ความเป็นมา
ปัจจุบันโครงการด้านพลังงานในประเทศกำลังพัฒนาเผชิญกับปัญหาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และการเข้าถึงพลังงานที่เป็นไปอย่างยากลำบาก ซึ่งทำให้การบริการด้านพลังงานไม่มีประสิทธิภาพ การตอบสนองต่อความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เพื่อให้บรรลุความตกลงปารีส และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จึงเป็นสิ่งที่โครงการ PACT เข้ามาส่งเสริม โดยมีโครงการที่ GIZดำเนินการในประเทศต่าง ๆ มาอย่างยาวนานเป็นพื้นฐาน และร่วมมือกับโครงการจากหน่วยงานร่วมดำเนินงานอื่น ๆ ในระดับสากล ในการประสานงานแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์
โครงการ PACT เร่งการเปลี่ยนผ่านพลังงานในประเทศพันธมิตรผ่านความร่วมมือกับโครงการระดับนานาชาติ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่ภาคพลังงานที่สะอาดและทันสมัย
แนวทางการดำเนินงาน
โครงการ PACT ในประเทศไทยส่งเสริมแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) และเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านการสร้างแบบจำลองพลังงาน (CoP)
PACT อาศัยความร่วมมือสำคัญระหว่าง GIZ และ U.S. Net Zero World Intiative (NZW) ความร่วมมือนี้นำเอาเชี่ยวชาญของ GIZ ที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ผนวกกับความเชี่ยวชาญจากห้องปฏิบัติการแห่งชาติสหรัฐฯ ของ NZW
ในประเทศไทย PACT ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงานโดยมีแนวทางดังนี้
- แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนความรู้ด้านระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (BESS) จะช่วยลดช่องว่างในการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ โดยการระบุหัวข้อสำคัญและการเสริมสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคพลังงาน การขนส่ง และอุตสาหกรรม มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างประเทศเพื่อกำหนดกลยุทธ์ BESS ในประเทศไทย
- เครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติด้านการสร้างแบบจำลองพลังงาน (CoP) จะช่วยสร้างศักยภาพการสร้างแบบจำลองพลังงาน และลดปัญหาด้านข้อมูล เพื่อสนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนผ่านพลังงาน โดยการประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านพลังงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบบจำลองพลังงาน และโครงการอื่นๆ
สนับสนุนงบประมาณโดย
เงินทุนของ GIZ
ประเทศ
ระดับสากล (โดยมุ่งเน้นที่ประเทศไทย อินโดนีเซีย และไนจีเรีย)
หน่วยงานร่วมดำเนินงาน
U.S. Net Zero World Initiative (NZW)
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
สิงหาคม พ.ศ. 2566 – มกราคม พ.ศ. 2569