“การประชุมเชิงปฏิบัติการในภูมิภาคครั้งนี้ ได้ช่วยให้ทีมงาน เบรีย สามารถยกระดับห่วงโซ่คุณค่า ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น นำไปสู่การแก้ปัญหาการเข้าถึงตลาด และกลยุทธ์การดำเนินงาน ในแต่ละประเทศ”
เบรีย มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับห่วงโซ่มูลค่าข้าวในภูมิภาคโดยการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรและจัดการหารือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายองค์กรในห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเชื่อมโยงตามเจตนารมณ์ของโครงการ สำนักเลขาธิการ เบรีย ภูมิภาค จึงได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นที่ ทามัน ซิมาเล็ม รีสอร์ท จังหวัด สุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2559 สำหรับในปีที่สามของการดำเนินโครงการ เบรีย ในแต่ละประเทศ ได้มีการนำกลยุทธ์และกิจกรรมต่างๆมาดำเนินการ ดังนั้น การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคในครั้งนี้ จึงเป็นการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตลอดจนบทเรียนที่ได้รับเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์การเชื่อมโยงตลาด เพื่อเป็นการระดมความเชี่ยวชาญด้านข้าวจากภายในและภายนอก และขยายความร่วมมือระหว่างโครงการ ผู้แทนจาก โครงการระบบอาหาร-เกษตร อย่างยั่งยืนแห่งอาเซียน และโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของ GIZ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในงานนี้ด้วย
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้สร้างความเข้าใจร่วมกันในการยกระดับการเชื่อมโยงตลาดที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละประเทศ เนื่องจากจำเป็นต้องมีการชี้แจงหลักการโดยทั่วไป ให้เกิดความเข้าใจในเรื่องระบบอาหารและการตลาดในบริบทของการพัฒนา นอกจากนั้นเพื่อให้ดำเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพในระบบดังกล่าว ยังมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดประเภทของช่องทางการตลาด การเชื่อมโยง และหน้าที่
การประชุมเชิงปฏิบัติมีวัตถุประสงค์และผลที่คาดดังต่อไปนี้:
การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าภายใต้กรอบของระเบียบวิธีของ ValueLinks (แวลูลิงค์ส) ซึ่งพัฒนาโดย GIZ
ฝึกปฏิบัติรูปแบบต่างๆของการเชื่อมโยงตลาดที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคภายใต้กรอบของ ValueLinks (วิธีการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า)
เข้าใจและจัดทำเป็นเอกสารเกี่ยวกับตลาดข้าวในภูมิภาคผ่านบทเรียนที่ได้รับในประเทศต่างๆที่ดำเนินโครงการ เบรีย
ทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์การเชื่อมโยงตลาดของ เบรีย
แบ่งปันรูปแบบและกลยุทธ์การเชื่อมโยงตลาดในแต่ละประเทศของ เบรีย
การวิเคราะห์และจัดทำเป็นเอกสารกิจกรรมของ เบรีย ในด้านห่วงโซ่คุณค่า
ในวันที่ 30 สิงหาคม ก่อนที่จะเริ่มการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมได้ไปสำรวจรูปแบบห่วงโซ่คุณค่าที่สุมาตราเหนือ โดยเข้าเยี่ยมชมโรงสีขนาดเล็กและขนาดกลาง เกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ห่วงโซ่คุณค่าข้าว) ฟาร์มและตลาดอินทรีย์ที่ ทามัน ซิมาเล็ม (ห่วงโซ่คุณค่าพืชสวนอินทรีย์) เกษตรกรผู้ปลูกเมล็ดพันธุ์และสมาคม (ห่วงโซ่คุณค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว) ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีโอกาสในการประเมินห่วงโซ่อุปทาน ผู้มีบทบาท และหน้าที่ ตลอดจนศักยภาพในการยกระดับห่วงโซ่คุณค่า (VC) ในจังหวัด
การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า ด้วย ValueLinks
ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมประเมินรูปแบบห่วงโซ่อุปทาน จากกิจกรรมของโครงการ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ขบวนการก่อนการผลิต, การผลิต, จนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค จากระดับกลุ่มเกษตรกร จนถึงระดับ ตำบล จังหวัด และระดับชาติ จากนั้น จึงนำเสนอแผนผังห่วงโซ่คุณค่า เพื่อแสดงผู้มีบทบาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมหน้าที่ ความท้าทาย เช่นเดียวกับศักยภาพ และวิเคราะห์บทเรียนที่ได้รับจากมาตรการการยกระดับ
ผู้เข้าร่วมทำการวิเคราะห์บนพื้นฐานของกรอบ ValueLinks ซึ่งครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้:
สภาพตลาดของสินค้าโภคภัณฑ์ในห่วงโซ่ (ประเภท/พันธุ์ ปริมาณ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย ระดับ ภูมิภาคที่เฉพาะเจาะจง การนำเข้า/ส่งออก อุปสงค์และอุปทาน)
ผู้มีบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน (SC) หน้าที่ และส่วนแบ่ง
ข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน
การแทรกแซงและกลยุทธ์ที่สำคัญของโครงการ
การทำแผนผังห่วงโซ่อุปทาน การเชื่อมโยงตลาด แผนผังการยกระดับ
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ / เพิ่มให้กับผู้มีบทบาทใน VC ในระดับต่างๆ
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปยัง / จาก VC ผลกระทบทางสังคม ของ VC ในระดับต่างๆ
ความคืบหน้า / ผลของการแก้ปัญหาที่เลือก
บทเรียนที่ได้รับจนถึงขณะนี้ (สิ่งที่ได้ผลดี และสิ่งที่ไม่ได้ผล อะไรคือปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญและสิ่งที่เป็นความกังวล/อุปสรรค อะไรที่จะทำแตกต่างกันในครั้งหน้า)
ปัจจัยที่ผลักดันทางการการตลาดของผลิตภัณฑ์ (คุณภาพ การตั้งราคา คุณค่า การบริหารความเสี่ยง ความสัมพันธ์กับลูกค้า แนวโน้มตลาด (มูลค่า และความชอบ เช่น รส สี การรับรอง ฯลฯ ) แนวโน้มของโลก อุปทาน การรับประกัน และอื่นๆ ของสินค้า)
องค์ประกอบบางอย่างที่จะต้องพิจารณา อาทิ ความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรและพ่อค้าคนกลาง การจัดประเภทของสินค้าตามคุณภาพ นโยบายด้านมาตรฐาน โครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติก ฯลฯ ..
สำนักเลขาธิการ เบรีย ภูมิภาค เชื่อว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่สองในภูมิภาคนี้ ได้ช่วยให้ทีมงาน เบรีย สามารถยกระดับ VC ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น นำไปสู่การแก้ปัญหา (โซลูชั่น) การเข้าถึงตลาด และกลยุทธ์การดำเนินงาน ในแต่ละประเทศ การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งแรก เพื่อ “การพัฒนาความสามารถในภาคการผลิตข้าว” ถูกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมของปีที่ผ่านมา