Thai-German CooperationThai-German CooperationThai-German CooperationThai-German Cooperation
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • อาเซียนหนุนการพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลทางการเกษตร ขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหาร
อาเซียนหนุนการพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลทางการเกษตร ขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารwebadminOctober 29, 2020December 29, 2020
ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
  • 27 มกราคม 2565
    เพิ่มศักยภาพนวัตกรรมการประกันภัยทางการเกษตรในอาเซียน หนุนเกษตรกรรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง


โครงการ
  • การเกษตรและอาหาร
  • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • พลังงาน
  • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
  • การสาธารณสุข
  • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
  • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
จดหมายข่าว
อาเซียนหนุนการพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลทางการเกษตร ขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหาร
  • 29 ตุลาคม 2563
  • แชร์บน
กลับสู่หน้าโครงการ

ผู้แทนกว่า 50 คนจากภาครัฐด้านสาขาการเกษตรและการประกันภัย และภาคเอกชนด้านธุรกิจประกันภัยจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ระหว่างวันที่ 29-30 ตุลาคม พ.ศ.2563  ณ โรงแรมนิโก้ กรุงเทพฯ เพื่อหาแนวทางบริหารจัดการด้านการเงินในการรับมือความเสี่ยงและการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน คลื่นความร้อน ฝนแล้งและพายุ ตลอดจนการระบาดจากโรคพืชและแมลงที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกปี ซึ่งสร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและประชากรอาเซียนกว่า 200 ล้านคนที่ดำรงชีวิตและพึ่งพารายได้จากการประกอบอาชีพทางการเกษตร

การประชุมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ระดับภูมิภาคครั้งนี้ เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคการเกษตร การเงินและการประกันภัย ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และบทเรียนในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติของแต่ละประเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างความร่วมมือและการทำงานเพื่อสนับสนุนโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรและการจัดการทางการเงินในการลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติอย่างยั่งยืนทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ

ภาครัฐได้กำหนดให้การประกันภัยพืชผล เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญที่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือเกษตรกรในการบริหารทางการเงิน เพื่อคุ้มครองต้นทุนการผลิตเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ และคุ้มครองปริมาณผลผลิตที่ลดลง ซึ่งจะช่วยสร้างเสถียรภาพทางรายได้และความมั่นคงในอาชีพให้แก่เกษตรกร

“ภาคการเกษตร คือ หัวใจหลักและเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนส่วนใหญ่ในอาเซียน รายได้หลักของเกษตรกรมาจากพืชผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อย่างไรก็ตามภูมิภาคของเรายังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ดังนั้นนโยบายประกันภัยพืขผลทางการเกษตรจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในภาคการเกษตรของภูมิภาคและช่วยให้มีความยืดหยุ่นให้กับเกษตรกรในการรับมือกับวิกฤติทั้งภัยพิบัติและทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นกับภาคการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชากรในภูมิภาค” ดร. ฟาม ควาง มิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการและหัวหน้าแผนกอาหาร เกษตรและป่าไม้ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน กล่าว

จากสถิติเมื่อปีพ.ศ. 2562 พบว่าผลผลิตทางการเกษตรภาพรวมของภูมิภาคอาเซียนอยู่ที่ประมาณ 221.62. ล้านตัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.79 จากปีพ.ศ. 2561 ซึ่งนับว่ามีปริมาณสูงมากและสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของภาคการเกษตรของประเทศสมาชิก รายได้จากภาคการเกษตรมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติสำหรับประเทศเมียนมาและ สปป. ลาว นอกจากนี้ประชากรของ สปป. ลาวและกัมพูชากว่าร้อยละ 60 ก็ประกอบอาชีพเกษตร

