การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมในภาคการขนส่งช่วยสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามรูปแบบการพัฒนากิจกรรมในภาคการขนส่งในภูมิภาคเอเชียเป็นไปอย่างไม่ยั่งยืน ในอาเซียนมีจำนวนรวมของยานพาหนะมากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งรองจากประเทศจีนเท่านั้น ส่งผลให้อาเซียนกำลังเผชิญกับวิกฤตเกี่ยวกับ การจราจรติดขัด การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง มลพิษทางอากาศ และ ความปลอดภัยบนท้องถนน นอกจากนั้น ภาคการขนส่งเป็นแหล่งของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญของโลก โดยมีอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 5% ต่อปี เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีฐาน
นโยบายการขนส่งที่ยั่งยืนสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้หากมีมาตรการดำเนินการอย่างจริงและเร่งด่วน โดยมาตรการเหล่านี้ควรครอบคลุมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น ในแผนปฏิบัติการด้านกลยุทธ์ของภาคการขนส่งของภูมิภาคอาเซียน ปี 2554-2558 ได้กล่าวถึง การส่งเสริมระบบขนส่งที่ยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภาคการขนส่ง
จุดประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน
โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการขนส่งทางบกของภูมิภาคอาเซียน มุ่งพัฒนากลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเพื่อจะปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการขนส่งทางบก รวมถึง การตรวจวัดผลการดำเนินงาน โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ด้าน คือ
- การพัฒนานโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธาการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการขนส่งทางบก ในภูมิภาคอาเซียน
- แนวทางและรูปแบบการพัฒนานโยบายระดับประเทศ และ แผนปฏิบัติการสำหรับประเทศสมาชิกในโครงการ
- พัฒนาแผนปฏิบัติการ มาตรการ ใน 5 ประเทศ และการดำเนินงานตามแผนงานระดับประเทศในอย่างน้อย 3 ประเทศ
- การปรับปรุงระบบ ตรวจวัด การรายงาน และ การทวนสอบ ใน 5 ประเทศ
โครงการจะร่วมมือกับผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องในประเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ สำนักเลขาธิการอาเซียน คณะทำงานด้านการขนส่งทางบกของอาเซียน เพื่อทำให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ระยะที่ 1 ของโครงการเริ่มดำเนินงานตั้งแต่กลางปี 2555 จนกระทั่งปี 2558 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม ความร่วมมือ อาเซียน-เยอรมัน Cities-Environment-Transport ซึ่งทำงานร่วมกับโครงการปรับปรุงอากาศสะอาดในเมืองขนาดเล็กในเขตภูมิภาคอาเซียน และ โครงการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน
สนับสนุนงบประมาณโดย
กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ)
ข้อมูลเพิ่มเติม
Energy Efficiency and Climate Change Mitigation in the Land Transport Sector in the ASEAN Region
More about the project: Website, Facebook, Twitter, Flickr