ความเป็นมา
ความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการชี้วัดคุณภาพของระบบสาธารณสุขในประเทศ และถือเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญขององค์การอนามัยโลก (WHO) และรัฐบาลไทย ในการนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังพบว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดในการปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการทำงานที่ถูกต้อง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความเจ็บป่วย ความเครียด และอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน
นอกจากผลกระทบด้านสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลแล้ว วิธีการทำงานที่ไม่ปลอดภัยยังส่งผลให้โรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขมีต้นทุนเพิ่มขึ้นด้านค่ารักษาและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากโรงพยาบาลต่างๆ ยังคงประสบปัญหาต่างๆ เช่น บุคลากรทางการแพทย์บางส่วน ยังมีข้อจำกัดด้านความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่ถูกต้อง ผู้บริหารโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ยังได้รับการฝึกอบรมและข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอย่างปลอดภัยไม่เพียงพอ ตลอดจนขาดระบบการติดตามผลที่แม่นยำ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงมาตรการเรื่องความปลอดภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพทางการแพทย์ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางสาธารณสุข และลดความเสี่ยงในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์
แนวทางการดำเนินงาน
- ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและคู่มือปฏิบัติงานให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และได้มาตรฐานตามหลักสากล เพื่อความปลอดภัยของคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย ในสามหัวข้อดังต่อไปนี้
- มาตรฐานของขั้นตอนการล้างมือเพื่อป้องกันการติดเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์
- ขั้นตอนการจัดการและการใช้เข็มให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
- ขั้นตอนและความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ
- พัฒนาศักยภาพผู้ฝึกสอน สำหรับการจัดฝึกอบรมพยาบาลทั่วประเทศในสามหัวข้อข้างต้น
- สนับสนุนการอบรมในด้านมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของบุคลาการทางการแพทย์ ให้แก่ผู้บริหารระดับกลางและระดับสูงของโรงพยาบาลนำร่อง
- สนับสนุนการใช้ระบบรายงานแบบออนไลน์ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์
ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
- หลักสูตรและสื่อสำหรับการอบรมในสามหัวข้อด้านความปลอดภัยได้ถูกพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์ และนำมาใช้ในการอบรมบุคลากรทางการแพทย์
- บุคลากรทางการแพทย์ราว 1,000 คน ได้รับการอบรมเรื่องความปลอดภัยในการทำงานจากโครงการฯ
- ผู้บริหารระกับกลางและระดับสูงของโรงพยาบาลนำร่อง 17 แห่ง จำนวนกว่า 80 คน ได้รับการอบรมในเรื่องการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อนำไปใช้กำหนดมาตรการความปลอดภัยในโรงพยาบาลของตนเอง
- “คู่มือวิธีการประเมินการทำความสะอาดมือของบุคลากรทางการแพทย์” เสร็จสมบูรณ์และได้แจกจ่ายให้กับโรงพยาบาล 18 แห่งทั่วประเทศ
- เปิดให้บุคลาการทางการแพทย์ทั่วประเทศดาวน์โหลดแอปพลิเคชันการตรวจสอบการล้างมือ ซึ่งใช้ได้ทั้งบนโทรศัพท์เคลื่อนที่และบนคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบและติดตามผลการคำความสะอาดมืออย่างถูกวิธี
ประเทศ
- กระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ)
- บี. บราวน์
ประเทศ
ประเทศไทย
หน่วยงานร่วมดำเนินงาน
- สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาลัยมหิดล
- สมาคมพยาบาลโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย
- ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
2560 – 2564
มร.เกอมันน์ มูลเลอร์
Email: German.Mueller(at)giz.de