ดร.อันญ่า เอิลเบค ผู้อำนวยการโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรและการจัดการทางการเงิน องค์กรความร่วมมือระหว่างของเยอรมัน (GIZ) กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร คือ เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงเครื่องมือในการบริหารจัดการทางการเงิน อีกทั้งยังสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการงบประมาณประจำปีของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การใช้การประกันภัยพืชผลทางการเกษตรจำเป็นต้องดำเนินการอย่างรัดกุมในทุกขั้นตอน เพื่อความโปร่งใสและเป็นไปตามหลักการ เพราะการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรเกี่ยวข้องกับเกษตรกรจำนวนมากและมีหน่วยงานหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง “เครื่องมือบริหารทางการเงินที่มีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงให้กับเกษตรกร และให้ความคุ้มครองกับเกษตรกร หากผลผลิตที่ลงทุนไปได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ เกษตรกรสามารถลงทุนเพื่อผลผลิตได้ใหม่และสร้างความมั่นคงทางรายได้ในระดับครัวเรือน”

แม้ว่าปัจจุบัน ระบบประกันภัยพืชผลทางการเกษตรของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจะแตกต่างกันไปทั้งในด้านนโยบายและการบริหารจัดการ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของการสร้างความร่วมมือและการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างความโปร่งใส

การสัมมนาออนไลน์ในระดับภูมิภาคครั้งนี้ ยังเป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนความร่วมมือของผู้แทนและผู้เชี่ยวชาญทั้งภาครัฐและเอกชนด้านงานประกันภัย เพื่อระดมความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการรับมือผลกระทบของวิกฤติโควิด-19 ที่ภาคการเกษตรกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

นายชานทารง ซูย รองประธานกรรมการบริษัทฟอร์เต้ประกันภัย ประเทศกัมพูชาได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของความร่วมมือเพื่อผลักดันนโยบายประกันภัยพืชผลและหาแนวทางที่เหมาะสมในการทำงานเชิงนโยบาย และการนำนโยบายการประกันภัยพืชผลที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศไปใช้ในทางปฏิบัติว่า “กุญแจสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกิดนโยบายประกันภัยพืชผลอย่างเป็นรูปธรรม คือ การสร้างความร่วมมือและการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพราะทุกฝ่ายล้วนมีบทบาทในการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ประกันภัยพืชผลทางการเกษตรที่เหมาะสมกับความต้องการและความท้าทายที่แต่ละประเทศสมาชิกต้องเผชิญทั้งในระดับประเทศและภูมิภาคต่อไป”

เพื่อติดตามผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ระดับภูมิภาคครั้งนี้  ผู้แทนและผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยพืชผลจากประเทศสมาชิกอาเซียน มีแผนการทำงานในปีพ.ศ. 2564 ได้แก่

  • การทำงานร่วมกับสำนักงานเลขาธิการอาเซียน โดยใช้กลไกการทำงานที่มีอยู่ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน เพื่อสนับสนุนการทำงานในเรื่องประกันภัยพืชผลทางการเกษตร และหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
  • การสนับสนุนการทำงานในเรื่องประกันภัยพืชผลทางการเกษตรระหว่างประเทศในภูมิภาค
  • การผลักดันให้เกิดความมุ่งมั่นในการสร้างนโยบายระดับภูมิภาคอาเซียนที่จะมาสนับสนุนการทำงานในเรื่องประกันภัยพืชผลทางการเกษตรในประเทศสมาชิก โดยจะหารือร่วมกับประเทศสมาชิกในการพัฒนาร่างแนวทางการทำงานในเรื่องประกันภัยพืชผลทางการเกษตรระดับภูมิภาคต่อไป
  • การพัฒนาศักยภาพประเทศสมาชิกในเรื่องประกันภัยพืชผลทางการเกษตร และหัวข้อที่เกี่ยวข้องโดย GIZ จะให้การสนับสนุนโดยการจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อดังกล่าวทั้งในระดับประเทศ และภูมิภาค
GALLERY
Contact information

ดร. อันญ่า เอิลเบค
Email: anja.erlbeck(at)giz.de

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย
193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่
คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย
อีเมล: giz-thailand [at] giz.de โทรศัพท์ : +66 2 661 9273 ต่อ 153
กดที่นี่เพื่อ สมัครรับข้อมูลข่าวสาร หรือ ยกเลิกการรับข้อมูลข่าวสาร ของเรา
ติดตามเรา
© 2566 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย
This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.