Thai-German CooperationThai-German CooperationThai-German CooperationThai-German Cooperation
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • เรียนรู้ให้เข้าใจกับห่วงโซ่อุปทานอาหารและผักในโครงการหลวงและงาน ThaiFEX
เรียนรู้ให้เข้าใจกับห่วงโซ่อุปทานอาหารและผักในโครงการหลวงและงาน ThaiFEXwebadminJune 1, 2017March 2, 2019
โครงการ
  • การเกษตรและอาหาร
  • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • พลังงาน
  • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
  • การสาธารณสุข
  • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
  • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
จดหมายข่าว
เรียนรู้ให้เข้าใจกับห่วงโซ่อุปทานอาหารและผักในโครงการหลวงและงาน ThaiFEX
  • 01 มิถุนายน 2560
  • แชร์บน
Learning about food and vegetable supply chain at a Thai Royal Project and ThaiFEX

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 หุ้นส่วนภาครัฐและภาคเอกชนแบบบูรณาการได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ศูนย์ผลิตผลโครงการหลวง และมังกี้ ฟาร์ม ดอยสะเก็ด ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการมาตรฐานอาหารเพื่อการค้าในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SAFT) ผู้เข้าร่วมการศึกษาดูงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการที่โครงการหลวงจัดการขั้นตอนต่างๆ ตลอดแนวห่วงโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่การจัดการฟาร์ม การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว จนกระทั่งถึงการคัดแยก บรรจุ จัดเก็บ และขนส่ง ตลอดจนการให้การสนับสนุนแก่ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ราบสูง คณะศึกษาดูงานยังได้พูดคุยในประเด็นปัญหาและความท้าทายระหว่างการเข้าเยี่ยมชม

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมและ 1 มิถุนายน ผู้เข้าร่วมการศึกษาดูงานได้เข้าร่วมงาน ThaiFEX ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดของอาเซียน งานแสดงสินค้าดังกล่าวเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนรายชื่อผู้ติดต่อระหว่างผู้ซื้อกับซัพพลายเออร์ที่มีศักยภาพ ซึ่งอาจช่วยขยายธุรกิจในอนาคต

การศึกษาดูงานครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้มีความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาการผลิตผักและผลไม้ให้ประสบความสำเร็จและได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดและความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารของผู้ซื้อทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระหว่างประเทศ

iPPP คือการเป็นหุ้นส่วนระหว่างธุรกิจเอกชนหนึ่งแห่ง (หรือมากกว่า) กับ GIZ ซึ่งช่วยสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่เป็นรูปธรรมแก่หุ้นส่วนภาคเอกชน และในขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งประโยชน์ด้านการพัฒนาให้แก่ประเทศที่ร่วมเป็นหุ้นส่วน
ความช่วยเหลือจากหุ้นส่วนภาครัฐช่วยให้ SAFT สามารถจัดตั้ง iPPP จำนวน 8 แห่งใน 5 ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป. ลาว เมียนมาร์ และฟิลิปปินส์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
1. ให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจในด้านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สำหรับผักและผลไม้
2. ควบรวมมาตรการเพื่อเติมเต็มช่องว่างที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ซึ่งรวมถึงการสร้างกลไกการเข้าถึงตลาด การเสริมสร้างเครือข่ายของคลัสเตอร์ และการสร้างความตระหนักของผู้บริโภค
3. สร้างฟาร์มต้นแบบ เพื่อเป็นแบบอย่างในเรื่องกระบวนการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อทำให้กระบวนการดังกล่าวมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้ค้าผักและผลไม้รายอื่น
GALLERY
Contact information

วีรินทร์ภัทร เจนวัฒนากูล
ที่ปรึกษาระดับภูมิภาค มาตรฐานอาหารเพื่อการค้าในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
Email: weerinpat.janewatanakul(at)giz.de

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย
193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่
คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย
อีเมล: giz-thailand [at] giz.de โทรศัพท์ : +66 2 661 9273 ต่อ 153
กดที่นี่เพื่อ สมัครรับข้อมูลข่าวสาร หรือ ยกเลิกการรับข้อมูลข่าวสาร ของเรา
ติดตามเรา
© 2566 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย
This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.