ความเป็นมา
ประมาณร้อยละ 26 ของประชากรไทยมีรายได้จากการทำนาข้าว เกษตรกรจำนวนมากเป็นเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีพื้นที่ถือครองสำหรับเพาะปลูกขนาดเล็กและยังไม่ได้รับการส่งเสริมการผลิตข้าวแบบยั่งยืน ส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและมีกำไรที่ลดลงส่วนใหญ่เนื่องจากมีการใช้ปัจจัยการผลิตที่ไม่เหมาะสม อาทิ การใช้ปุ๋ยเคมีที่มากเกินไป การใช้ยากำจัดวัชพืชเกินความจำเป็น การเลือกซื้อปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่มากเกินไป เป็นต้น
นอกจากนี้ ศัตรูพืชก็เป็นอีกหนึ่งภัยคุกคามที่เกษตรกรไทยต้องประสบและถ้าไม่สามารถจัดการได้จะส่งผลให้ผลผลิตในแปลงนาเกิดความเสียหาย เช่น เกิดการระบาดของแมลงปอและแมลงศัตรูพืชอื่นๆ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการใส่ยาปราบศัตรูพืชที่ไม่เหมาะสมและขาดการจัดการศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถจัดการศัตรูพืชอย่างมีกลยุทธ์ (เช่น การประเมินสถานการณ์โรคและแมลงในแปลงนา และเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมและดีที่สุดในการจัดการโรคและแมลง) และสนับสนุนให้มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเพื่อความปลอดภัย
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัท CropLife International ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในภาคีภาคเอกชนกับโครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (Market-Oriented Smallholder Value Chain – MSVC) ในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานให้กับเกษตรกรในภาคกลาง โครงการเบรีย ไอพีเอ็ม ได้นำวิธีการและบทเรียนที่ได้มีการพัฒนาจากโครงการเบรีย เฟสหนึ่งดำเนินการในประเทศเวียดนามมาต่อยอดและพัฒนาให้เหมาะสมกับเกษตรกรไทย เพื่อทดสอบและสาธิตวิธีการจัดการศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพในภูมิภาค ที่มีเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกัน
โครงการฯ จะฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้เกษตรกรเรื่องการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน การใช้ยาปราบศัตรูพืชอย่างมีความรับผิดชอบ การใช้วิธีทางเลือก เช่น การใช้สารชีวภัณฑ์ และวิธีการแบบผสมผสาน นอกเหนือจากเกษตรกร บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็จะได้รับความรู้ในเรื่องวิธีการใส่ยาปราบศัตรูพืช การจัดการยาปราบศัตรูพืชด้วย ในส่วนของร้านจำหน่ายยาปราบศัตรูพืชก็จะได้รับความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชอย่างผสมผสาน การใช้ยาปราบศัตรูพืชอย่างมีความรับผิดชอบ การส่งเสริมการขายอย่างมีความรับผิดชอบรวมถึงการส่งเสริมการจำหน่ายอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล โครงการฯ คาดว่า เกษตรกรจำนวน 3,500 รายและร้านจำหน่ายยาปราบศัตรูพืช จะได้รับการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวและสามารรถจัดการศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
- เกษตรกรจำนวน 1,270 รายในจังหวัดสุพรรณบุรีได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน จากเจ้าหน้าที่โครงการ โดยร้อยละ 52.83 เป็นเกษตรกรหญิง และร้อยละ 17 เป็นเกษตรกรชาย
- ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนจำนวน 27 แห่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานให้กับเกษตรกรในละแวกใกล้เคียง
- เกษตรกรจำนวน 4,351 รายในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน
สนับสนุนงบประมาณโดย
- กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ)
- CropLife International
ประเทศ
ประเทศไทย
หน่วยงานร่วมดำเนินงาน
กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร Crop Life International และ Olam International
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตุลาคม 2561 – กันยายน 2564
รับชมวิดีโอเกี่ยวกับโครงการ
- รักตัวเอง รักข้าว รักโลก การจัดการศัตรูข้าวด้วยวิธีผสมผสาน IPM
- รักตัวเอง รักข้าว รักโลก การจัดการศัตรูข้าวด้วยวิธีผสมผสาน IPM [English Subtitle]
ข้อมูลเพิ่มเติม
BRIA – IPM Thailand | Sustainable Agrifood System in ASEAN (asean-agrifood.org)