Thai-German CooperationThai-German CooperationThai-German CooperationThai-German Cooperation
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • เปิดตัวเว็บไซต์กองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย
เปิดตัวเว็บไซต์กองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทยwebadminFebruary 1, 2019March 29, 2019
ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
  • 20 พฤษภาคม 2562
    ไทยร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการเงิน เพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับเยอรมนี


โครงการ
  • การเกษตรและอาหาร
  • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • พลังงาน
  • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
  • การสาธารณสุข
  • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
  • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
จดหมายข่าว
เปิดตัวเว็บไซต์กองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย
  • 01 กุมภาพันธ์ 2562
  • แชร์บน
กลับสู่หน้าโครงการ
Green Climate Fund Thailand website launched

เว็บไซต์กองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย หรือ Green Climate Fund Thailand นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนภูมิอากาศสีเขียว ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นหน่วยประสานงานหลักของประเทศของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF) ข้อมูลวิธีการเข้าถึงกองทุนรวมถึงกระบวนการในการอนุมัติเงินทุน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อโครงการและแผนงานทั้งในภาครัฐและเอกชนที่ต้องการรับการสนับสนุน ได้ศึกษาและดำเนินการเพื่อขอรับเงินทุน

นอกจากนี้ เว็บไซต์ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสำคัญและความต้องการที่กำหนดไว้ในกรอบการดำเนินงานของประเทศไทยด้านต่างๆ ในการให้การสนับสนุน มาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการตรวจสอบข้อเสนอ ข้อมูล โครงการและแผนงานของกองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย ตลอดจนข้อมูลโครงการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว แนวคิดโครงการ ข้อเสนอโครงการ ข่าวและกิจกรรมล่าสุด

นอกเหนือจากการให้ข้อมูลดังกล่าวแล้ว ยังมีแบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ คู่มือกองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย กรอบของประเทศ และเกณฑ์การพิจารณาให้ดาวน์โหลดทั้งภาษาไทยและอังกฤษซึ่งสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ http://gcf.onep.go.th

เว็บไซต์กองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย ถูกพัฒนาขึ้นโดย สผ. และโครงการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว

กองทุนภูมิอากาศสีเขียวเป็นกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจัดสรรเงินทุนในสัดส่วนที่เท่ากันเพื่อใช้ในการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบ โดยร้อยละ 50 ของเงินด้านการปรับตัวจะจัดสรรให้กับประเทศที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษ

โครงการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานของกองทุนภูมิอากาศสีเขียวในประเทศไทย

ดำเนินงานมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยประสานงานหลักแห่งชาติเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานผลงานหลักของโครงการ ได้แก่ การพัฒนากรอบของประเทศ เกณฑ์การพิจารณา คู่มือกองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย และเว็บไซต์กองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย

Contact information

นที ทองจันทร์
Email:natee.thongchan(at)giz.de

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย
193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่
คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย
อีเมล: giz-thailand [at] giz.de โทรศัพท์ : +66 2 661 9273 ต่อ 153
กดที่นี่เพื่อ สมัครรับข้อมูลข่าวสาร หรือ ยกเลิกการรับข้อมูลข่าวสาร ของเรา
ติดตามเรา
© 2566 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ประจำประเทศไทย
This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.