ความเป็นมา
ภาคพลังงานและขนส่งเป็นภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 74 ของทั้งหมด ดังนั้นประเทศไทยจึงกำหนดให้ภาคพลังงานเป็นภาคส่วนที่สำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมาย NDC 2020-2030 ของประเทศ โดยวางแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนจกในภาคพลังงานลงให้ได้ร้อยละ 20 จากระดับกรณีฐานภายใน พ.ศ. 2573 ด้วยเหตุนี้จึงมีการกำหนดกรอบนโยบายระดับชาติเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้พลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน รวมถึงวางแผนและดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทย
สำนักงานพลังงานจังหวัดเป็นหน่วยงานระดับจังหวัดของกระทรวงพลังงานซึ่งมีสำนักงานประจำจังหวัดทั้งหมด 76 จังหวัดทั่วประเทศ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาแผนปฏิบัติราชการด้านพลังงานของจังหวัด รวมถึงมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ดังนั้น สำนักงานพลังงานจังหวัดจึงมีบทบาทสำคัญและมีศักยภาพในการขับเคลื่อนโครงการในระดับจังหวัดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคพลังงาน โครงการ TGCP-Energy จึงดำเนินการร่วมกับสำนักงานพลังงานจังหวัดใน 34 จังหวัดนำร่อง เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากร และสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านพลังงานของจังหวัด ผ่านการสนับสนุนเชิงวิชาการสำหรับการดำเนินโครงการด้านพลังงานสะอาดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
วัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนกระทรวงพลังงานทั้งในการจัดทำนโยบาย การจัดทำแผนด้านพลังงานระดับจังหวัด การพัฒนาโครงการด้านพลังงานที่นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการติดตามและประเมินผล สอดคล้องตามเป้าหมาย NDC 2020-2030 ของประเทศ
แนวทางการดำเนินงาน
กิจกรรมหลักภายใต้โครงการ TGCP-Energy ประกอบด้วย
- ศึกษาและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านพลังงานในประเด็นต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ออกแบบ พัฒนา และดำเนินการจัดทำเครื่องมือสนับสนุนด้านการวางแผนพลังงานแบบบูรณาการที่ทันสมัย
- จัดทำภาพฉายอนาคตพลังงานในระดับจังหวัด (Provincial Energy Scenario) เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการวางแผนพลังงานในระยะยาวของจังหวัดนำร่อง
- พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรกระทรวงพลังงานในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานรวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างภาคพลังงาน สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- สนับสนุนเชิงวิชาการสำหรับการดำเนินโครงการด้านพลังงานสะอาดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามแผนปฏิบัติราชการด้านพลังงานของจังหวัดนำร่อง
- ถ่ายทอดความรู้และเสริมสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานในประเทศด้านการใช้แบบจำลองการคาดการณ์การใช้พลังงานในระดับจังหวัดของประเทศไทย
ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
การศึกษาและข้อเสนอเชิงนโยบายด้านพลังงานในประเด็นต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก:
- การพัฒนาระบบการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบ (MRV) สำหรับโครงการด้านการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ตามแผนงานการลดก๊าซเรือนกระจกตามแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 ภาคพลังงาน
- ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดการข้อมูลด้านพลังงานระดับจังหวัดสำหรับฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ
- การพัฒนาระบบการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (MRV) สำหรับโครงการด้านพลังงานขนาดเล็กในประเทศไทย
- ข้อเสนอแนะการพัฒนาระบบพยากรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทน (Renewable Energy Forecast)
- ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเรื่องการพัฒนาระบบไฟฟ้าบนเกาะในประเทศไทย
- ข้อเสนอแนะสำหรับระบบตรวจสอบและประเมินผลโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงพลังงานหมุนเวียน (เช่น โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ โรงไฟฟ้าขยะ)
- คู่มือการตรวจวัดและการบริหารจัดการพลังงานในโรงแรม รวมถึงข้อเสนอแนะด้านมาตรการพลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับภาคโรงแรมและรีสอร์ทในประเทศไทย
