German International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in Bangkok
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • โครงการ
  • แนวทางบูรณาการเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – การจัดเตรียมแนวทางระดับภูมิภาค
แนวทางบูรณาการเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – การจัดเตรียมแนวทางระดับภูมิภาคsoup chingnawanFebruary 13, 2023February 13, 2023
แนวทางบูรณาการเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – การจัดเตรียมแนวทางระดับภูมิภาค
    • แชร์บน
UPDATED on 13 ก.พ. 2566
Integrated Approaches for Air Quality Management & Climate Change in Southeast Asia – Preparation of a regional approach
ความเป็นมา

มลสารช่วงชีวิตสั้นที่ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ (Short – lived climate pullutants -SLCPs) ของคาร์บอนดำ ก๊าซโอโซน ก๊าซมีเทน และก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนในปัจจุบันถึง 45% อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และระบบนิเวศ (เกษตร) ทั่วโลก หนทางเดียวที่จะช่วยรักษาอุณหภูมิของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสนั้นคือต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ SLCPs อย่างไรก็ตาม คาดการณ์กันว่ามลสารดังกล่าวจะถูกปล่อยออกมามากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) จนถึงปี พ.ศ. 2603 เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการขยายตัวของสังคมเมืองและภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว จากการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 0.3% ของ GDP ในปี พ.ศ. 2558 เป็น 1.0% ของ GDP ภายในปี พ.ศ. 2603 โดยปัจจุบันประเทศที่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศสูงสูญเสีย GDP เป็นทุนเดิมอยู่แล้วกว่า 4% จากปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการดำเนินงานความร่วมมือระดับภูมิภาคอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบข้ามพรมแดนอย่างไม่ตั้งใจของมลสารช่วงชีวิตสั้นที่ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศ สุขภาพประชาชน และระบบนิเวศเกษตร ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระดับภูมิภาคในการส่งเสริมคุณภาพอากาศให้ดีขึ้นและการปกป้องสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อจัดเตรียมแผนการดำเนินงานระยะกลางของรัฐบาลเยอรมันในภูมิภาคอาเซียน

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการต่อยอดจากแนวทางและแผนนโยบายด้านการจัดการคุณภาพอากาศและการปกป้องสภาพภูมิอากาศภายในภูมิภาคอาเซียนทั้งที่มีอยู่แล้วและกำลังพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศระดับโลกในปัจจุบัน (เช่น ปฏิญญามีเทนโลก) และดำเนินงานด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

การให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

  • ปรับปรุงกรอบนโยบายส่งเสริมแนวทางบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพอากาศและการปกป้องสภาพภูมิอากาศในระดับอาเซียน
  • สนับสนุนการพัฒนาแนวคิดบูรณาการแผนงานความร่วมมือระดับชาติและระดับภูมิภาค ตลอดจนมาตรการปรับปรุงคุณภาพอากาศและปกป้องสภาพภูมิอากาศ

การเสริมสร้างศักยภาพ

  • พัฒนาศักยภาพด้านเทคนิคของหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการ (เน้นกระทรวงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง) และจัดตั้งเครือข่ายผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองระดับภูมิภาค
  • เชิญตัวแทนจากเอเชียใต้เข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ระหว่างภูมิภาคเพื่อนบ้าน

การสร้างความตระหนักและแลกเปลี่ยนความรู้

  • ดำเนินมาตรการสร้างความตระหนักผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้
การดำเนินงานที่ผ่านมา

การปรึกษาหารือกับผู้มีส่วนได้เสียภายใต้โครงการแนวทางบูรณาการเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – การจัดเตรียมแนวทางระดับภูมิภาค ในหัวข้อ “ความท้าทาย/ช่องว่างของแนวทางบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยเน้นที่

(1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

(2) การเสริมสร้างศักยภาพ และ

(3) การสร้างความตระหนักและแลกเปลี่ยนความรู้

สนับสนุนงบประมาณโดย
  • กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ)

  • กองทุนวิจัยและความเชี่ยวชาญ (SFF)

ประเทศ

ประเทศสมาชิกอาเซียน

หน่วยงานร่วมดำเนินการ

สำนักเลขาธิการอาเซียน, กรมควบคุมมลพิษแห่งประเทศไทย (PCD)

ระยะเวลาโครงการ

สิงหาคม พ.ศ. 2565 – มกราคม พ.ศ. 2567

PREVIOUS PROJECTโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นตัวของอาเซียนผ่านการสร้างศักยภาพหลักในด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน
NEXT PROJECTตัวชี้วัดเชิงนโยบายในการพัฒนา SMEs อาเซียน

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
ติดตามเรา
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
ติดต่อเรา

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16)
ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

อีเมล: giz-thailand [at] giz.de
โทรศัพท์ : +66 2 661 9273    โทรสาร : +66 2 661 9281

ตู้ไปรษณีย์

ตู้ปณ. 11-1485 นานา กรุงเทพฯ 10112 ประเทศไทย

สมัครจดหมายข่าว

© 2561 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.