การฝึกอบรมและการศึกษาด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ ได้รับการยอมรับมากขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียนตั้งแต่มีการพัฒนามาตรฐานอาเซียนสำหรับครูฝึกในสถานประกอบการ หรือที่เรียกว่า ASEAN In-CT Standard ในปีพ.ศ. 2558 จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมครูฝึกในสถานประกอบการจึงมีบทบาทสำคัญ
ในช่วงระยะเวลา 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา มาตรฐานอาเซียน In-CT ได้รับการรับรองโดยการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน ครั้งที่ 12 (SOMED) การประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงานอาเซียน (SLOM-WG) ส่งผลให้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ครูฝึกจำนวนกว่า 150 รายที่ได้รับการฝึกอบรม สามารถฝึกอบรมครูฝึกในสถานประกอบการได้มากกว่า 1,000 รายใน 8 ประเทศ นอกจากนี้ในปีพ. ศ. 2561 องค์กรอาชีวศึกษาและการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน (TESDA) ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้แนะนำกฏระเบียบข้อบังคับการฝึกอบรมสำหรับครูฝึกในสถานประกอบการ ซึ่งประเทศอื่นๆ อย่างประเทศเวียดนาม ก็กำลังวางแผนที่จะทำเช่นเดียวกันในปีนี้
ผลลัพธ์ที่น่าสนใจถูกนำมาแบ่งปันร่วมกัน โดยผู้แทนภาครัฐและเอกชนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการกำกับมาตรฐานอาเซียน In-CT ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2562 ที่พัทยา การประชุมประจำปีของคณะกรรมการนี้ ถูกจัดขึ้นโดยโครงการความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมคุณภาพของการอาชีวศึกษา ที่มุ่งเน้นความต้องการของตลาดแรงงาน (RECOTVET) เพื่อทบทวนความก้าวหน้าและความสำเร็จในระดับภูมิภาคและระดับชาติของปีพ.ศ.2561 สำหรับหารือกิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อส่งเสริมและขยายมาตรฐานอาเซียน In-CT ให้มีการนำไปใช้ในวงกว้างขึ้น รวมทั้งเพื่อร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติสำหรับปีพ.ศ. 2562 นี้
ดร. อธิปไตย โพแตง ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลและนักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษระดับอาวุโส สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (OVEC) ประเทศไทย อธิบายเหตุผลว่าทำไมการแลกเปลี่ยนในภูมิภาคนี้ จึงมีความสำคัญต่อการส่งเสริมและขยายการฝึกอบรมภายในสถานประกอบการในระดับภูมิภาค “ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกของคณะกรรมการได้กำหนดให้ครูฝึกใช้แนวทางที่ดีในการปรับปรุงการฝึกอบรมภายในสถานประกอบการและมีความกระตือรือร้นที่จะแบ่งปันความท้าทายและแนวทางที่ประสบความสำเร็จในที่ประชุมนี้ การหารือและการประสานงานภายในและระหว่างประเทศเช่นนี้ ส่งผลให้ความมุมานะพยายามของพวกเราที่มีมาเห็นผลได้จริง และทำให้เราได้เรียนรู้กันและกัน”
“การประชุมคณะกรรมการครั้งนี้มีประสิทธิผลมาก เนื่องจากเราได้ทบทวนความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และสมาชิกร่วมกันการแลกเปลี่ยนข้อมูล และกรณีศึกษาได้ขยายมุมมองและทัศนคติของเรา ผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่เราได้เริ่มพูดคุยเกี่ยวกับทางเลือกสำหรับการฝึกอบรมครูฝึกที่จะดำเนินการในประเทศกัมพูชาและการฝึกอบรม ‘ครูฝึกสอนระดับอาวุโส’ จากภูมิภาคอาเซียน สิ่งเหล่านี้จะไม่เพียงแต่สร้างความมั่นใจในเรื่องความยั่งยืนของการฝึกอบรมเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าที่มากขึ้นด้วย” นายวิเชษฐ ชวน รองประธานคณะกรรมการกิจการระหว่างประเทศจากสมาคมผู้ประกอบการรุ่นเยาว์แห่งกัมพูชา (YEAC) กล่าว
การฝึกอบรมครูฝึกจะจัดขึ้นในปีพ.ศ. 2562 อย่างน้อย 3 ครั้ง นอกจากนี้ มูลนิธิการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของหอการค้าประเทศฟิลิปปินส์ กำลังวางแผนที่จะจัดการฝึกอบรม “ครูฝึกระดับอาวุโส” ในเดือนพฤษภาคม กิจกรรมอื่นๆ ที่วางแผนไว้ในปีพ.ศ. 2562 ยังรวมถึงเรื่องการทำแบบสำรวจเพื่อระบุความท้าทายและปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินการฝึกอบรม การแปลและการตีพิมพ์หนังสือฉบับใหม่ของมาตรฐานอาเซียน In-CT และการฝึกอบรมเพิ่มเติมสำหรับครูฝึกในสถานประกอบการทั่วทั้งภูมิภาค