ความเป็นมา
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผลต่อระบบสาธารณสุขทั่วโลก แม้ว่าหลายประเทศในอาเซียนจะได้เตรียมการรับมือและตอบโต้ต่อภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข แต่ยังคงมีความแตกต่างด้านความสามารถและความพร้อมในการรับมือในระดับประเทศและระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาค
กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) มียุทธศาสตร์ซึ่งกำหนดเป้าหมายชัดเจนและจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างเพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภูมิภาคอาเซียน โดยหนึ่งในนั้น คือ มาตรการที่เสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองและฟื้นตัวจากผลกระทบที่เกิดจากโควิด-19 รวมถึงภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอื่นๆ
วัตถุประสงค์
เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคอาเซียน ในการตอบสนองและฟื้นตัวจากผลกระทบที่เกิดจากโควิด-19 รวมถึงภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอื่นๆ ให้เข้มแข็งมากขึ้น
แนวทางการดำเนินงาน
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข (ASEAN Health Sector Cooperation) ซึ่งเป็นกลไกระดับภูมิภาคที่ริเริ่มทำงานเกี่ยวกับการตอบสนองต่อภัยพิบัติ รวมถึงโรคอุบัติใหม่ ซึ่งรวมถึงภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขหรือโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยโครงการสนับสนุนดังนี้:
- การจัดหาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้กับประเทศในกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภูมิภาคอาเซียน
- การสนับสนุนความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียนในการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
- การพัฒนาโครงการที่เสริมสร้างการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในระยะยาวของประชาคมอาเซียน
ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
- จัดหาเวชภัณฑ์ให้กับประเทศในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย (กำลังดำเนินการ)
- ดำเนินการสนับสนุนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับภูมิภาค ดังนี้
- การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อติดตามผู้สัมผัสข้ามพรหมแดนและการสอบสวนการระบาดของโรค (ดำเนินงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย)
- การพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยของอาเซียนเพื่อป้องกันโรคระบาดในที่สาธารณะ (ดำเนินงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย)
- การเสริมสร้างขีดความสามารถในเชิงปฏิบัติการทางจีโนมชีวภาพ (Bio Genomics Laboratory) เพื่อวิเคราะห์ตรวจสอบการหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน (ดำเนินงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซีย)
- การประเมินความต้องการเพื่อพัฒนาศักยภาพในการรับมือภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของโควิด-19 ในอาเซียน (ดำเนินงานร่วมกันกับกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทย)
ประเทศ
ระดับภูมิภาค / อาเซียน (ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ)
หน่วยงานร่วมดำเนินงาน
แผนกสาธารณสุข สำนักงานเลขาธิการอาเซียน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 – เดือนกันยายน พ.ศ. 2565
ข้อมูลเพิ่มเติม
www.asean-agrifood.org