สำหรับจดหมายข่าว GIZ ประเทศไทย ฉบับส่งท้ายปีเก่า ได้รวบรวมงานและกิจกรรมน่าสนใจมากมายที่เราได้จัดระหว่างช่วงเดือนกันยายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา

GIZ ประเทศไทย ได้เปิดตัวโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thai-German Cooperation on Energy, Mobility, and Climate: TGC EMC) พร้อมร่วมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการของแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) ประจำประเทศไทย โดยทั้งสองงานได้รับเกียรติจาก ดร.ฟิลิปป์ เบห์เรนส์ (Dr. Philipp Behrens) หัวหน้าแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) กระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMWK) เข้าร่วมงาน เพื่อเน้นย้ำถึงความร่วมมือของทั้งประเทศไทยและเยอรมนีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรมผ่านความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น ด้านนโยบาย ภาคพลังงาน คมนาคม และอื่นๆ

นอกจากนั้น โครงการ International Hydrogen Ramp-Up (H2Uppp) และโครงการการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์สำหรับมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน (Regenerative Coconuts Agriculture Project: ReCAP) ได้ดำเนินงานมาจนครบวาระ พร้อมฝากองค์ความรู้และแนวปฏิบัติดีๆ มากมายให้กับผู้เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ต่อไป โดยจดหมายข่าวฉบับนี้ยังมีเรื่องราวน่าอ่านอีกไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอข้อมูลและการจัดเวิร์กชอปเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ มาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การพัฒนาความสามารถของบุคลากร การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน การเกษตรยั่งยืน การจัดการป่าพรุ และพลังงาน นอกจากนี้การลงนามร่วมกับกรุงเทพมหานครเพื่อลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวยังถือเป็นหมุดหมายสำคัญของช่วงเดือนที่ผ่านมา ซึ่ง GIZ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นการต่อยอดในการทำงานร่วมกันกับประเทศไทยให้มากขึ้น

สุดท้ายนี้ GIZ ประเทศไทย ขอส่งความสุขให้ทุกท่านในช่วงวันหยุดส่งท้ายปี และขออวยพรให้ปีใหม่ที่กำลังมาถึงเปี่ยมไปด้วยความสุข มีแรงบันดาลใจ และพร้อมก้าวสู่ความยั่งยืนต่อไป

 
 
 
 
 
H2Uppp จัดประชุมไฮโดรเจนสีเขียวและ Power-to-X ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงศักยภาพด้านพลังงานสะอาดระดับภูมิภาค
GIZ ร่วมกับหอการค้าเยอรมัน-ไทย (GTCC) จัดการประชุมหัวข้อไฮโดรเจนสีเขียวและการแปรรูปพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น (PtX) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภายในงานมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น ยุโรปในฐานะผู้นำด้านไฮโดรเจนสีเขียว เส้นทางสู่การนำไฮโดรเจนสีเขียวมาใช้ในไทย และโครงการในภูมิภาคที่แสดงให้เห็นกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการนำไฮโดรเจนมาใช้
การประชุมแสดงถึงศักยภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถร่วมมือกันในระดับภูมิภาคเพื่อเร่งการนำเทคโนโลยีไฮโดรเจนสีเขียวและ PtX มาใช้งาน




