GIZ ประจำประเทศไทย เยี่ยมชม Chula Zero Waste ในฐานะตัวอย่างของแนวปฏิบัติที่ดีด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

ภาพหมู่ทีม Chula Zero Waste และ GIZ หน้าจุดคัดแยกขยะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ทีมงานด้านอุตสาหกรรมสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนของ GIZ เยี่ยมชมโครงการ Chula Zero Waste ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นตัวอย่างแนวปฏิบัติล้ำหน้าด้านความยั่งยืนของประเทศไทย โครงการนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่ครอบคลุมทั้งความยั่งยืน และการดูแลสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่สถาบันการศึกษา โดย GIZ มุ่งหวังที่จะใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้รับจากโครงการนี้นำไปก่อให้เกิดประโยชน์เพื่อขยายผลให้ไกลกว่านอกขอบเขตของมหาวิทยาลัย
โครงการของ GIZ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2542 ด้วยโครงการการจัดการขยะในจังหวัดพิษณุโลก นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับรัฐบาลไทย โครงการในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการป้องกันการรั่วไหลของขยะพลาสติกตลอดห่วงโซ่คุณค่าของบรรจุภัณฑ์มากขึ้น การดำเนินการเหล่านี้ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติ เช่น โมเดลเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy) และแผนปฏิบัติการจัดการขยะพลาสติก ผ่านการสนับสนุนพันธมิตรทางการเมืองอย่างกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่ยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์และนโยบายระดับโลก เช่น ข้อตกลงสีเขียวของยุโรป (European Green Deal) และสนธิสัญญาว่าด้วยพลาสติกโลก (Global Plastics Treaty) อีกด้วย

ผู้บริหารฝ่าย Sector and Global Programmes (GloBe) พร้อมด้วยทีม GIZ ประเทศไทย ได้เดินทางไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยรถชััตเติลบัสไฟฟ้าของจุฬาฯ
ดร. เอลเก้ ซีล ผู้อำนวยการทั่วไปโครงการภาคส่วนและโครงการระดับโลก และคุณเอลเก้ ฮุตต์เนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน จาก GIZ สำนักงานใหญ่ ประเทศเยอรมนี พร้อมด้วยทีมงาน GIZ ประจำประเทศไทยได้เดินทางไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อสังเกตการณ์แนวปฏิบัติที่ดีนี้โดยตรง คณะเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ อย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถชัตเติลบัสไฟฟ้าของจุฬาฯ เพื่อสัมผัสการเดินทางแบบคนท้องถิ่นพร้อมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านการเดินทางคาร์บอนต่ำ ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะเป็นแบบอย่างมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพื่อสังคม โดยยึดถือสามหลักการสำคัญในการพัฒนาสังคม ได้แก่ การเตรียมผู้นำแห่งอนาคต การส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างแรงกระเพื่อม และการส่งเสริมความยั่งยืนทางสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน 50 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกโดย Times Higher Education (THE) Impact Rankings 2024 ซึ่งเป็นการประเมินมหาวิทยาลัยจากการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และแรงกระเพื่อมต่อสังคม
นอกเหนือจากการได้จัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 50 มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกด้านความยั่งยืนแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้รับการยกย่องเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศไทยในด้านอุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน โครงการ Chula Zero Waste ซึ่งดำเนินมาถึงปีที่เจ็ดในปีนี้ มุ่งหวังที่จะปลูกฝังแนวคิดและการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนให้แก่นักเรียนเพื่อเตรียมพวกเขาให้เป็นผู้นำในอนาคต คุณกอปร ลิ้มสุวรรณ ผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste และหัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม เล่าถึงภาพรวมความท้าทายด้านการจัดการขยะในประเทศไทย จากนั้นได้อธิบายกลยุทธ์การจัดการขยะที่ครอบคลุมของมหาวิทยาลัย ซึ่งเริ่มตั้งแต่มาตรการป้องกันการเกิดขยะไปจนถึงการใช้ทรัพยากรภายในชุมชนของมหาวิทยาลัยที่มีนักเรียน 37,626 คน และพนักงาน 8,138 คน

[ภาพซ้าย] คุณกอปร ลิ้มสุวรรณ อำนวยการโครงการ Chula Zero Waste และหัวหน้ากลุ่มภารกิจการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักบริหารระบบกายภาพ [ภาพขวา] สถานีคัดแยกขยะที่โรงอาหาร
คุณกอปรเน้นย้ำถึงนโยบายและแนวปฏิบัติของ Chula Zero Waste ผ่านตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม อย่างนโยบายลดขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียว (SUP) ซึ่งขยายขอบเขตออกไปมากกว่าการลดใช้ถุงพลาสติก แต่รวมถึงการห้ามใช้ภาชนะอาหารโฟมสังเคราะห์และพลาสติกแตกสลายได้ชนิดอ๊อกโซ (Oxo-Biodegradable Plastics) โครงการยังบังคับใช้นโยบายตามการร้องขอ (On-Request Policy) นั่นคือจะมีการแจกอุปกรณ์พลาสติก หลอด และฝาครอบภาชนะเฉพาะเมื่อมีการขอ พร้อมทั้งการแทนที่พลาสติกใช้ครั้งเดียว (SUP) ด้วยภาชนะทางเลือกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยได้ติดตั้งตู้กดน้ำมากกว่า 130 เครื่อง และแจกขวดน้ำที่ใช้ซ้ำได้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพ็คเกจต้อนรับนิสิตปีหนึ่ง
ในด้านการติดตามข้อมูล มีอาคารมากกว่า 104 แห่งจากทั้งหมด 216 แห่งในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office Program) โดยพนักงานทำความสะอาดประจำอาคารจะได้รับการฝึกอบรมให้แยกขยะ และชั่งน้ำหนักขยะอย่างละเอียดทุกวัน อีกทั้งต้องส่งข้อมูลนี้ให้กับทีม Chula Zero Waste ทุกเดือนเพื่อทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดและวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีความพยายามด้านการสื่อสาร ผ่านแคมเปญสีเขียวประจำเดือน เช่น “Your Cup, We Treat” ซึ่งกระตุ้นให้นิสิตและบุคลากรใช้ถ้วยที่ใช้ซ้ำได้โดยการเสนอเครื่องดื่มฟรีให้กับผู้ที่มีพกแก้วใช้ซ้ำได้ส่วนตัวมาในกิจกรรม

