German International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in Bangkok
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • โครงการ
  • โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นตัวของอาเซียนผ่านการสร้างศักยภาพหลักในด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน
โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นตัวของอาเซียนผ่านการสร้างศักยภาพหลักในด้านสาธารณสุขฉุกเฉินsoup chingnawanJanuary 19, 2023January 25, 2023
โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นตัวของอาเซียนผ่านการสร้างศักยภาพหลักในด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน
    • แชร์บน
UPDATED on 25 ม.ค. 2566
ความเป็นมา

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน ที่ดำเนินมาก่อนหน้านี้นั้น (พ.ศ. 2563 – 2565) ได้เล็งเห็นว่าศักยภาพของประเทศอาเซียนในการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขมีความแตกต่างกันหลายประการ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นตัวของอาเซียนผ่านการสร้างศักยภาพหลักในด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน จึงจะยังคงสนับสนุนภูมิภาคอาเซียน และรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนในการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการตอบสนองและเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนงานอาเซียน ปี พ.ศ. 2564 – 2568 ของกลุ่มสุขภาพอาเซียนที่ 2 “การสนองตอบต่อภัยทุกชนิดและความเสี่ยงอุบัติใหม่” ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ (ACPHEED) ที่ตั้งขึ้นใหม่ด้วย

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นตัวของอาเซียนผ่านการเสริมความเข้มแข็งของศักยภาพหลักในด้านการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ (ACPHEED)

แนวทางการดำเนินงาน

โครงการนี้ดำเนินการผ่านกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคของความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข (ASEAN Health Sector Cooperation) เกี่ยวกับการตอบสนองต่อภัยพิบัติ รวมถึงโรคอุบัติใหม่ ซึ่งรวมถึงภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขหรือการระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยโครงการให้การสนับสนุนดังนี้:

  • สนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งของศักยภาพหลักในด้านการควบคุมจัดการการระบาดใหญ่ และระบบห้องปฏิบัติการ
  • สร้างความเข้มแข็งในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ระดับภูมิภาค
  • สนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ (ACPHEED) และสร้างความเข้มแข็งของศักยภาพในการสื่อสารความเสี่ยงในอาเซียน
สนับสนุนงบประมาณโดย

กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ)

ประเทศ

ระดับภูมิภาค / อาเซียน (ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ)

หน่วยงานร่วมดำเนินงาน

กองสาธารณสุข สำนักงานเลขาธิการอาเซียน

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2567

ติดต่อ

นางพจมาน วงษ์สง่า
ผู้อำนวยการโครงการ
อีเมล: pouchamarn.wongsanga(at)giz.de

ดร. อรพรรณ ตาทา
ที่ปรึกษาโครงการ
อีเมล: oraphan.tatha(at)giz.de

PREVIOUS PROJECTโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
ติดตามเรา
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
ติดต่อเรา

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16)
ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

อีเมล: giz-thailand [at] giz.de
โทรศัพท์ : +66 2 661 9273    โทรสาร : +66 2 661 9281

ตู้ไปรษณีย์

ตู้ปณ. 11-1485 นานา กรุงเทพฯ 10112 ประเทศไทย

สมัครจดหมายข่าว

© 2561 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.