สวัสดีค่ะ

ยินดีต้อนรับสู่จดหมายข่าว GIZ ประเทศไทย ประจำเดือนมกราคมถึงเมษายน พ.ศ. 2566 โดยฉบับนี้ยังคงมีบทความน่าสนใจมากมายจากโครงการที่ GIZ ประเทศไทย กำลังดำเนินการร่วมกับพันธมิตรในประเทศไทยค่ะ

เริ่มจากด้านการเกษตรและอาหาร โครงการไทย ไรซ์ นามา ได้ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติจากเยอรมนีและไทย เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานแปลงนาสาธิตข้าวรักษ์โลกในจังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนั้น ยังมีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือด้านการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวในเชียงราย ผลความสำเร็จในการใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto) การเปิดตัวโครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการทางการเงิน (AgriCRF) และโครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสในประเทศไทย รวมถึงบทความดีๆ เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตและรายได้จากการจัดการสวนมะพร้าวด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยโมเดล BCG และเคล็ดลับในการอบรมให้มีประสิทธิภาพจากวิทยากรโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน

ในปีนี้ฤดูร้อนในประเทศไทยค่อนข้างยาวนานเป็นผลกระทบจากเอลนีโญซึ่งทุกคนรู้สึกได้ถึงอุณหภูมิที่เพิ่มมากขึ้น ทางฝั่งพลังงานได้จัดงานสนุกๆ "Energy เอเนอจิ้น : จินตนาการเพื่อพลังงานที่เป็นมิตรต่อชีวิตและโลก" เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืนในประเทศไทยและแนะนำวิธีการประหยัดพลังงานในภาวะโลกร้อนเช่นนี้ นอกจากนี้โครงการด้านนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เตรียมจัดตั้งโครงการเงินทุนด้านสภาพอากาศแห่งแรกของไทย เพื่อให้การจัดสรรเงินทุนในโครงการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีบทความน่าสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงการเปิดตัวหน่วยการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับบุคลากรอาชีวศึกษามาฝากเช่นกันค่ะ

สำหรับผู้ที่สนใจพัฒนาความรู้ในด้านต่างๆ สามารถติดตามข้อมูลและหลักสูตรที่เปิดรับสมัครได้ที่แผนกบริการฝึกอบรม AIZ ทางเว็บไซต์ https://www.learning-giz.de/

นอกจากจดหมายข่าวแล้ว ยังสามารถติดตามข่าวสารดีๆ จาก GIZ ประเทศไทย ได้ทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และลิงก์อิน

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว GIZ ประเทศไทย

 
 
 
 
 
ไทยใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto) เพื่ออำนวยความสะดวกการส่งออกเต็มรูปแบบ
 
กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าและอาหารแห่งชาติ และกรมศุลกากร ส่งเสริมการใช้ใบรับรอง
สุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto) เพื่ออำนวย
ความสะดวกทางการค้าและการส่งออกของไทยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
ePhyto สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐที่จะแก้ปัญหาระบบเอกสารและช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานด้านการส่งออกให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
การใช้ ePhyto จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของ
ผู้ประกอบการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้มากถึง 166 ล้านบาทต่อปี
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
GIZ จับมือ อูรมัต เดินหน้าข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์ฟางข้าวเพื่อเกษตรกรรายย่อยเชียงราย
 
GIZ และบริษัท อูรมัต จํากัด จับมือดำเนินโครงการการใช้ประโยชน์ฟางข้าวจากเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงราย เพื่อลดปัญหาการเผาฟางข้าว
ปัจจุบันเกษตรกรขาดทางเลือกในการจัดการฟางข้าวที่เหมาะสม จึงเผาฟางข้าวและตอซังเพื่อเตรียมพื้นที่ แม้ว่าจะทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและส่งผลกระทบต่อสุขภาพก็ตาม
ความร่วมมือนี้ยังเน้นย้ำถึงการดำเนินงานเพิ่มเติมตามกรอบภูมิทัศน์ข้าวที่ยั่งยืนแบบครอบคลุมในประเทศไทย ซึ่งมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนห่วงโซ่มูลค่าข้าวของไทยให้มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
เปิดตัวโครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัส (Coffee++) ในไทย เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง การปลูกกาแฟต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร
 
GIZ และบริษัท เนสท์เล่ ดำเนินโครงการ “ยกระดับคุณภาพชีวิตและความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของผู้ผลิตกาแฟรายย่อยด้วยระบบ
การผลิตแบบเกษตรกรรมฟื้นฟู (Coffee++)” ใน พ.ศ. 2565 ต่อเนื่องจากโครงการ “พัฒนาระบบการผลิตกาแฟ
ของผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Coffee+)” ที่เริ่มดำเนินงานเมื่อ พ.ศ. 2561
โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัส (Coffee++) นำนวัตกรรมเชิงพหุวิทยาการมาใช้ในการดำเนินโครงการ เพื่อสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยในพื้นที่เป้าหมายในไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และโกตดิวัวร์ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยการนำหลักเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูไปปฏิบัติ
อ่านเพิ่มเติม
 
 
GIZ เปิดตัวโครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการทางการเงิน เพื่อส่งเสริมภาคเกษตรไทยให้พร้อมรับมือกับปัจจัยเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศ
 
