ภูมิภาคอาเซียนได้ก้าวสู่การขนส่งที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านยานยนต์มากขึ้น ในเวทีการประชุมการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงอาเซียน ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 มีนาคมปีพ.ศ. 2560 การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและบรรเทาผล
เวทีการการดำเนินงานนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านยานยนต์เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนและให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์การขนส่งกัวลาลัมเปอร์ของภูมิภาคอาเซียน ค.ศ. 2016-2025 (KLTSP) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการจัดทำร่างแผนที่นำทางระดับภูมิภาคด้านการดำเนินงานนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านยานยนต์ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มยานพาหนะขนาดเล็ก โดยเน้นการให้คำแนะนำทางเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญ แบ่งปันประสบการณ์เชิงปฏิบัติและข้อมูล รวมทั้งเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูล ในเวทีการประชุมนี้ มีผู้เชี่ยวชาญเกือบ 50 คนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ตลอดจนสำนักเลขาธิการอาเซียน มหาวิทยาลัย องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์การระหว่างประเทศ
การกระตุ้นให้มีการดำเนินงานนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านยานยนต์เพิ่มขึ้น มีความสำคัญต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการขนส่ง และยังช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศในเมือง ช่วยประหยัดเงินของผู้บริโภค รวมทั้งลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง เวทีการประชุมยังเน้นย้ำถึงสถานการณ์ด้านการดำเนินงานนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านยานยนต์ในปัจจุบันของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งยังตามหลังตลาดยานยนต์สำคัญแห่งอื่นๆ ของโลก
ระหว่างการประชุม นายอเล็กซ์ เคิร์นเนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดำเนินงานนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านยานยนต์ระดับนานาชาติของ GIZ ได้หารือถึงวิธีการที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะสามารถเป็นผู้นำระดับโลกด้านการดำเนินงานนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านยานยนต์ หากมีการริเริ่มและดำเนินนโยบายที่เหมาะสมในระดับชาติและระดับภูมิภาค ทางด้านนายเบริ์ท ฟาเบียน ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติด้านการขนส่งเน้นย้ำถึงนโยบายที่ประสบความสำเร็จด้านการดำเนินงานนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านยานยนต์ที่มีอยู่ทั่วโลก ในขณะที่ผู้เข้าร่วมเวทีการประชุมจากประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้นำเสนอประสบการณ์ที่ประเทศของตนได้รับจากการใช้เครื่องมือด้านนโยบาย อาทิ eco-sticker (ฉลากสำหรับรถยนต์) และการเก็บภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนายทาลี ทริกก์ ผู้อำนวยการโครงการ TCC เรียกว่าตัวอย่างซึ่ง ‘ไม่ได้ยากอย่างที่คิด’ สำหรับพันธมิตรระดับภูมิภาคที่จะเรียนรู้และต่อยอดไปพร้อมๆ กับการมุ่งพัฒนาแผนที่นำทางระดับภูมิภาค
เวทีการประชุมได้ทบทวนข้อมูลที่ได้รับสำหรับการจัดทำร่างวิสัยทัศน์ ร่างเป้าหมาย และระยะความก้าวหน้า ซึ่งจำเป็นสำหรับการจัดทำแผนที่นำทางระดับภูมิภาคด้านการดำเนินงานนโยบายการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านยานยนต์ การหารือเกี่ยวกับช่องว่างขององค์ความรู้ และการระบุอุปสรรคที่มี เช่น การทำงานระหว่างกระทรวงและภาคส่วนในหัวข้อที่ซับซ้อนและมีหลายแง่มุม ผู้เข้าร่วมเวทีการประชุมได้ระดมความคิดในเรื่องโอกาสในการประสานงานกับอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อสร้างฐานสนับสนุนสำหรับการจัดทำแผนนำทาง นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมยังตั้งข้อสังเกตถึงความจำเป็นในการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นของภาคประชาสังคม ผลที่ได้รับจากเวทีการประชุมจะช่วยชี้นำทิศทางให้กับการจัดทำแผนที่นำทางด้านการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง โดยคาดว่าแผนที่นำทางฉบับร่างที่สมบูรณ์จะแล้วเสร็จภายในปลายปี พ.ศ. 2560
เวทีการประชุมได้เปิดตัวสัปดาห์แห่งกิจกรรม ซึ่งสิ่งที่เป็นไฮไลต์ของงาน ก็คือ การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางบกที่ยั่งยืนของอาเซียน ครั้งที่ 2 (EGSLT) ซึ่งการประชุม EGSLT จะนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมด้านการขนส่งที่ยั่งยืนภายใต้แผน KLTSP
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูเอกสารนำเสนอของการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรืออ่านรายงานโดยละเอียดของการประชุมเชิงปฏิบัติการ