เครื่องมือดิจิทัลสนับสนุนด้านการวางแผนพลังงาน:
- แบบจำลองการคาดการณ์การใช้พลังงานในระดับจังหวัดของประเทศไทย (PEMT)
- ระบบออนไลน์สนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านพลังงานของจังหวัด (IPEPP)
การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรกระทรวงพลังงานในหัวข้อต่อไปนี้:
- พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน
- ความเชื่อมโยงระหว่างภาคพลังงาน สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
- การจัดทำแผนปฏิบัติราชการด้านพลังงานของจังหวัดด้วยระบบออนไลน์
- การวางแผนพลังงานระดับจังหวัดระยะยาวด้วยภาพฉายอนาคตพลังงานในระดับจังหวัด
- การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาโครงการพลังงานสะอาดในระดับจังหวัด
- การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านพลังงานอัจฉริยะสำหรับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของจังหวัด
- การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการเก็บข้อมูลและการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา สำหรับอาคารพาณิชย์และอุตสาหกรรม
- การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการเก็บข้อมูลและการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสำหรับอาคารภาครัฐ
- การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องพลังงานและการเกษตร
การสนับสนุนเชิงวิชาการสำหรับการดำเนินโครงการด้านพลังงานสะอาดและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามแผนปฏิบัติราชการด้านพลังงานของจังหวัดนำร่อง:
- การศึกษานอกสถานที่และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เรื่องการการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งจากซังและเปลือกข้าวโพดระหว่างสหกรณ์การเกษตรแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และสหกรณ์การเกษตรนาน้อย จังหวัดน่าน
- การศึกษาวิจัยเรื่องการผลิตและห่วงโซ่อุปทานของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งจากซังและเปลือกข้าวโพดให้แก่สหกรณ์การเกษตรนาน้อย จังหวัดน่าน
- การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องพลังงานอัจฉริยะสำหรับเมืองอัจฉริยะสำหรับบุคลากรของสำนักงานจังหวัดนครพนม
- การอบรมชุมชนเรื่องเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการเกษตร (จังหวัดน่านและระยอง)
- การตรวจวัดการใช้พลังงานและข้อเสนอแนะด้านมาตรการพลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับโครงการโรงแรมสีเขียว จังหวัดนครพนม
- การตรวจวัดการใช้พลังงานและข้อเสนอแนะด้านมาตรการพลังงานหมุนเวียนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับโรงแรมและรีสอร์ทในจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต และพังงา
- การศึกษาความเป็นไปได้และคำนวณระบบเบื้องต้นสำหรับระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการเกษตร สำหรับศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรในจังหวัดปราจีนบุรี
- การศึกษาความเป็นไปได้และคำนวณระบบเบื้องต้นสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำสำหรับมหาวิทยาลัยในจังหวัดภูเก็ต
- การศึกษาความเป็นไปได้และคำนวณการรูปแบบธุรกิจ และการพัฒนาโครงการระบบโซลาร์โฮม เกาะบุโหลนดอน จังหวัดสตูล (ร่วมกับหน่วยงานภาคี)
- การศึกษาความเป็นไปได้และคำนวณความต้องการการใช้ไฟฟ้าสำหรับการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าบนเกาะโหลน จังหวัดภูเก็ต
- งานสัมมนาด้านพลังงานอัจฉริยะ จังหวัดขอนแก่น
การจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้:
- แคตตาล็อกพลังงานสำหรับการวางแผนด้านพลังงานอัจฉริยะ
- เครื่องมือดิจิทัลสนับสนุนการวางแผนด้านพลังงาน (PEMT และ IPEPP)
- สรุปการจัดอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับบุคลากรของสำนักงานพลังงานจังหวัด
- วิดีโอสอนการใช้งานระบบ IPEPP
- วิดีโอสอนการใช้งานระบบ PEMT
- รายวิชาออนไลน์เรื่องระบบพลังงาน ดุลยภาพพลังงาน และการพัฒนาภาพฉายอนาคตด้านพลังงาน
สนับสนุนงบประมาณโดย
กระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณูและคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV)
ประเทศ
ไทย
หน่วยงานร่วมดำเนินงาน
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
มกราคม พ.ศ. 2561 – ธันวาคม พ.ศ. 2565
รับชมวิดีโอเกี่ยวกับโครงการ