ปริมาณอาหารที่ผลิตได้มากขึ้นไม่ได้ทำให้ประเทศหรือชุมชน นั้นๆ ถูกเรียกว่ามีความมั่นคงทางอาหาร คำพูดประโยคนี้ถูกกล่าวย้ำหลายครั้งในการอบรมระดับภูมิภาคด้านความมั่นคง ทางอาหาร ที่จัดขึ้นโดยโครงการระบบอาหาร-เกษตรแบบยั่งยืน
แห่งอาเซียน ระหว่างวันที่ 23-26 มีนาคม 2558 ที่กรุงเทพฯ
ความมั่นคงทางอาหาร คือ…“มีอาหารเพียงพอ” “อาหารปลอดภัยต่อการบริโภค” “มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” “อาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการ” “ใครๆ ก็เข้าถึงอาหารได้” “ไม่มีผู้หิวโหย” และ “มีอาหาร
อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน”
ผู้เข้าอบรมจำนวน 12 ท่าน ทั้งเจ้าหน้าที่ระดัอาวุโส จากภาครัฐและประชาสังคม จากประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องความเข้าใจและแนวคิดของคำว่า “ความ
มั่นคงทางอาหาร” ซึ่งถือเป็นการเริ่มถกประเด็นในคำจำกัดความ “ความมั่นคงทางอาหาร” เพื่อสร้างความตระหนักถึงสถานการณ์และความท้าทายในการทำงานด้านความมั่นคงทางอาหาร
ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตอาหารแบบยั่งยืนในประเทศสมาชิกอาเซียน
นายสุริยัน วิจิตรเลขการ ที่ปรึกษาอาวุโส ของโครงการระบบอาหาร-เกษตรแบบยั่งยืนแห่งอาเซียนกล่าวว่าความมั่นคงทางอาหารไม่ใช่เพียงแค่การมีอาหารเท่านั้นแต่หมายรวมถึงความ
สามารถในการเข้าถึงอาหารนั้นได้ และการใช้ และการได้ประโยชน์จากการใช้
ในการอบรมได้มีการอธิบายถึงคำว่าการมีอาหารนั้นหมายความถึงมีอาหารที่ปลอดภัยและเพียงพอ ส่วนคำว่าการเข้าถึงอาหารหมายถึงการที่ครัวเรือนและสมาชิกในครัวเรือนมีโอกาสที่จะเข้าถึงอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะสม คำว่าการใช้ หมายถึงคนมีความรู้ที่จะเลือกว่าจะรับประทานอาหารอะไร ในอาหารนั้นควรมีอะไรบ้าง และต้องเตรียมอาหารอย่างไร ส่วนคำว่าการได้ประโยชน์จากการใช้ คือการที่ร่างกายของแต่ละคนนำอาหารที่ทานเข้าไปนั้นไปใช้อย่างไร ดังนั้นการที่ประเทศหรือชุมชน
นั้นจะกล่าวได้ว่าตนมีความั่นคงทางอาหารต้องประกอบด้วยสามองค์ประกอบนี้
คุณ ซรี ซูรีฮันที ผู้อำนวยการศูนย์ Center for Consumption Diversification and Food Safety จากประเทศอินโดนีเซียกล่าวว่าในประเทศอินโดนีเซียนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าไม่ได้มีปัญหา
ด้านปริมาณอาหารที่ผลิตไม่เพียงพอ แต่ปัญหาอยู่ที่การเข้าถึงและการใช้ และการได้ประโยชน์จากการใช้นั้น
ผู้เข้าร่วมอบรมอีกท่านจากประเทศอินโดนีเซีย คุณ วา โอเด อาซามาวาตี กล่าวว่า เธอมีความกังวลอย่างมากถึงสถานการณ์การใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงในการผลิตอาหาร-การเกษตรในประเทศของเธอ
คุณอาซามาวาตีกล่าวว่า เธอกลัวที่ต้องบริโภคอาหาร แต่เธอก็ไม่มีทางเลือกมากนัก จึงต้องระวังเป็นอย่างมากในการบริโภคและในฐานะที่ทำงานในองค์กรไม่หวังผลกำไร เธอได้แนะนำสมาชิกชุมชนที่เป็นผู้หญิงด้านการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อใช้
บริโภคในครัวเรือน พร้อมทั้งทำงานรณรงค์ด้านการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารในเด็กนักเรียนกับโรงเรียนที่อยู่ในชุมชน
ความต่อเนื่องของการมีอาหารเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญพิเศษที่ต้องคำนึงถึงเมื่อกล่าวถึงความมั่นคงทางอาหารเนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่คลุมอีกสามองค์ประกอบที่กล่าวมาก่อนหน้านี้อีกที คือ การมีอาหาร การเข้าถึงอาหารและการใช้และการได้ประโยชน์จากการใช้
คุณจอร์จ โบเคโละ จากประเทศเยอรมันนีซึ่งเป็นผู้อบรมหลักในการอบรมนี้กล่าวว่า การที่มีอาหารหรือการเข้าถึงอาหารเพียงในบางช่วงระยะเวลาไม่ถือว่ามีความมั่นคงทางอาหาร ดังนั้นจึงเป็น
ที่มาของคำว่า ‘สามบวกหนึ่งคือความมั่นคงทางอาหาร’
คุณเช้ทโท ปร๊าก รองอธิบดี ของ General Directorate of Agriculture, Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries จากประเทศกัมพูชา กล่าวว่าก่อนที่จะเข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้
มีความเข้าใจว่าความมั่นคงทางอาหารคือการผลิตอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ แต่ตอนนี้สามารถพูดด้วยความมั่นใจถึงข้อมูลความรู้ด้านความมั่นคงทางอาหาร เช่นว่า ความมั่นคงทางอาหารคือการมีอาหารบริโภคที่มีความเหมาะสมทางโภชนาการที่หลากหลาย ปลอดภัย และยั่งยืน และอย่างเช่นเด็กนักเรียนควรมีความรู้ว่าจะเลือกอาหารประเภทไหน อย่างไรในการบริโภค รวมทั้งรู้จักวิธีปรุง และรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง เหมาะสม
โครงการระบบอาหาร-เกษตรแบบยั่งยืนแห่งอาเซียน (ASEAN Sustainable Agrifood Systems) ที่ดำเนินการโดยองค์กร
ความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และมีกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลัก มีวัตถุประสงค์
ในการสนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินงานตามกรอบนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียนในระดับประเทศ โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่ 4 เรื่องการส่งเสริมการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน กรอบนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (AIFS Framework) และแผนกลยุทธ์ความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (SPA-FS) ที่จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการแนวคิดเชิงบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในปี พ.ศ. 2552 และผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาจุดยืนร่วมกันเพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 25 ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์