[ภาพซ้าย] โรงแปรรูปขยะชีวภาพที่แปลงขยะอาหารเป็นก๊าซชีวภาพและปุ๋ยน้ำภายใน 24 ชั่วโมง [ภาพขวา] ถังเก็บปุ๋ยน้ำ
หลังจากการนำเสนอ คณะเดินชมจุดสำคัญต่างๆ ในมหาวิทยาลัย โดยเริ่มจากสถานีคัดแยกขยะที่โรงอาหาร โดยมีป้ายแสดงภาพจริงของตัวอย่างขยะเพื่อให้มั่นใจว่าขยะถูกทิ้งลงถังที่ถูกต้อง นอกจากนี้ คณะยังได้สังเกตเครื่องมือกระตุ้นที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่ยั่งยืน เช่น การเสนอส่วนลดสำหรับการนำถ้วยที่ใช้ซ้ำได้มาเอง ซึ่งเป็นแนวทางที่อิงจากหลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ในลำดับถัดมาจึงไปเยี่ยมชมที่โรงแปรรูปขยะชีวภาพที่ขยะอาหารจะถูกแปลงเป็นก๊าซชีวภาพและปุ๋ยน้ำภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการจัดการขยะอินทรีย์อย่างมีประสิทธิภาพ การเดินเยี่ยมชมสิ้นสุดลงที่สถานีคัดแยกขยะ ซึ่งขยะรีไซเคิลจะถูกนำไปแปรรูปสำหรับการทำ upcycling หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในเตาเผาปูนซีเมนต์ และขยะทั่วไปจะถูกบีบอัดและถูกจัดการต่อโดยกรุงเทพมหานคร (กทม.)
การสรุปผลที่จัดขึ้นในช่วงท้ายของวันเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบและความท้าทายที่พบระหว่างการดำเนินโครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมเพิ่มเติม ได้แก่ ดร. สุจิตรา วาสนาดำรงดี และ คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาโครงการ Chula Zero Waste การสนทนาในครั้งนี้เน้นไปที่กลยุทธ์ในการขยายโครงการไปยังมหาวิทยาลัยอื่นทั่วประเทศไทย บทบาทสำคัญของการสื่อสารในการหล่อหลอมพฤติกรรมและเพิ่มความตระหนัก รวมถึงหัวข้อสำคัญอื่นๆ เช่น ระบบมัดจำคืนเงินบรรจุภัณฑ์ (DRS) และ หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR) ที่มุ่งเน้นไปยังการจัดการปัญหาขยะพลาสติกและการสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนในวงกว้าง ซึ่งเป็นขอบเขตที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะ

[ภาพซ้าย] คุณอัลวาโร่ ซูริต้า ผู้อำนวยการโครงการ (ซ้าย), คุณเอลเก้ ฮุตต์เนอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และโครงสร้างพื้นฐาน (กลาง), ดร. เอลเก้ ซีล ผู้อำนวยการทั่วไปโครงการภาคส่วนและโครงการระดับโลก (ขวา) [ภาพขวา] ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี ที่ปรึกษาโครงการ Chula Zero Waste และนักวิจัยอาวุโสสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม (ERIC) (ซ้าย), คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาโครงการ Chula Zero Waste และที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (ขวา)
การสนับสนุนทางเทคนิคและความร่วมมือข้ามภาคส่วนกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการชี้นำให้เกิดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประสบการณ์เชิงปฏิบัติ เช่น โครงการ Chula Zero Waste ที่ทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการที่มีชีวิตในการทดลองมาตรการป้องกันและจัดการขยะ ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้มีศักยภาพอย่างมากในการประยุกต์ใช้กับสังคมในวงกว้างนอกเหนือจากพื้นที่มหาวิทยาลัย ขณะที่การพัฒนานโยบายและกรอบกฎหมายก้าวหน้าไปได้ด้วยโครงการของ GIZ ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงการนี้จะมีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มช่องว่างด้านนโยบายในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และผลักดันความมุ่งมั่นของประเทศสู่ความยั่งยืนในอนาคตต่อไป
ลิงก์ไปยังโครงการ GIZ ที่กำลังดำเนินการอยู่เกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน:
โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณู และการคุ้มครองผู้บริโภค แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV):
- โครงการการลดการใช้ การออกแบบที่ยั่งยืน และการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อป้องกันขยะในทะเล (MA-RE-DESIGN): คลิก
- โครงการการทำงานร่วมกันเพื่อลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CAP SEA): คลิก
โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ):
- โครงการการยกระดับการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในภูมิภาคอาเซียน (AMUSE): คลิก
อัลบั้มภาพ
คุณอัลวาโร่ ซูริต้า (Mr. Alvaro Zurita)
อีเมล:alvaro.zurita(at)giz.de