ความเป็นมา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลคุกคามอย่างหนักในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศแถบชายฝั่งที่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาภาคการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นถึง 2.5 องศาเซลเซียสในปลายศตวรรษนี้ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความแตกต่างในการพัฒนาเศรษฐกิจ หลายประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนารวมทั้งภาคีสมาชิกจึงมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปริมาณของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ยังแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการที่จะใช้มาตรการเพื่อลดผลกระทบสภาวะโลกร้อนรวมทั้งชะลอการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีการผนวกกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสามารถเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่การปกป้องสภาพภูมิอากาศและการสร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
เป้าหมายของในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (ระหว่างปีพ.ศ. 2552-2554) อยู่ที่ 60% สำหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทุกประเภท รวมทั้งการเพิ่มจำนวนของหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการฯ จาก 25% ในปี พ.ศ. 2552 เป็น 100% ในปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบันนี้มีหน่วยงานภาครัฐทั้งสิ้นจำนวน 151 หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ดังนั้นการบูรณาการองค์ความรู้ พร้อมผนวกเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเข้ากับเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญยิ่ง
วัตถุประสงค์
ฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในประเทศไทยและประเทศกลุ่มอาเซียน (ที่เลือกเข้าร่วมโครงการฯ) มีการปรับปรุงเกณฑ์ข้อกำหนดให้ครอบคลุมเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างศักยภาพของการดำเนินโครงการการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัดที่ OO1
มีเอกสารเชิงนโยบายหรือแผนสำหรับฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีการผนวกเกณฑ์เกี่ยวกับการปกป้อง สภาพภูมิอากาศ
ของประเทศไทย และประเทศกลุ่มอาเซียน (ที่คัดเลือก)
ตัวชี้วัดที่ OO2
จำนวนของกลุ่มของสินค้า/ผลิตภัณฑ์ในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการของภาครัฐฯ ที่ได้รับฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีการผนวกเกณฑ์เกี่ยวกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น 20%
ตัวชี้วัดที่ 003
มีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยงข้องกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยและในอีกอย่างน้อย 2 ประเทศอาเซียน (ที่คัดเลือก)
วัตถุประสงค์เฉพาะของโครงการ
วัตถุประสงค์ SO1 ฉลากสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีการปรับปรุงเพิ่มเติมเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศ
วัตถุประสงค์ SO2 การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีการเพิ่มเติมเกณฑ์ข้อกำหนด
เกี่ยวกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศและได้รับการทดสอบ (Tested in pilot)
วัตถุประสงค์ SO3 เผยแพร่/แลกเปลี่ยนยุทธศาสตร์การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่มีการเพิ่มเติมเกณฑ์ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศกับประเทศอาเซียน (ที่คัดเลือก)
ตัวชี้วัด SO1 มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศในฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
ตัวชี้วัด SO2a อย่างน้อยห้ากลุ่มสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ภายใต้การจัดซื้อจัดจ้างฯ ของรัฐ มีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวชี้วัด SO2b มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานภายใต้โครงการนำร่อง (pilot implementation) การจัดซื้อจัดจ้างฯ
ตัวชี้วัด SO3a มีการศึกษาเปรียบเทียบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นพิจารณาในประเด็นของการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ระหว่างประเทศไทยและอย่างน้อยสามประเทศอาเซียน
ตัวชี้วัด SO3b มีเอกสารแสดงความสนใจในยุทธศาสตร์การจัดซื้อจัดจ้างฯ ของรัฐบาลไทยจากประเทศอื่นๆในอาเซียน
แนวทางการดำเนินงาน
โครงการฯ ได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ และความปลอดภัยทางปรมาณูแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (BMU) โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) กรมควบคุมมลพิษ (PCD) สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และแผนงานสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม (UNEP) ร่วมดำเนินโครงการ ฯ โดยมีแนวทางในการดำเนินโครงการฯ ดังนี้
1. ผนวกเกณฑ์ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศในฉลากสิ่งแวดล้อม
โครงการฯ จะทำการวิเคราะห์และศึกษาเปรียบเทียบข้อกำหนดหรือเกณฑ์เดิมของฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและประเทศอาเซียน (ที่คัดเลือก) พร้อมเสนอแนะข้อกำหนดและแนวทางการบูรณาการเกณฑ์ทางสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงการคุ้มครองสภาพภูมิอากาศ (Climate aspects) กับฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิม รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตได้สอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. เสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินโครงการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
โครงการฯ จะสนับสนุนการบ่งชี้กลุ่มสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ตามข้อกำหนดการจัดซื้อจัดจ้างฯ และผนวกเกณฑ์ข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศในห้ากลุ่มสินค้า นอกจากนี้โครงการฯ จะสนับสนุนการปรับปรุงหรือพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อช่วยในการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของภาครัฐ และข้อมูลจัดทำพื้นฐานเกี่ยวกับการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์จากการดำเนินกิจกรรรมภายใต้โครงการฯ
3. แผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างบริการและสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศไทยและประเทศอาเซียน (ที่คัดเลือก)
โครงการฯ จะสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ข้อมูลยุทธศาสตร์การดำเนินการด้านการจัดซื้อจัดจ้างฯ แก่ประเทศในกลุ่มอาเซียน ผ่านเวทีการสัมมนาหรือนิทรรศการระดับนานาชาติ
สนับสนุนงบประมาณโดย
กระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณูและคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV)