ในประเทศที่กำลังพัฒนา ระบบสาธารณูปโภคน้ำและน้ำเสียเป็นกิจการที่บริโภคพลังงานมากที่สุดแห่งหนึ่งอันเนื่องมาจากการสูญเสียน้ำและพลังงานอย่างมากโดยทั่วไปในการดำเนินงานมีการใช้พลังงานมาก นอกจากนี้จากการที่ระบบสาธารณูปโภคนี้ส่วนใหญ่ ยังคงใช้เทคโนโลยีและเครื่องสูบน้ำที่ล้าสมัย ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน ขณะที่ยังไม่มีการนำพลังงานและสารอาหารที่ได้กลับคืนจากน้ำเสียมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากนัก ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทย, เม็กซิโก และ เปรู จะได้เข้าร่วมโครงการใหม่ในการดำเนินการของ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อมคุ้มครองธรรมชาติการก่อสร้าง และความปลอดภัยทางปรมาณู (BMUB) ของ สหพันธรัฐเยอรมัน
วัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน
เพื่อปรับปรุงสมดุลย์คาร์บอนในกิจการสาธารณูปโภคน้ำและน้ำเสีย โดยการใช้เทคโนโลยีที่สามารถลดการปลดปล่อดก๊าซเรือนกระจก และ ไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวมของกิจการ
โดยจะมีการแนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับระบบสาธารณูปโภคนำร่อง ได้แก่ การลดการสูญเสียน้ำ, เครื่องสูบน้ำที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ, การผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย และ การผลิตปุ๋ยจากน้ำเสีย เทคโนโลยีลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มพูนแพร่หลายและถูกถ่ายทอดต่อไปโดยการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างระบบบำบัดนำร่องและหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านทางเครือข่ายในอินเตอร์เนตซึ่งจะช่วยส่งเสริมและเผยแพร่การใช้งานเทคโนโลยี และประสบการณ์จากโครงการนี้จะได้รับการเผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในรูปแบบเอกสารเผยแพร่ และงานประชุมที่จัดโดย สมาคมน้ำนานาชาติ (IWA) ผู้เป็นหุ้นส่วนโครงการ นอกจากนี้ผลลัพธ์ของโครงการ จะช่วยการดำเนินงานทางด้านบรรเทาสภาวะโลกร้อนของประเทศนำร่องสำหรับสาธารณูปโภคน้ำและน้ำเสียเช่นกัน
วีดีโอโครงการ: https://youtu.be/N5JDUEKAD7w
รายละเอียดโครงการ: Factsheet (ภาษาอังกฤษ)
ข้อมูลเพิ่มเติม:
สนับสนุนงบประมาณโดย
กระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณูและคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV)