Thai-German CooperationThai-German CooperationThai-German CooperationThai-German Cooperation
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • วิกฤติของพลาสติก ถึงเวลาลด-เลิกใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง!
วิกฤติของพลาสติก ถึงเวลาลด-เลิกใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง!webadminSeptember 27, 2019September 29, 2019
โครงการ
  • การเกษตรและอาหาร
  • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • พลังงาน
  • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
  • การสาธารณสุข
  • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
  • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
จดหมายข่าว
วิกฤติของพลาสติก ถึงเวลาลด-เลิกใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง!
  • 27 กันยายน 2562
  • แชร์บน
Plastic Crisis: Time to reduce – stop your use of single use plastics!

พลาสติกเป็นปัญหาที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกเผชิญอยู่ และในประเทศไทย ปัญหานี้กลายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็พูดถึง แน่นอนว่าการเสียชีวิตของพะยูนมาเรียม ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรก ก่อนหน้านี้ กวางที่เขาใหญ่เสียชีวิตจากการกลืนพลาสติก วาฬเกยตื้นที่จังหวัดสงขลา เสียชีวิตจากการกลืนถุงพลาสติกไป 80 ใบ เต่ามะเฟืองเกยตื้นเสียชีวิตจากการกลืนถุงพลาสติก 9 ใบ บริเวณชายหาดจังหวัดระยอง และมีสัตว์อีกมากมายที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

นี่เป็นหลักฐานที่น่าเศร้าของการใช้พลาสติกของมนุษย์ พลาสติกให้โทษต่อมนุษย์มากมาย อายุของพลาสติกบางชนิดสามารถอยู่ได้นานกว่าชีวิตมนุษย์ และสามารถหาได้ทั่วไป พลาสติกจำนวนมากถูกสะสมมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นศตวรรษ ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อทุกชีวิตบนโลกนี้

ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับพลาสติก

พลาสติกถูกคิดค้นโดย Leo Baekeland นักเคมีชาวเบลเยียม ในปี พ.ศ. 2450 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

พลาสติกมีแหล่งกำเนิดจากปิโตรเลียม ซึ่งรวมถึงน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

พลาสติกใช้ได้สะดวก ราคาถูก ผลิตและซื้อหาง่าย น้ำหนักเบา กันน้ำและความร้อน ทนทาน และยังเป็นสิ่งที่สามารถช่วยชีวิตมนุษย์ได้ในการแพทย์

แต่รู้หรือไม่ว่า พลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 450-1,000 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก ในขณะที่ระยะเวลาที่เราใช้ถุงพลาสติกโดยเฉลี่ยเพียง 12 นาทีเท่านั้น

พลาสติกจะแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติกที่มีสารพิษ และเป็นอันตรายต่อสัตว์และมนุษย์ เมื่อมีการเผาพลาสติก สารพิษจะถูกปล่อยเข้าสู่บรรยากาศ และสารเคมีที่ออกมาสามารถส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนของมนุษย์

มีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2562 นี้ พลาสติกจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเทียบเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์ 850 ล้านตันสู่ชั้นบรรยากาศ

ขยะพลาสติกมาจากไหน

11a21af3-cf5e-4904-9acc-5a76a83f3403 (1)

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ก่อมลพิษขยะพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดติดอันดับ 6 ของโลก
ประเทศไทยสร้างขยะ 26.85 ล้านตันในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเท่ากับ 1.13 กิโลกรัม ต่อคนต่อวัน
2.7 ล้านตันเป็นพลาสติกและโฟม หรือเฉลี่ย 7,000 ตันต่อวัน ซึ่ง 5,300 ตันเป็นพลาสติก

ในหนึ่งปี มีการใช้ถุงพลาสติก 500 ล้านใบ ซึ่งโดยเฉลี่ยหนึ่งคนใช้ถุงพลาสติก 8 ใบต่อวัน (สำรวจในปี พ.ศ. 2560 โดยกรมควบคุมมลพิษ)

ร้อยละ 23 หรือ 6.22 ล้านตันของขยะทั้งหมดต่อปี ไม่ได้รับการจัดเก็บและจัดการอย่างถูกวิธี

ในปี พ.ศ. 2561 จังหวัดชายฝั่งสร้างทั้ง 23 จังหวัดมีขยะ 10 ล้านตันต่อปี ซึ่ง 5 ล้านตัน ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเปิดเผยว่าขยะพลาสติก 50,000 – 60,000 ตันหรือ 750 ล้านชิ้นไหลลงสู่ทะเล

ขยะพลาสติกที่พบในทะเลได้แก่ ถุง (ร้อยละ 18) ขวดพลาสติก (ร้อยละ 17) และภาชนะบรรจุอาหาร (ร้อยละ 9) หลอด (ร้อยละ 5) และฝาขวดพลาสติก (ร้อยละ 3)

ประเทศไทยได้มีการดำเนินการอะไรบ้าง
เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เชิญชวนร้านค้า ห้างสรรพสินค้า สมาคมการค้า และผู้ผลิตพลาสติกเข้าร่วมแคมเปญลดการใช้ถุงพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อหลายแห่ง จะงดให้ถุงพลาสติกกับผู้ที่มาซื้อสินค้าโดยจะเริ่มในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563

แผนงานการจัดการขยะพลาสติก ปี พ.ศ. 2561-2573 ระบุว่า ภายในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยจะสั่งห้ามการใช้พลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ 1) ไมโครบีดจากพลาสติก (Microbead) พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม และผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภทอ็อกโซ่ (Oxo) หรือถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ ซึ่งผู้ผลิตใส่สารเติมแต่งเพื่อให้เปราะมากขึ้น แตกตัวเป็นชิ้นเล็ก จนเป็นไมโครพลาสติกได้เร็วขึ้น ซึ่งสามารถปนเปื้อนเข้าไปในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตเล็กๆ

และใน พ.ศ. 2565 จะเลิกใช้พลาสติก 4 ประเภท ซึ่งเป็นพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single use Plastic) ได้แก่ 1) ถุงพลาสติกหูหิ้ว 2) กล่องโฟมบรรจุอาหาร 3) แก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) 4) หลอดพลาสติก

ในปี พ.ศ. 2570 ตั้งเป้านำขยะผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับเข้ามาใช้ประโยชน์ 100% รวมถึงการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน

ผู้ผลิตน้ำดื่มรายใหญ่ 5 รายได้ยกเลิกการใช้พลาสติกหุ้มฝาตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ผู้ผลิตรายเล็กจะยุติการใช้พลาสติกหุ้มฝาภายในปี พ.ศ. 2562

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศห้ามการผลิตนำเข้าและจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีไมโครบีด

ประเทศอื่นๆ มีการดำเนินการอย่างไรในเรื่องการใช้พลาสติก

ในบรรดาหลายๆ ประเทศ แคนาดาตั้งเป้ายกเลิกพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งภายในปี พ.ศ. 2564
อินเดียจะยกเลิกพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2565 นายกรัฐมนตรีของอินเดียจะเปิดตัวแคมเปญงดใช้ถุงพลาสติก ถ้วย จาน ขวดขนาดเล็ก หลอดและซองบรรจุบางประเภท

ประเทศจีนได้สั่งห้ามการนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประเทศในปี พ.ศ.2560 ประเทศเคนยาซึ่งตกเป็นพาดหัวข่าวทั่วโลกในการประกาศ บังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดที่สุดในโลกในการต่อต้านการใช้ถุงพลาสติกเมื่อปีที่แล้ว ผู้ที่เดินทาง หรืออาศัยอยู่ในประเทศเคนยา ทั้งที่ผลิตขาย อาจถูกจำคุกถึง 4 ปี หรือปรับ 40,000 ดอลลาร์ สหรัฐฯ (ประมาณ 1.2 ล้านบาท) ส่วนผู้ที่ใช้ถุงพลาสติกอาจถูกปรับมากกว่า 500 ดอลลาร์ หรือประมาณ 15,000 บาท หรือจำคุก 1 ปี

กระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ และความปลอดภัยทางปรมาณู สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMU) ได้ประกาศแผน 5 จุด เพื่อลดขยะพลาสติก ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งได้แก่

  1. การหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น
  2. การทำบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยกฎการออกใบอนุญาตใหม่
  3. การรีไซเคิลที่มากขึ้น เพิ่มจุดรีไซเคิลให้มากขึ้น
  4. การป้องกันพลาสติกไม่ให้เข้าไปในขยะอินทรีย์
  5. การให้ความช่วยเหลือกับต่างประเทศในการจำกัดขยะพลาสติกในมหาสมุทร ซึ่งรวมถึงการเพิ่มช่วยเหลือด้านการเงินให้กับประเทศอื่น ๆ
    (ที่มา: Deutsche Welle)

รัฐบาลเยอรมันได้ประกาศแผนการคืนเงินมัดจำ เมื่อผู้บริโภคซื้อเครื่องดื่ม ค่ามัดจำขวดเครื่องดื่มนั้นได้ถูกรวมไปในราคาขายของเครื่องดื่ม ซึ่งเมื่อผู้บริโภคคืนขวดเครื่องดื่มที่จุดรวบรวมก็จะได้รับเงินมัดจำนั้นคืน

รัฐบาลเยอรมันให้การสนับสนุนประเทศต่างๆ มายาวนาน รวมถึงในด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย ผ่าน GIZ ในสาขาต่างๆ เช่น การเกษตร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงาน ธรรมาภิบาล การขนส่ง การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม การจัดการของเสียและทรัพยากรธรรมชาติ และการอาชีวศึกษา

ในด้านปัญหาขยะและขยะพลาสติก โครงการ Rethinking plastics – circular economy solutions to marine litter ซึ่งได้รับทุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) และสหภาพยุโรป สนับสนุนประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านสู่การบริโภคและการผลิตพลาสติกอย่างยั่งยืน รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อลดจำนวนขยะในทะเล โครงการฯ เสริมสร้างความร่วมมือของสหภาพยุโรปกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคทั้งในด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ขยะพลาสติก และการลดขยะในทะเล

โครงการด้านการจัดการขยะ ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สนับสนุนรัฐบาลไทยในการปรับปรุงกรอบนโยบายด้านการจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน และสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ โดยมีกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ และความปลอดภัยทางปรมาณู สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMU) ผ่านแผนงานปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับสากล (IKI) สนับสนุนด้านงบประมาณ

โครงการพัฒนาการและการวัดผลการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน สำหรับสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง และกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ สนับสนุนการบูรณาการเกณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศ ผนวกเข้ากับฉลากสิ่งแวดล้อมในประเทศเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และพัฒนาการรับรู้ร่วมกันในเรื่องฉลากสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโครงการฯได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก BMU

ความร่วมมือเป็นกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระดับประเทศและระดับโลก การแก้ปัญหาไม่สามารถมุ่งประเด็นการลดการใช้พลาสติกไปที่ผู้บริโภคเพียงด้านเดียว ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการออกกฎหมาย กำหนดกฎระเบียบ หรือข้อบังคับ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ หรือนักออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกันค้นหาทางเลือกที่ยั่งยืน บริษัทผลิตหรือจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันเลือกใช้พัสดุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างความตระหนักรู้และการสนับสนุนจากสื่อและภาคประชาสังคม และการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคเองควรเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กัน

ที่มา: The Guardian, National Geographic, Deutsche Welle, Reuters, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, Bangkok Post

GALLERY
Contact information

กาญจนา งามกาหลง
เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
Email:kanjana.ngamkalong(at)giz.de

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย
193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่
คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย
อีเมล: giz-thailand [at] giz.de โทรศัพท์ : +66 2 661 9273 ต่อ 153
กดที่นี่เพื่อ สมัครรับข้อมูลข่าวสาร หรือ ยกเลิกการรับข้อมูลข่าวสาร ของเรา
ติดตามเรา
© 2566 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย
This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.