 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
โครงการ CASE เปิดเครื่องมือสร้างแรงจูงใจลดคาร์บอนในภาคธุรกิจ นำไทยเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้และมั่นคง สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CASE) นำเสนอผลการศึกษาเรื่อง Climate Finance for Carbon Neutrality in Thailand ซึ่งสำรวจเครื่องมือทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย และเสนอแนะชุดนโยบาย กลไก และเครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ระยะที่ 1 ประกอบด้วยภาคพลังงาน (supply) และภาคขนส่ง ซึ่งจะเป็นแนวทางสำหรับธุรกิจหรือกิจกรรมสีเขียว
โครงการ CASE จะลงบทความเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นนี้ต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
โครงการ ThaiCI ร่วมกับกองทุนสิ่งแวดล้อม เสริมศักยภาพให้บุคลากร พร้อมเดินหน้าผลักดันกองทุนด้านสภาพภูมิอากาศ
โครงการ ThaiCI และกองทุนสิ่งแวดล้อม ร่วมยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรกองทุนฯ ด้วยการบูรณาการมาตรฐานการปกป้องด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESS) และมิติเพศและการมีส่วนร่วมทางสังคม (GSI) เพื่อช่วยให้การจัดการโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศสอดคล้องกับมาตรฐานระดับโลกและแนวปฏิบัติที่ครอบคลุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การที่บุคลากรกองทุนฯ มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานของ IFC และแนวคิด GSI ช่วยให้มั่นใจได้ว่าโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการดำเนินการที่ครอบคลุมและยั่งยืนมากขึ้น
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรกองทุนฯ ให้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติได้ และเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในการบริหารโครงการอย่างยั่งยืนและครอบคลุม ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการต่อไปในอนาคต
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
กรุงเทพมหานคร จับมือ GIZ ลงนามข้อตกลงโครงการ CAP SEA ร่วมเดินหน้าลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอย่างยั่งยืน
 
กรุงเทพมหานครและ GIZ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือในการจัดการปัญหามลพิษจากการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว เพื่อให้กรุงเทพกลายเป็นเมืองที่ยั่งยืนและน่าอยู่
ความร่วมมือนี้จะเน้น 4 แนวทาง ได้แก่ การพัฒนาคู่มือการใช้ระบบ Deposit Return Scheme (DRS) ในงานเทศกาล การเตรียมความพร้อมในการรองรับระบบ DRS ผ่านเครื่องรับคืนบรรจุภัณฑ์แบบอัตโนมัติ การพัฒนาเครื่องมือเพื่อส่งเสริมคุณภาพน้ำดื่ม และการสร้าง
ความตระหนักรู้ให้กับโรงเรียนในพื้นที่
ข้อตกลงโครงการ CAP SEA สะท้อนถึงความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนีที่มีพันธกิจร่วมกันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการขยะ และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ





อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
Urban-Act ร่วมงาน APUF 8 พร้อมผู้แทนจากไทย แสดงความมุ่งมั่นเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
 
ผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมการประชุมนานาชาติด้านเมืองระดับเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 8 ณ เมืองซูวอน สาธารณรัฐเกาหลี
GIZ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) และองค์การเมืองและรัฐบาลท้องถิ่นแห่งเอเชียแปซิฟิก (UCLG ASPAC) ในฐานะพันธมิตรร่วมโครงการ Urban-Act ร่วมกับ CCFLA จัดเสวนาเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเมือง
รองเลขาธิการ UN และเลขาธิการบริหาร ESCAP เตือน “ภาวะโลกเดือด” พร้อมตอกย้ำความเร่งด่วนในการจัดการกับการเติบโตอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของเมืองในเอเชีย
อ่านเพิ่มเติม
 
 
GIZ ผนึกกำลังกับกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
 
GIZ หารือกับกระทรวงมหาดไทย ถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)
การขับเคลื่อนนี้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของกระทรวงมหาดไทยที่ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับภาคีทุกภาคส่วนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย ทั้งในระดับชาติไปจนถึงระดับพื้นที่
โครงการ Urban-Act พร้อมให้การสนับสนุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การพัฒนาเมืองแบบคาร์บอนต่ำและฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน


อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
“ฐานข้อมูลในการจัดการสวน” ช่วยเกษตรกรพัฒนาแผนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

