ความเป็นมา
การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (SCP) เป็นองค์ประกอบที่จำเป็นในการสร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยการเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง และใช้งานได้ง่ายเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งในการพัฒนาไปสู่การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน โครงการฯ จึงได้สนับสนุนกรอบการทำงานสิบปี (10 YFP) เรื่องการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในโปรแกรมข้อมูลสำหรับผู้บริโภค โครงการฯ มีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มความตระหนัก สนับสนุนโครงสร้างเชิงสถาบัน และความสามารถด้านเทคนิคในการพัฒนานโยบายและเครื่องมือเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อนำไปสู่รูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนและสร้างคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้โครงการฯ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศที่จะนำไปสู่การปล่อยมลพิษที่น้อยลง การค้าและการลงทุนในภูมิภาค และระหว่างภูมิภาคจะเพิ่มขึ้นจากการรวมตัวกันของฉลากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ประเทศที่เกี่ยวข้องจะเกิดการสร้างงาน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และความสามารถในการแข่งขัน ทั้งหมดนี้ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การฝึกอบรมและการศึกษาต่อเนื่อง และหน่วยงานรัฐได้จัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีค่าใช้จ่ายตลอดวัฏจักรชีวิตต่ำลง
วัตถุประสงค์
- ข้อกำหนดด้านความเป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศถูกผนวกเข้ากับฉลากสิ่งแวดล้อม (ประเภทที่ ๑) ในประเทศเป้าหมาย (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์) และมีการยอมรับร่วมเรื่องฉลากสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในภูมิภาค
- ยุทธศาสตร์และหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจทางการเมือง เศรษฐกิจ การเงินสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศ และฉลากสิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนา และเริ่มนำไปใช้ในประเทศเป้าหมาย
- เผยแพร่แนวปฎิบัติที่ดี
แนวทางการดำเนินงาน
โครงการสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายในแต่ละประเทศในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
- การบูรณาการและความร่วมมือในเรื่องข้อกำหนดด้านความเป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศในฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ ๑
- การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มความตระหนักให้กับหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานที่ให้การรับรอง
- การพัฒนาข้อแนะนำเกี่ยวกับแรงจูงใจด้านเศรษฐกิจ การเงิน ภาษี ในการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐและฉลากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
- การพัฒนาข้อเสนอสำหรับนำมิติด้านสังคมผนวกเข้ากับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการฯ และฉลากสิ่งแวดล้อม
- การระบุโอกาสในการพัฒนาข้อเสนอการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสม ที่เกี่ยวข้องกับ SCP
- การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และฉลากสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ในขณะเดียวกันส่งเสริมโดยตรงต่อการลดก๊าซเรือนกระจก ในช่วงที่ผ่านมาเครื่องมือเหล่านี้มีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับในภูมิภาค จากสถานการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ โครงการฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศ สร้างกลไกของการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และฉลากสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อมุ่งหน้าสู่สังคมเศษรฐกิจสีเขียว
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
01.2016 – 12.2018
สนับสนุนงบประมาณโดย
กระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณูและคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV)