 | |
|
สวัสดีค่ะ
ยินดีต้อนรับสู่จดหมายข่าวฉบับแรกของปีพ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นจดหมายข่าวประจำเดือนมกราคม – มีนาคม และทุกท่านสามารถคลิกอ่านกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ รวมทั้งบทความพิเศษได้ตามด้านล่างนี้
นอกจากนี้ เรามีความยินดีที่จะแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า ปีนี้เราได้มีการเฉลิมฉลอง 160 ปี ความสัมพันธ์เยอรมัน-ไทย (#160TG) มาร่วมเฉลิมฉลองความร่วมมือต่างๆ ทั้งในด้านการค้า การศึกษา วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เพื่อเรียนรู้เส้นทางความร่วมมือในการพัฒนาด้านต่างๆ ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมองหาโอกาสใหม่ที่จะร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้กันและกัน ตลอดจนยกระดับความร่วมมือ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คน สังคม และสิ่งแวดล้อมกันนะคะ
สำหรับจดหมายข่าวฉบับนี้ เรายังคงนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นบทความเกี่ยวกับการขับเคลื่อนกลไกการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดปัญหาโลกร้อน การเปิดตัวโครงการพัฒนาเครือข่ายการทำความเย็นสีเขียว เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือสำหรับภาคส่วนการทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การยกระดับความช่วยเหลือให้เงินอุดหนุน 50% ‘คนละครึ่ง’ สำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการที่สนใจทำนาลดโลกร้อน และยังมีบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจให้ทุกท่านได้ติดตามค่ะ
หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัปเดตอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามได้ที่เว็บไซต์ของเรา รวมทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และลิงก์อิน หากไม่ต้องการพลาดข่าวสารใหม่ๆ อย่าลืมกดติดตาม กดไลก์ และแชร์กันด้วยนะคะ
นอกจากนี้ แผนกบริการฝึกอบรม AIZ ของเรายังมีหลักสูตรใหม่ๆ ที่น่าสนใจ สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่นี่
ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
เยอรมนีส่งมอบตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำพร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ สนับสนุนการดำเนินงานรับมือโควิด-19 ในไทย |
|
● |
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ส่งมอบตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำ จัดเก็บวัคซีนโควิด-19 พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์แก่กระทรวงสาธารณสุข ณ กรมควบคุมโรค |
● |
อุปกรณ์การแพทย์ ประกอบด้วยตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำ 4 ตู้ รวมถึงเข็มและกระบอกฉีดยาชนิด Low Dead Space จำนวน 51,000 ชุด |
● |
การส่งมอบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการกระจายวัคซีนในกลุ่มที่มีความเปราะบาง รวมถึงประชากรที่มีความเสี่ยงตามแนวชายแดนให้แก่หน่วยงานด้านสาธารณสุขของไทย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
เปิดสื่อการเรียนรู้ สนับสนุนการพัฒนาระบบ “MRV” สำหรับภาคส่วนข้าวของไทย
|
|
● |
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จับมือกรมการข้าวและสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบการศึกษาระบบตรวจวัด รายงานผลและทวนสอบก๊าซเรือนกระจก |
● |
สื่อการเรียนรู้ จัดทำขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนข้าวไปสู่นักวิจัยไทย นักส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรในพื้นที่และผู้สนใจทั่วไป |
● |
สื่อการเรียนรู้นี้ ช่วยปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อสะท้อนการรายงานปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แท้จริง มีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
เพิ่มศักยภาพนวัตกรรมการประกันภัยทางการเกษตรในอาเซียน หนุนเกษตรกรรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
|
● |
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร การเงิน รวมถึงภาครัฐและเอกชน ร่วมประเมินบทบาทด้านการเงิน นวัตกรรม เทคโนโลยีสำหรับการประกันภัยภาคการเกษตรพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และบทเรียนการทำงาน |
● |
การประชุมจัดขึ้น เพื่อหาแนวทางระดับภูมิภาคสำหรับจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเตรียมพร้อมรับมือกับความเสี่ยงในห่วงโซ่ทางการเกษตร |
● |
GIZ ได้ร่วมกับสำนักเลขาธิการอาเซียน พัฒนาแนวทางว่าด้วยการดำเนินการประกันภัยทางการเกษตรในอาเซียน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการสรุปผล และจะเสนอต่อคณะทำงานฯ กลางปีพ.ศ. 2565 นี้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
 |
|
ไทยเร่งขับเคลื่อนการดำเนินงาน รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
|
|
● |
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมจัดทำข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อบูรณาการประเด็นด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่ภาคส่วนน้ำ |
● |
สทนช. แสดงเจตจำนงที่จะนำข้อเสนอแนะทางนโยบายไปเป็นข้อมูลประกอบเพื่อใช้ในการปรับปรุงแผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี เพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการน้ำของไทยให้เกิดความยั่งยืนและยืดหยุ่น
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
ภาคส่วนน้ำไทยร่วมพัฒนากลยุทธ์ด้านการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศ
|
|
● |
การใช้ธรรมชาติในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในรูปแบบของการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศเป็นมาตรการที่คุ้มค่า ซึ่งช่วยจัดการธรรมชาติและระบบนิเวศได้อย่างยั่งยืน |
● |
โครงการพัฒนาขีดความสามารถฯ สนับสนุนการนำความรู้ด้านมาตรการการรับมือและปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ เข้าสู่ระบบการจัดการน้ำ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคส่วนน้ำ |
● |
ในระยะที่ 2 ของโครงการฯ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น เข้าใจแนวคิดเรื่องการประเมินความเสี่ยงและความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งโครงสร้างสีเขียว ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในการรับมือในลุ่มน้ำ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
 |
|