GIZ เปิดตัวโครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการทางการเงินเพื่อรับมือกับปัจจัยเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (AgriCRF) เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรายย่อยของไทยและภูมิภาคอาเซียนให้เข้าถึงเครื่องมือทางการเงินที่จำเป็นต่อการรับมือกับปัจจัยเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศในภาคเกษตร
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) โดย GIZ ดำเนินโครงการในระดับภูมิภาคผ่านแผนกอาหาร เกษตรและป่าไม้ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน คณะทำงานด้านพืชของอาเซียน และระดับประเทศในอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม โดยดำเนินงาน 3 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2566 – 2568
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
วิทยากร SPOPP ต้นแบบที่ให้มากกว่าการสอนและการแบ่งปันความรู้
 
วิทยากรมักถูกมองว่าเป็นเพียงผู้บรรยาย แต่สำหรับโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือ SPOPP แล้ว วิทยากรของเรานั้นยังเป็นทั้งผู้สอน ผู้นำกระบวนการฝึกอบรม และเป็นผู้ตรวจสอบที่คอยติดตามว่าเกษตรกรได้นำความรู้และเทคนิคที่ได้จากการอบรมไปใช้หรือไม่
วิทยากรยังเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันไปสู่เป้าหมายในการได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน หรือ RSPO
ดังนั้นเราจึงรวบรวมเทคนิคดีๆ จากประสบการณ์การจัดอบรมเพื่อให้วิทยากรท่านอื่นได้นำไปทดลองใช้กับเกษตรกรในชุมชน
อ่านเพิ่มเติม
 
 
การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมด้วยโมเดล BCG
การทำการเกษตรในปัจจุบันนอกจากจะให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการผลิตแล้ว ยังไม่ควรมองข้ามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิต
หลายประเทศให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน เห็นได้จากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดล BCG ในไทย
กรมวิชาการเกษตร ร่วมมือกับ GIZ ในการพัฒนา
องค์ความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันร่วมกับเกษตรกร เพื่อ
ยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนสู่มาตรฐานสากล ไปพร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
โครงการการทำงานร่วมกันเพื่อการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CAP SEA) ดำเนินงานสำเร็จลุล่วงในประเทศไทยและมาเลเซีย
 
โครงการ CAP SEA สนับสนุนให้มีการป้องกันและลดขยะพลาสติกและบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในประเทศมาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย โดยเริ่มดำเนินงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566
โครงการฯ ยังสนับสนุนด้านการพัฒนานโยบาย มาตรฐานอุตสาหกรรม และการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการจัดการพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ด้วยการให้คำแนะนำเชิงนโยบาย การริเริ่มโครงการนำร่อง และการร่วมมือกับภาคธุรกิจ

 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
SEAMEO-VOCTECH และ RECOTVET เปิดตัวหน่วยการเรียนรู้ออนไลน์ (Learning Highlights) เพื่อเพิ่มความรู้และสมรรถนะของบุคลากรอาชีวศึกษา
 
“หน่วยการเรียนรู้ออนไลน์” เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมบุคลากรอาชีวศึกษาในภูมิภาคอาเซียน “Fit for Industry 4.0”
หน่วยการเรียนรู้นี้ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัลและอุตสาหกรรม 4.0 และถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ในระยะเวลาที่เหมาะสม
บุคคลที่สนใจสามารถเข้าถึงหน่วยการเรียนรู้ออนไลน์นี้ได้ทาง SEA-VET.net THINKIFIC Learning Platform ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
 
ผลการเข้าร่วมประชุม CBD COP15 และการเริ่ม
ดำเนินการตามกรอบความหลากหลายทางชีวภาพใหม่ของประเทศไทย

 
การประชุมเผยแพร่สรุปการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (CBD COP15) ซึ่งจัดขึ้นโดย สผ. เพื่อชี้แจงให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทยรับทราบผลการเจรจาที่เมืองมอนทรีออล และกรอบงานคุนหมิง – มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก และทิศทางการเดินหน้าของประเทศไทย
ภายในการประชุมนี้ สผ. เน้นย้ำว่าไทยได้เข้าร่วม High Ambition Coalition (HAC) และได้ตั้งเป้าไว้ที่โครงการ 30x30 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สอดคล้องกับความสนใจขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
การตรวจสอบสิ่งที่รู้และไม่รู้: ผู้เชี่ยวชาญหารือเกี่ยวกับความกดดันด้านสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย
 
การประชุมจัดขึ้นโดยเชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมตรวจสอบข้อมูลเดิมเกี่ยวกับความกดดันของสภาพภูมิอากาศในภาคทะเลและชายฝั่ง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการการปรับตัวภายในประเทศไทยต่อไป
กระบวนการนี้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่รู้กันอยู่แล้วและที่เกิดจากการสังเกตการณ์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมนุษย์ตามพื้นที่ต่างๆ ของประเทศและในระดับย่อยต่างๆ
ผลลัพธ์จากการตรวจสอบข้อมูลแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับแนวโน้มของโลกและปัจจัยภายนอกที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

อ่านเพิ่มเติม
 
 
ติดต่อ
แก้วตา เกษบึงกาฬ
ผู้ชำนาญการด้านประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร
อีเมล Kaewta.Ketbungkan@giz.de


เว็บไซต์
www.giz.de/thailand
www.thai-german-cooperation.info

ติดตามข่าวสาร
ที่อยู่
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพลกซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 02 661 9273
โทรสาร 02 661 9281


จดหมายข่าว
สมัครสมาชิกจดหมายข่าว