German International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in BangkokGerman International Cooperation Based in Bangkok
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ข้อมูลองค์กร
    • บริการของเรา
    • CORPORATE SUSTAINABILITY HANDPRINT (CSH)
    • ความเท่าเทียมทางเพศ
    • ประวัติความเป็นมา
    • ร่วมงานกับเรา
    • ติดต่อเรา
  • โครงการ
    • โครงการทั้งหมด
    • การเกษตรและอาหาร
    • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    • พลังงาน
    • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
    • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    • การสาธารณสุข
    • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
    • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
  • คอร์สอบรม
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
  • จดหมายข่าว
  • TH
    • EN


  • หน้าแรก
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • เสริมศักยภาพ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนและติมอร์ตะวันออกด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบใหม่รองรับอุตสาหกรรม 4.0
เสริมศักยภาพ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนและติมอร์ตะวันออกด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบใหม่รองรับอุตสาหกรรม 4.0 webadminAugust 16, 2019September 29, 2019
ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ
  • 08 กันยายน 2561
    ภาคเอกชนเดินทางศึกษาดูงานที่เยอรมนี เตรียมสร้างยุทธศาสตร์อาชีวศึกษาในภูมิภาคอาเซียน
  • 22 มิถุนายน 2561
    ความร่วมมือของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในการพัฒนาการอาชีวศึกษา สู่ความเป็นเลิศในอาเซียน

1 2 3

โครงการ
  • การเกษตรและอาหาร
  • นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • พลังงาน
  • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
  • การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
  • การสาธารณสุข
  • การพัฒนาเมืองและการคมนาคมขนส่ง
  • โครงการที่สิ้นสุดแล้ว
จดหมายข่าว
เสริมศักยภาพ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนและติมอร์ตะวันออกด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบใหม่รองรับอุตสาหกรรม 4.0
  • 16 สิงหาคม 2562
  • แชร์บน
กลับสู่หน้าโครงการ
9 ASEAN countries and Timor Leste notch up innovative teaching and learning methods for Industry 4.0

ตัวแทนครูต้นแบบ 23 ท่านจากสถาบันการอาชีวศึกษาจาก 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน และติมอร์ ตะวันออก พร้อมเดินหน้าสร้างโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาครูฝึกแรงงานที่มีทักษะสู่อุตสาหกรรม 4.0 และเทคโนโลยีดิจิทัล

การอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมนับเป็นเครื่องมือที่ช่วยปิดช่องว่างและลดอัตราการว่างงานของเยาวชน ครูอาชีวศึกษาต้นแบบจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มจำนวนแรงงานที่มีทักษะที่เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีการผลิตและเครื่องจักรอัตโนมัติ

การอบรมครูต้นแบบระดับภูมิภาคครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “Innovative Teaching and Learning for Industrial Changes due to Industry 4.0” ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา โดยเนื้อหาการอบรมเน้นไปที่ส่วนประกอบสำคัญของอุตสาหกรรม 4.0 และหลักการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ เช่น การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน การเรียนการสอนแบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยกระบวนการการเรียนรู้แบบใหม่นี้จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถหาความรู้ คิดและปฏิบัติด้วยตนเองโดยมีครูและสื่อการสอนต่างๆ เป็นเพียงผู้ให้แนวทางเท่านั้น ทั้งนี้เมื่อการอบรมฯ สิ้นสุดลง ครูต้นแบบจะสามารถนำทักษะความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับระบบการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาในประเทศของตนต่อไป

การอบรมครั้งนี้จัดขึ้นเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะได้รับความรู้ภายในห้องเรียนแล้ว ยังมีโอกาสเข้าเยี่ยมชมบริษัทกมลแมชชีนแฟคทอรี จำกัด และบริษัทเดนโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมและสมรรถนะที่จำเป็นต่อตลาดแรงงานในอนาคต และได้เพิ่มทักษะความรู้เชิงวิชาการที่สถาบันไทย – เยอรมัน จังหวัดชลบุรีในเรื่องการนำโรงงานอัจฉริยะและกระบวนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในบริษัทและสถานฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้

พิธีปิดการอบรมที่จัดขึ้นในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ได้รับเกียรติจากนายประเสริฐ ทีปะนาถ รองผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการซีมีโอ (ฝ่ายบริหารและสื่อสาร) และดร. อธิปไตย โพแตง ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลและนักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษระดับอาวุโส สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา พร้อมทั้งผู้ฝึกอบรม 2 ท่านได้แก่ ดร. Paryono รองผู้อำนวยการด้าน Professional Affairs และผู้จัดการและผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการอาชีวศึกษาของซีมีโอ และศาสตราจารย์ ดร. Georg Spoettl ผู้เชี่ยวชาญจากเยอรมัน เป็นประธานในพิธี

