ในการจัดการน้ำเสีย การใช้พลังงานเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยทั่วไปแล้วระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในประเทศไทยจะมีการใช้พลังงานเป็นปริมาณมากสำหรับการสูบน้ำเสียและการเติมอากาศเพื่อบำบัดน้ำเสีย ซึ่งค่าใช้จ่ายทางด้านไฟฟ้าในการเดินระบบบำบัดอาจมากถึง 40-60 เปอร์เซ็นต์ (ขึ้นอยู่กับชนิดของการบำบัดและขนาดพื้นที่ให้บริการ) องค์การจัดการน้ำเสีย (อจน.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการน้ำเสียชุมชน ได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบ เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เนื่องจากผลพลอยได้จากการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานจะส่งผลดีต่อการจัดการในภาพรวม ในการรักษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งสามารถทำได้ใน 4 ขั้นตอน ดังนี้
- ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ (ปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น และ ปริมาณความสกปรกในน้ำเสีย)
- เครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง และให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน
- เครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ตามวิธีการใช้งาน
- เพื่อป้องกันความเสียหายและรักษาประสิทธิภาพการทำงาน
โครงการ WaCCliM ประเทศไทย จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมในหัวข้อ “การออกแบบ, คัดเลือก, ใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องจักรกลของระบบบำบัดน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ” โดยผู้บรรยายจากภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในวันที่ 16 ถึง 17 สิงหาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับพนักงานและเจ้าหน้าที่ อจน. ที่รับผิดชอบระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจทางด้านการออกแบบและเลือกเครื่องสูบน้ำเสียที่เหมาะสมกับความต้องการ นอกจากนี้ยังได้รับคำแนะนำทางด้านการบำรุงรักษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเบื้องต้นโดย ผลที่ได้จากการอบรมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรของ อจน. ต่อไปในอนาคต