 
โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (SPOPP) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพเกษตรกรผู้นำในการใช้ซอฟต์แวร์ PowerBI เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผล
กลุ่มเกษตรกรในโครงการ SPOPP ได้ร่วมกันพัฒนาแผนธุรกิจและวางแผนกลยุทธ์ความยั่งยืนในอนาคตเมื่อ
โครงการฯ สิ้นสุดลง
เกษตรกรในโครงการ SPOPP ตระหนักว่าความพร้อมและความถูกต้องของข้อมูลมีส่วนสำคัญในการพัฒนาแผนธุรกิจและกลยุทธ์ความยั่งยืน


อ่านเพิ่มเติม
 
 
ธ.ก.ส.-GIZ พัฒนาขีดความสามารถบุคลากร-เกษตรกรด้านการเงินเพื่อรับมือความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ
ธ.ก.ส. และ GIZ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกำหนดกิจกรรมและความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (AgriCRF)
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่ ธ.ก.ส. และ GIZ จัดขึ้นร่วมกันภายหลังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและการเตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อการเกษตรสีเขียว
ผู้เข้าร่วมประชุมราว 30 คนได้ร่วมระดมความเห็นต่อกรอบการดำเนินงานของโครงการ AgriCRF และพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจากมูลนิธิธนาคารออมสินเยอรมันเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
การฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์ช่วยเพิ่มคุณภาพดิน
สร้างรายได้ และส่งเสริมวิถีสวนมะพร้าวอย่างยั่งยืน

 
ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา การดำเนินงานของโครงการการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์สำหรับมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน (รีแคพ) สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของ
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน ในการสร้างความตระหนักรู้ของเกษตรกรในการจัดการสวนมะพร้าวด้วยวิถีเกษตรแบบธรรมชาติ
การปรับเปลี่ยนวิธีจัดการสวนมะพร้าวแบบดั้งเดิมไป
สู่รูปแบบการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์ช่วยลดผลกระทบจาก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกรและชุมชนชาวสวนมะพร้าวในท้องถิ่น
โครงการรีแคพช่วยให้เกษตรกรมะพร้าวมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถปรับตัวและพร้อมรับมือกับความเสี่ยงทาง
สภาพอากาศที่เพิ่มขึ้น ที่มาพร้อมกับความต้องการของตลาดและผู้บริโภคที่หันมาส่งเสริมน้ำมะพร้าวหอมที่ได้มาจากห่วงโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
โครงการ SUPA จัดอบรมโดรนขั้นสูงให้เจ้าหน้าที่ และหนุนเสริมชุมชนให้ร่วมอนุรักษ์พื้นที่ป่าพรุของประเทศไทย
 
ความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ป่าพรุ - GIZ ประเทศไทยและเครือข่ายท้องถิ่นร่วมอนุรักษ์ป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งมี
ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพและการปกป้องสภาพภูมิอากาศ เพราะเป็น
แหล่งกักเก็บคาร์บอนขนาดใหญ่
นวัตกรรมการฝึกอบรมโดรนโดย SUPA - การฝึกอบรมเชิงนวัตกรรมของโครงการ SUPA ช่วยเพิ่มศักยภาพการใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการจัดการพื้นที่ป่าพรุและการจัดการไฟป่าที่ดีขึ้นให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน 30 คน
หนุนเสริมพลังชุมชนในการอนุรักษ์ป่าพรุ - โครงการฯ หนุนเสริมผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นมากกว่า 300 คนในพื้นที่เพื่อปกป้องป่าพรุ พร้อมยกระดับคนในท้องถิ่นให้กลายเป็น
ผู้พิทักษ์ป่าพรุ สร้างมาตรฐานใหม่ในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม
 
ติดต่อ
แก้วตา เกษบึงกาฬ
ผู้ชำนาญการด้านประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร
อีเมล Kaewta.Ketbungkan@giz.de


เว็บไซต์
www.giz.de/thailand
www.thai-german-cooperation.info

ติดตามข่าวสาร
ที่อยู่
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพลกซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 02 661 9273

จดหมายข่าว
สมัครสมาชิกจดหมายข่าว
หรือ ยกเลิกสมาชิกจดหมายข่าว