German International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in Bangkok
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • โครงการ
  • โครงการเพิ่มศักยภาพใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อคงคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
โครงการเพิ่มศักยภาพใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อคงคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศwebadminDecember 17, 2014April 21, 2022
โครงการเพิ่มศักยภาพใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่อคงคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
    • แชร์บน
FINISHED on 31 ส.ค. 2558
8
ความเป็นมา

แม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีเนื้อที่เพียงร้อยละ 3 ของพื้นผิวโลกแต่ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์มากถึงร้อยละ 20 ที่พบในโลก ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเหล่านี้ให้บริการแก่ผู้คนในทุกระดับ ตั้งแต่การเป็นแหล่งอาหารและวัตถุดิบหล่อเลี้ยงการดำรงชีวิตของผู้คน การรักษาสมดุลของวัฏจักรน้ำและธาตุต่างๆ ให้เป็นไปอย่างสมดุลซึ่งเป็นฐานรากแห่งความมั่นคงในวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน รวมไปจนถึงการเป็นแหล่งนันทนาการท่องเที่ยว และเป็นสัญญลักษณ์ที่มีค่าทางจิตใจและวัฒนธรรมของสังคมในระดับต่างๆ

แต่ช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปตามกลไกตลาดโลกและแรงจูงใจทางการเงินในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนของภาคอุสาหกรรม การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน การเกษตร หรือการท่องเที่ยว ล้วนส่งผลต่อการสูญเสียไปอย่างรวดเร็วของพื้นที่นิเวศและประชากรพืชและสัตว์ในธรรมชาติ จนเกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศ เกิดภัยธรรมชาติ ผู้คนสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมากมาย บ่อยครั้ง และรุนแรงยิ่งขึ้น การลดหรือยับยั้งภาวะการณ์เช่นนี้ นอกจากการใช้กฎหมายบังคับแล้ว อีกหนทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ คือ การใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์ไป สร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจที่เกื้อกูลต่อการอนุรักษ์ และบั่นทอนแรงจูงใจที่ทำให้เกิดพฤติกรรมหรือกิจกรรมที่ทำลายระบบนิเวศหรือเกิดการใช้อย่างไม่คำนึง

เป้าหมายรวม คือ ลดความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อประโยชน์สุขของชุมชนท้องถิ่น

วัตถุประสงค์หลักและแนวทางการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์หลัก

  • พัฒนากรอบกฎหมายระดับชาติให้เอื้อต่อการใช้เครื่องมือเศรษฐศาสตร์เพี่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในผืนป่าอนุรักษ์และพื้นที่กันชน
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งในการอนุรักษ์โดยพัฒนาให้เกิดเครื่องมือเศรษฐศาสตร์ในพื้นที่นำร่อง
  • เพิ่มศักยภาพบุคลากรและองค์กรในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักการและประสบการณ์การใช้แนวคิดเศรษฐศาสตร์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (TEEB) และการสร้างให้เกิดเครื่องมือเศรษฐศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์

แนวทางการดำเนินงาน
ECO-BEST นำหลักการของเศรษฐศาสตร์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (TEEB: The Economics of Ecosystems and Biodiversity) มาเผยแพร่ และประยุกต์ใช้จริงในการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่กันชนของไทย เพื่อให้เกิดข้อเสนอทางนโยบายหรือกฎหมายที่เกื้อกูลกับการใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการอนุรักษ์และจัดการพื้นที่  และร่วมกับภาคีต่างๆ นำร่อง ณ หมู่บ้านปางมะโอ (จังหวัดเชียงใหม่) ลุ่มน้ำคลองท่าดี (จังหวัดนครศรีธรรมราช) และกลุ่มป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ พัฒนาให้เกิดเครื่องมือเศรษฐศาสตร์เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยคงไว้ซึ่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจของผู้คนท้องถิ่น ให้เกิดเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ร่วมกันของฝ่ายต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค

สนับสนุนงบประมาณโดย
  • สหภาพยุโรป
  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ติดต่อ

คุณปิยะทิพย์ เอี๋ยวพานิช
ผู้จัดการโครงการ

PREVIOUS PROJECTการบรรเทาสภาวะโลกร้อนที่เกี่ยวข้องกับน้ำและน้ำเสียประเทศไทย
NEXT PROJECTโครงการพัฒนาท่าเรือในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
ติดตามเรา
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
ติดต่อเรา

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16)
ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

อีเมล: giz-thailand [at] giz.de
โทรศัพท์ : +66 2 661 9273    โทรสาร : +66 2 661 9281

ตู้ไปรษณีย์

ตู้ปณ. 11-1485 นานา กรุงเทพฯ 10112 ประเทศไทย

สมัครจดหมายข่าว

© 2561 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.