ความเป็นมา
ในประเทศไทย เกษตรกรผู้ปลูกข้าวได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก อาทิ ภัยแล้ง พายุฝน และน้ำท่วม ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและมีรายได้ลดลง นอกจากนี้ เกษตรกรยังขาดความรู้ในเรื่องการใช้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเข้าถึงตลาด
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างและปรับปรุงห่วงโซ่การผลิตข้าวในประเทศไทย เพื่อที่จะแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ ชาวนาไทย โรงสี ผู้ส่งออก ผู้บริโภคในต่างประเทศและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
แนวทางการดำเนินงาน
โครงการฯ ส่งเสริมการรวมตัวกลุ่มเกษตรกรจำนวน 1,200 รายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และมีการถ่ายทอดความรู้เรื่องการผลิตข้าวที่ยั่งยืน เพื่อให้สามารถปลูกข้าวตามมาตรฐานข้าวยั่งยืน และสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาด เพื่อให้เกษตรกรสามารถทำงานร่วมกับโรงสีและผู้ส่งออกได้ นอกจากนี้ โครงการฯ ยังดำเนินการสำรวจแปลงข้าวเกษตรกรพร้อมให้คำแนะนำเชิงเทคนิค รวมถึงจัดตั้งระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพให้กับห่วงโซ่การผลิตข้าวยั่งยืนและมีการตรวจติดตามด้วยระบบดิจิทัล
ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
- เกษตรกรจำนวน 1,279 ราย ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการฝึกอบรมเรื่องการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวยั่งยืน (SRP Standard) และได้รับการสนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าข้าวที่ยั่งยืน
- เกษตรกรจำนวน 250 ราย ได้รับการตรวจรับรองจากบริษัท คอนโทรลยูเนี่ยน ซึ่งเป็นบริษัทที่ตรวจประเมินภายนอก โดยคะแนนต่ำสุดที่ได้ คือ ร้อยละ 91 และคะแนนสูงสุดที่ได้อยู่ที่ร้อยละ 96 โดยไม่ติดเงื่อนไขขั้นต่ำใดๆ ในแต่ละข้อกำหนด ส่งผลให้เกษตรกรได้รับการรับรองว่าเป็น “ผู้ที่ผลิตข้าวด้วยวิธีการผลิตที่ยั่งยืน”
สนับสนุนงบประมาณโดย
Mars food
ประเทศ
ประเทศไทย
หน่วยงานร่วมดำเนินงาน
กรมการข้าว MARs Food และ HERBA (EBRO)
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
กรกฎาคม พ.ศ. 2560 – ธันวาคม พ.ศ. 2564
ข้อมูลเพิ่มเติม
SARI – Thailand | Sustainable Agrifood System in ASEAN (asean-agrifood.org)