ในประเทศส่วนใหญ่ในเอเชีย ข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญ ระบบการผลิตส่วนใหญ่ประกอบด้วยเกษตรกรรายย่อย ซึ่งถ้าไม่ผลิตสำหรับตนเอง ก็เพื่อตลาดในประเทศ มีเพียงประมาณร้อยละห้าของปริมาณที่ปลูก ที่ถูกส่งออก ข้าวจึงเป็นพืชที่สำคัญที่สุดที่ปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับเป็นแหล่งที่มาของอาหารและการสร้างมูลค่าขึ้นในประเทศ
ในขณะเดียวกัน การเติบโตของประชากรในเอเชีย กำลังขับเคลื่อนความต้องการข้าว ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ การตอบสนองความต้องการนี้ในอนาคต จะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากอัตราผลผลิตที่ทรงตัว พื้นที่การเพาะปลูกที่หดตัว ประชากรที่มีอายุเพิ่มขึ้นในชนบท และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อความมั่นคงของแหล่งอาหารในระยะยาว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปแปลงนาของเกษตรกรรายย่อยให้ทันสมัย เป้าหมายนี้สามารถบรรลุได้ หากเกษตรกรมีการเข้าถึงบริการส่งเสริมการเกษตร การให้การสนับสนุนทางการเงิน การตลาด และปัจจัยการผลิตในการทำการเกษตร
เกษตรกรรายย่อยสามารถเอาชนะกับความท้าทายเหล่านี้ได้ ถ้าได้รับการบูรณาการรวมเข้าอยู่ในห่วงโซ่คุณค่าที่มีประสิทธิภาพ ที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนของวงจรการผลิตอาหาร ตั้งแต่การปลูก ขั้นตอนการแปรรูป ไปจนถึงการตลาด
BRIA ช่วยพัฒนาการผลิตข้าวและโภชนาการข้าว โดยการใช้วิธีการแบบองค์รวมห่วงโซ่คุณค่า เพื่อเสริมสร้างรายได้ของผู้ผลิตและโภชนาการของครอบครัวเกษตรกรผู้ยากจน ความรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการส่งเสริมการให้บริการทางการเกษตร จะช่วยเพิ่มระดับผลผลิตในการเพาะปลูกข้าว BRIA จะช่วยให้ประเทศ ที่โครงการดำเนินอยู่ บรรลุการพัฒนาทางภาคเกษตรและอาหารแห่งชาติ
โครงการ BRIA เป็นความริเริ่ม ขององค์การความร่วมมือด้านอาหารเยอรมัน (German Food Partnership หรือ GFP) และส่งเสริมธุรกิจการเกษตรและสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ดำเนินโครงการอยู่ในประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์
นอกเหนือจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการในประเทศเหล่านี้ BRIA ยังดำเนินการในระดับภูมิภาค สำนักเลขาธิการ BRIA ภูมิภาค ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับผิดชอบในการประสานงานของ Better Rice Initiative Asia ในระดับภูมิภาค
สำนักเลขาธิการ ดำเนินการโดย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammen-arbeit (GIZ) GmbH โดยการสนับสนุนทางการเงินจาก บีเอเอสเอฟ และไบเออร์ ครอปซายน์
องค์ความรู้ทั้งหมดจากกิจกรรมของโครงการที่มีการรวบรวมโดยสำนักเลขาธิการภูมิภาค จะแบ่งปันให้กับ สมาชิกในประเทศอาเซียน ผ่านทางสำนักเลขาธิการอาเซียน