นายเพิ่มศักดิ์ สุขศิริ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายกระบวนการกระบวนการอัตโนมัติ เครื่องจักรอัตโนมัติ และศูนย์หุ่นยนต์อุตสาหกรรม จากสถาบันไทย – เยอรมัน กล่าวว่า “การเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ทำให้ผมได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ พวกเราได้เรียนรู้จากภาคอุตสาหกรรมและสามารถนำมาปรับใช้ในการออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมและการออกแบบวิธีการถ่ายทอดความรู้เพื่อนำไปพัฒนาครูอาชีวศึกษาในประเทศไทย และในโครงการที่ผมทำร่วมกับทางรัฐบาล ในฐานะครูต้นแบบ ได้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม 4.0 ในทุกระดับให้แก่ครูอาชีวศึกษาให้มีความเข้าใจในหัวข้อนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นการผลิตบุคลากรและช่างผู้เชี่ยวชาญที่ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งช่วยพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในภาครวมอีกด้วย”

นาย Michael Edinone Gayona ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจากสถาบัน TESDA ประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า “หลังจากการอรบมครูต้นแบบระดับภูมิภาคนี้ จะมีการนำแผนงานครูต้นแบบที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบใหม่ การประกันคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพอาชีวศึกษาฯ ไปอบรมให้กับบุคลากรอาชีวศึกษาในสถาบัน โดยแผนงานนี้ จะช่วยเพิ่มพูนสมรรถะนะของครูอาชีวศึกษาฯ และผู้จัดการสถานศึกษาให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม”

หลังจากการอบรมครูต้นแบบระดับภูมิภาค ครั้งที่ 1 ผู้เข้าอบรมได้เข้าร่วมการอบรมครั้งที่ 2 ด้านการพัฒนาทางอาชีพสำหรับครูอาชีวศึกษาฯ ในวันที่ 19 – 27 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่สถาบันเยอรมัน – มาเลเซีย ที่ประเทศมาเลเซีย

นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรมครูต้นแบบที่จะจัดขึ้นอีก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรม 4.0 ด้านการประกันคุณภาพในสถาบันอาชีวศึกษาในเดือนตุลาคม และด้านความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน

ในประเทศไทย สํานักงานพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาเป็นผู้สนับสนุนการจัดการฝึกอบรมครูต้นแบบระดับประเทศให้แก่ครูอาชีวศึกษาจำนวน 60 ท่าน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มครูอาชีวศึกษาทั่วไป ระหว่างวันที่ 12 – 14 กันยายน พ.ศ. 2562 โดยเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบสำคัญของอุตสาหกรรม 4.0 และกลุ่มครูผู้เชี่ยวชาญ ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน พ.ศ. 2562 ซึ่งเน้นเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้นในเรื่องของอุตสาหกรรม 4.0 และโรงงานอัจฉริยะ

อุตสาหกรรม 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คือ รูปแบบการจัดการอุตสาหกรรมที่กำลังนิยมในปัจจุบัน โดยเป็นการนำสารสนเทศมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วยระบบไซเบอร์-กายภาพ cyber-physical systems คือระบบทางวิศวกรรมที่บูรณาการโลกกายภาพ อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (internet of things) หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่มากๆ รองรับการใช้งาน การประมวลผล ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมหาศาล (cloud computing) โดยอุตสาหกรรม 4.0 เป็นรูปแบบของการทำงานอย่างชาญฉลาด โดยมีการนำข้อมูลที่หลากหลายมาผสมผสานเพื่อให้เกิดการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา ทั้งในรูปแบบการจัดการด้วยมนุษย์ และการจัดการด้วยระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าชื่อเรียก “อุตสาหกรรม 4.0” มีที่มีจากโครงการ Industry 4.0 ของรัฐบาลประเทศเยอรมนีในกลยุทธ์การวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมที่นำระบบดิจิทัลเข้ามาเป็นแกนหลัก
แหล่งที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
GALLERY
Contact information

ศิริพร ภาวิขัมภ์
ผู้จัดการโครงการ
Email:siriporn.parvikam(at)giz.de

Links
  • ร่วมงานกับเรา
  • โครงการ
  • ข่าวสาร/กิจกรรม
  • แหล่งข้อมูล
ติดตามเรา
Data Protection
  • Data Protection
  • Imprint And Registration Information
  • Disclaimer
ติดต่อเรา

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพล็กซ์ (ชั้น 16)
ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

อีเมล: giz-thailand [at] giz.de
โทรศัพท์ : +66 2 661 9273    โทรสาร : +66 2 661 9281

ตู้ไปรษณีย์

ตู้ปณ. 11-1485 นานา กรุงเทพฯ 10112 ประเทศไทย

สมัครจดหมายข่าว

© 2561 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

This website uses cookie in order to offer you the most relevant information. Please accept for optimal performance. Find out more.