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
ติดตามเรา
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
ติดต่อเรา

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16)
ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

อีเมล: giz-thailand [at] giz.de
โทรศัพท์ : +66 2 661 9273    โทรสาร : +66 2 661 9281

ตู้ไปรษณีย์

ตู้ปณ. 11-1485 นานา กรุงเทพฯ 10112 ประเทศไทย

สมัครจดหมายข่าว

© 2561 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.