วันนี้ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และไทย ได้ร่างเกณฑ์มาตรฐานทางสังคมระดับชาติไว้สำหรับฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 และการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว เมื่อวันที่ 19-20 เมษายนปีพ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ สถาบันและผู้ดำเนินแผนงานที่เกี่ยวกับฉลากสิ่งแวดล้อมจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และไทยจำนวน 35 ท่านได้เข้าร่วม “การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่องการบูรณาการคุณลักษณะทางสังคมไว้ในฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 และการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่บาหลี ประเทศอินโดนิเซีย
หัวข้อของการประชุมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย
1. มาตรฐานทางสังคมในห่วงโซ่มูลค่าโลก – ภาพรวมและประเด็นสำคัญสำหรับฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 และการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. การศึกษาความเป็นไปได้เรื่องการบูรณาการคุณลักษณะทางสังคมในฉลากสิ่งแวดล้อม Blue Angel ประเทศเยอรมนี
3. การใช้เครื่องมือเพื่อจัดการคุณลักษณะทางสังคมในฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 และการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เครื่องมือทางกฎหมาย การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของธุรกิจ การรับรองด้วยความสมัครใจ จรรยาบรรณและการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบูรณาการคุณลักษณะทางสังคมไว้ในฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 และการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแนวทาง มาตรฐานและเครื่องมือต่างๆ ในการปฏิบัติจริง ซึ่งผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่มีอยู่จากสหภาพยุโรป การฝึกปฏิบัติและความรู้ต่างๆ ที่ได้รับจะช่วยให้แต่ละประเทศสามารถพัฒนาร่างเกณฑ์มาตรฐานทางสังคมของตนเองได้
หากไม่พบเกณฑ์คุณลักษณะทางสังคมที่กำหนดไว้ระหว่างการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ ก็จะไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับฉลากสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) คุณลักษณะทางสังคมจะต้องถูกดำเนินการทั้งในระดับผลิตภัณฑ์และระดับบริษัท ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงจุดเสี่ยงและประเด็นทางสังคม ที่จะส่งผลกระทบมากที่สุดต่อการพบเกณฑ์คุณลักษณะทางสังคม อาทิ สภาวะการทำงานในสายการประกอบระหว่างการผลิตของเล่น หรือระหว่างการสกัดวัตถุดิบของผ้าเช็ดตัวที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในชุมชน
ทั้งสี่ประเทศได้ร่างตัวอย่างหลักเกณฑ์มาตรฐานทางสังคม ดังนี้
1. อินโดนิเซีย: การผลิตเยื่อกระดาษและการผลิตสิ่งทอ
2. มาเลเซีย: ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ซึ่งคุณลักษณะทางสังคมได้รวมอยู่ในแผนการดำเนินงานระยะยาวเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลมาเลเซีย
3. ฟิลิปปินส์: การถ่ายปูนซีเมนต์ออกจากถุงใส่ภาชนะอื่นที่มีฝาปิดแน่นหนาไม่ให้อากาศ (ความชื้น) เข้าได้ ซึ่งจะช่วยเก็บรักษาปูนซีเมนต์ให้มีอายุการใช้งานได้นานขึ้น
4. ประเทศไทย: บริการทำความสะอาดของฉลากสิ่งแวดล้อม ซึ่งถูกจ้างโดยรัฐบาลหรือองค์กรต่างๆ
ประเด็นนี้สำคัญอย่างไร การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลักทั้ง 5 ส่วน หรือที่เรียกว่า 5P ได้แก่ ประชาชน (People) โลก (Planet) ความมั่งคั่ง (Prosperity) สันติภาพ (Peace) และความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการดำเนินงานหรือการบริการ ก็สามารถนำองค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนนี้ไปปฏิบัติได้ในลักษณะที่ 'สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันและอนาคต'
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การลดความยากจนทั่วโลกและขณะนี้ได้รวมประเด็นทางสังคมเข้าไว้ในแผนการดำเนินงานแล้ว ตัวอย่างเช่น เป้าหมายที่ 5 เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ถูกเชื่อมโยงโดยตรงกับประเด็นทางสังคมในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานและโอกาสที่เท่าเทียม ดังนั้นจะเห็นได้ว่า SDGs ไม่เพียงแต่จะต้องคำนึงถึงประเด็นทางสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงประเด็นทางด้านสังคมด้วย ซึ่งยังไม่ได้ถูกนำมาปรับใช้ได้อย่างประสบความสำเร็จเมื่อเทียบกับด้านสิ่งแวดล้อม
การให้ฉลากสิ่งแวดล้อม เป็นวิธีการรับรองการปฏิบัติที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและถูกนำไปใช้ทั่วโลก ฉลากสิ่งแวดล้อมเป็นตัวระบุว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
ที่มา: globalecolabelling.net
ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ( ISO14024) เป็นฉลากที่บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดโดยองค์กรอิสระที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Third party) โดยจะพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบใช้วิธีพิจารณาแบบตลอดวัฏจักรชีวิต (life cycle consideration) ในประเทศไทยมีการออกฉลากประเภทที่ 1 ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “ฉลากเขียว”