German International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in Bangkok
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • เกษตรกรอีสานยิ้มแก้มปริ รับเงินโบนัสจากการปลูกข้าวตามมาตรฐานยั่งยืน
เกษตรกรอีสานยิ้มแก้มปริ รับเงินโบนัสจากการปลูกข้าวตามมาตรฐานยั่งยืนwebadminJanuary 23, 2020March 20, 2020
โครงการ
  • การเกษตรและอาหาร
  • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • พลังงาน
  • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
  • การสาธารณสุข
  • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
  • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
จดหมายข่าว
เกษตรกรอีสานยิ้มแก้มปริ รับเงินโบนัสจากการปลูกข้าวตามมาตรฐานยั่งยืน
  • 23 มกราคม 2563
  • แชร์บน
กลับสู่หน้าโครงการ
A farmer from Samrong district of Ubon Ratchathani province takes her daughter to the community hall to receive the bonus together.

เกษตรกรจากอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมลูกสาว โชว์ซองใส่เงินโบนัสในมือ (เครดิตรูปภาพ: GIZ ประเทศไทย)

หลังเรียนรู้เทคนิคการปลูกข้าวตามมาตรฐานยั่งยืนและปรับปริมาณการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมตามสภาพแปลงนาของตน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหลายรายในจังหวัดอุบลราชธานีต่างพากันยิ้มแก้มปริรับเงินโบนัสจากการผลิตข้าวที่มีสิ่งเจือปนต่ำและเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตข้าวยั่งยืนสากล พร้อมเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรคนอื่นๆ ที่ยังลังเลใจไม่กล้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตข้าว

สมาชิกเกษตรกรจากโครงการริเริ่มข้าวที่ดีขึ้นแห่งเอเชีย (Better Rice Initiative Asia: BRIA) หันมาผลิตข้าวตามมาตรฐานการผลิตข้าวที่ยั่งยืนแห่งแรกของโลก หรือ Sustainable Rice Platforms (SRPs) ตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของโครงการ

โดยในปีนี้ รวมแล้วมีเงินโบนัสสูงถึง 900,000 บาทได้ถูกแจกจ่ายออกไปให้แก่เกษตรกรมากกว่า 1,200 คนในหลายอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นรายได้เพิ่มเติมให้เกษตรกรมีกำลังใจผลิตข้าวที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป

นางชมภู ทิพวงศ์ เกษตรกรอายุ 67 ปีจากบ้านท่าลาด อำเภอสำโรงกล่าวว่า การหันมาใช้ปุ๋ยสั่งตัดช่วยให้ดินในแปลงนาของตนเองนั้นอุดมสมบูรณ์ขึ้น และยังช่วยให้ตนเองประหยัดเงินต้นทุนไปมาก

“ตอนนี้ ใส่ปุ๋ยเท่าที่จำเป็นและใส่ให้ถูกเวลา ซึ่งช่วยทำให้ต้นกล้าแข็งแรงและประหยัดเงินต้นทุนไปเยอะ จากเมื่อก่อน จ่ายค่าปุ๋ยปีละ 9,000 บาท เดี๋ยวนี้ เหลือแค่ 5,000 บาทเอง”

Farmers laugh during the meeting with Olam International and GIZ Thailand. (Photo credit: GIZ Thailand)

เกษตรกรพบปะกับตัวแทนจากบริษัทโอแลม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดและ GIZ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2563 (เครดิตรูปภาพ: GIZ ประเทศไทย)

นางชมภูปลูกข้าวอยู่ทั้งหมด 80 ไร่ โดยเธอได้แบ่ง 7 ไร่ออกไปเพื่อปลูกข้าวเหนียวไว้สำหรับกินกันเองภายในครอบครัว อีก 3 ไร่เธอไว้ปลูกผักทั่วไป และหาเลี้ยงชีพด้วยการปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ส่วนที่เหลือจำนวน 70 ไร่

ในปี พ.ศ.2562 นางชมภูตัดสินใจขายข้าวหอมมะลิจำนวน 23 ตันให้กับทางโครงการ ซึ่งทำให้เธอได้รับเงินโบนัสมากถึง 2,000 บาทเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยจำนวนเงินโบนัสที่เกษตรกรแต่ละคนได้รับขึ้นอยู่กับค่าสิ่งเจือปนที่อยู่ในข้าว

“มีความสุขกับรายได้ปีนี้นะ ส่วนโบนัสเป็นเสมือนเครื่องพิสูจน์ว่า เราก็สามารถผลิตข้าวตามมาตรฐานสากลได้”

นอกจากรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว นางชมภูยังใช้ปุ๋ยในปริมาณที่ลดลง จากเดิมที่เคยใช้ 60 กระสอบต่อ 70 ไร่ ปัจจุบัน เหลืออยู่เพียงแค่ 24 กระสอบเท่านั้น

“เข้าร่วมโครงการเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2562 ตอนนั้น ฉันก็ไม่รู้หรอกปุ๋ยสั่งตัดคืออะไร แต่พอเข้าร่วมอบรมได้สักพัก ก็เริ่มผสมปุ๋ยให้ถูกธาตุอาหารพืช ตอนนี้ ผสมสูตรปุ๋ยสั่งตัดจนสนุกล่ะ”

Local farmers line up to receive bonuses from staff of the Better Rice Initiative Asia – Thailand Project. (Photo credit: GIZ Thailand)

เกษตรกรเข้าแถวรับเงินโบนัสจากเจ้าหน้าที่โครงการ (เครดิตรูปภาพ: GIZ ประเทศไทย)

นางชมภูและเพื่อน ๆ เกษตรกรอีกหลายคนเข้าร่วมโครงการริเริ่มข้าวที่ดีแห่งเอเชียที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมการข้าว บริษัทโอแลม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ GIZ ประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลเยอรมันที่ดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยภายใต้โครงการนำมาตรฐานการปลูกข้าวอย่างยั่งยืนไปปรับใช้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

ในปี พ.ศ.2562 ผู้ตรวจสอบจากต่างประเทศพบว่า เกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานีมีผลการปฏิบัติตามมาตรฐานที่คะแนนเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 93.87 ซึ่งถือว่าอยู่ใน “ระดับยั่งยืน” แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในขณะลงพื้นที่พบปะเกษตรกรระหว่างวันที่ 23 – 24 มกราคม พ.ศ.2563 นั้น นางสาวนราวดี โหมดนุช นักวิเคราะห์วิจัย จากบริษัทโอแลม (ประเทศไทย) จำกัด ยังคงเน้นย้ำกับเกษตรกรในพื้นที่ว่า ในความเป็นจริงแล้ว เงินโบนัสนั้นก็มาจากน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกรทุกคนที่พยายามปลูกข้าวเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไว้

“เงินโบนัสจะช่วยกระตุ้นให้ทุกคนเกิดกำลังใจที่จะปลูกข้าวที่ดีต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่เน้นย้ำเรื่องความยั่งยืน ปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคเองก็อยากกินข้าวที่ปลูกจากเกษตรกรที่มีความสุข”

Narawadee Modenuch, Research and Sustainability Analyst at Olam International, speaks to a local farmer during her visit on 23 February 2020. (Photo credit: GIZ Thailand)

นางสาวนราวดี โหมดนุช นักวิเคราะห์วิจัย จากบริษัทโอแลม (ประเทศไทย) จำกัด พูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 (เครดิตรูปภาพ: GIZ ประเทศไทย)

Local farmers have their ID cards checked before receiving the bonuses. (Photo credit: GIZ Thailand)

เกษตรกรเข้าแถวรับเงินโบนัสจากเจ้าหน้าที่โครงการ (เครดิตรูปภาพ: GIZ ประเทศไทย)

เกี่ยวกับโครงการริเริ่มข้าวที่ดีแห่งเอเชีย (Better Rice Initiative Asia: BRIA)
โครงการริเริ่มข้าวที่ดีแห่งเอเชีย (Better Rice Initiative Asia: BRIA) เข้าสู่ระยะที่ 2 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 โดยยังคงมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพข้าวและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวมากกว่า 35,000 รายในสามประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม โดยเกษตรกรจะมีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการปลูกข้าวแบบยั่งยืนหรือ Sustainable Rice Platform (SRP) ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ปลูกเอง ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว โดยโครงการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งสามประเทศ บริษัทโอแลม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ในนามของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โครงการจะสิ้นสุดลงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2565
Contact information

ปรางทอง จิตรเจริญกุล
เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร
Email:prangthong.jitcharoenkul(at)giz.de

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
ติดตามเรา
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
ติดต่อเรา

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16)
ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

อีเมล: giz-thailand [at] giz.de
โทรศัพท์ : +66 2 661 9273    โทรสาร : +66 2 661 9281

ตู้ไปรษณีย์

ตู้ปณ. 11-1485 นานา กรุงเทพฯ 10112 ประเทศไทย

สมัครจดหมายข่าว

© 2561 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.