สวัสดีค่ะ
 

จดหมายข่าวฉบับนี้เป็นฉบับแรกของปี พ.ศ. 2562 เรามีข่าวสารกิจกรรมที่น่าสนใจจากด้านต่างๆ เช่นเคย ทั้งด้านการเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม และอื่นๆ

นอกจากนี้ แผนกบริการฝึกอบรม AIZ ของเรายังมีหลักสูตรใหม่ๆ ที่น่าสนใจ สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่ http://training.thai-german-cooperation.info/index.php/training

หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.thai-german-cooperation.info และเฟชบุค www.facebook.com/gizthailand

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว

ข่าวเด่น

จากอาหารเหลือทิ้ง สู่เมนูเลิศรส

แผนงานไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อ่านเพิ่มเติม

การเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร

วงเสวนาชี้ ‘เกษตรกร’ คือ ‘แรงขับเคลื่อนสำคัญ’ ช่วยลดโลกร้อน

  • โครงการภาคเกษตรกรรม ภายใต้แผนงานไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระตุ้นเกษตรกรไทยเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาปลูกข้าวที่ช่วยลดโลกร้อน
  • ‘การปรับระดับดินนาด้วยแสงเลเซอร์’ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดจำนวนเวลาและน้ำที่ใช้ทำนา
  • ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลก เริ่มหันมาใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของอาหารและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เกษตรกรจาก ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ยิ้มสดใส หลังต้นทุนปลูกข้าวลดลง

  • เกษตรกรที่เข้าร่วมฝึกอบรมในโครงการข้าวยั่งยืน ได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติใหม่ๆ เพื่อช่วยผลิตข้าวให้ดีขึ้น
  • เกษตกรจากบ้านตาหยวก จังหวัดร้อยเอ็ด สามารถลดต้นทุนในการปลูกข้าวและช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ด้วยการควบคุมวัชพืช ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย และความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  • เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าเดินทางโดยการขายข้าวเปลือกผ่านจุดรับซื้อของโรงสีที่เข้าร่วมโครงการ
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เปิดตัวเว็บไซต์กองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย

  • เว็บไซต์กองทุนภูมิอากาศสีเขียวของประเทศไทย จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับกองทุนภูมิอากาศสีเขียวและขั้นตอนการขอรับเงินสนับสนุน
  • คู่มือและเอกสารที่สำคัญสามารถดาวน์โหลดได้จาก http://gcf.onep.go.th
  • เว็บไซต์นี้พัฒนาโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและโครงการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว
อ่านเพิ่มเติม
โครงการสนับสนุนการเตรียมพร้อมในการดำเนินงานของกองทุน Green Climate Fund ระยะที่สอง – การขยายความพร้อมในการดำเนินงานด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
ความสำเร็จของ COP24: ประเทศภาคีสมาชิกรับรอง Paris Agreement Rulebook

  • Paris Agreement rulebook คือกฎเกณฑ์ รูปแบบ และแนวทางในการดำเนินงานตามความตกลงปารีส
  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังอยู่ระหว่างการแปลงข้อตกลงของ COP 24 ให้เป็นไปตามกรอบการดำเนินงานของประเทศไทย
  • ประเทศพัฒนาแล้วประกาศเพิ่มการสนับสนุนเงินทุนที่ใช้ในการขับเคลื่อนกระบวนการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • หน่วยงาน สมาคมด้านการท่องเที่ยว และสถาบันวิจัยในประเทศไทย เข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการท่องเที่ยว
  • หน่วยงานที่เข้าอบรมได้ระบุปัจจัยทางภูมิอากาศที่สำคัญของประเทศไทย วิธีการแบ่งกลุ่มของระบบการท่องเที่ยว ลำดับความสำคัญ และความเสี่ยงหลักของการท่องเที่ยว
  • ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยได้รับความนิยมเป็นอันดับ 10 ของโลก และมีรายได้จากกิจกรรมการท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับ 4
อ่านเพิ่มเติม
โครงการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง

การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานทดแทน

สหภาพยุโรปยกระดับการพัฒนาการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

  • โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง บรรลุเป้าในการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กว่า 500 ราย
  • โครงการฯ สนับสนุน SMEs ให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงและเกิดการขับขี่ที่ปลอดภัย มีระบบการขนส่งสินค้าอันตรายที่ปลอดภัย และมีการพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับการเข้าถึงบริการทางการเงิน
อ่านเพิ่มเติม
โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

การพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงาน

ผู้เชี่ยวชาญไทยร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารโครงการความร่วมมืออย่างมุ่งผลสัมฤทธิ์ และสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  • หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานพัฒนาในทุกสาขา แต่ต้องปรับตามบริบทของงาน
  • การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้กับการบริหารโครงการ ต้องยึดหลัก “หาสาเหตุที่แท้จริง อย่ายึดติดรูปแบบและทฤษฎี และให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วม”
  • การนำหลักการและเครื่องมือของการบริหารโครงการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มาใช้ จะช่วยให้วางแผนโครงการได้เป็นระบบ แก้ปัญหาได้ทัน และดำเนินงานได้ผลสำเร็จ
อ่านเพิ่มเติม
โครงการความร่วมมือไตรภาคีไทย – เยอรมัน
อาเซียนตระหนักความสำคัญของครูฝึกในสถานประกอบการ เพื่อส่งต่อการฝึกอบรมอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพ

  • ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ครูฝึกจำนวนกว่า 150 รายที่ได้รับการฝึกอบรม สามารถฝึกอบรมครูฝึกในสถานประกอบการได้มากกว่า 1,000 รายใน 8 ประเทศ
  • การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซียน ครั้งที่ 12 และคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงานอาเซียน ให้การรับรองมาตรฐานอาเซียนสำหรับครูฝึกในสถานประกอบการ
  • ตัวแทนภาครัฐและเอกชนทบทวนความคืบหน้าและความสำเร็จในปีที่ผ่านมา พร้อมร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติสำหรับปีพ.ศ. 2562
อ่านเพิ่มเติม
โครงการความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมคุณภาพของการอาชีวศึกษา ที่มุ่งเน้นความต้องการของตลาดแรงงาน (RECOTVET)

การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม

โครงการการขนส่งอย่างยั่งยืนในประเทศไทยและอาเซียน เผยแพร่ผลการปรับปรุงอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจากมาตรการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามอัตราการปล่อยมลพิษ

  • ภาคการขนส่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คิดเป็นร้อยละ 19.2 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศ
  • มาตรการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยปรับปรุงอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ยของรถยนต์ใหม่จาก 7.08 ลิตรต่อ 100 กม.ในปีพ.ศ. 2558 เป็น 6.75 ลิตรต่อ 100 กม.ในปีพ.ศ. 2560
  • หากปรับนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีก 4.75 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปีพ.ศ.2573
อ่านเพิ่มเติม
โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการบรรเทาผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการขนส่งทางบกของภูมิภาคอาเซียน
สถาบันการศึกษาไทยและฟิลิปปินส์จัดโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ภายใต้แนวคิดการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมือง

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ Bicol State College of Applied Sciences and Technology (BISCAST) จัดโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา
  • โครงการนี้ เปิดโอกาสให้ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบบ้านในบริบทของประเทศไทยและฟิลิปปินส์
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
สถาบันการศึกษาอินเดียนำวิธีบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมือง มาใช้ในการทำงานระหว่างสถาบัน

  • สถาบันการศึกษาเป็นแหล่งเริ่มต้นในการนำแนวทางบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองมาปรับใช้
  • แนวทางบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ ไม่เพียงแต่เชื่อมต่อกับแต่ละภาคส่วน แต่ต้องเชื่อมโยงกับสถาบันด้วย
  • แนวทางบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ ต้องการการบูรณาการทั้งระดับรัฐบาลและภาคส่วน
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
อินเดีย อินโดนีเซีย มองโกเลีย และเวียดนามเรียนรู้การใช้แนวทางบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในวาระแห่งโลก

  • ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย มองโกเลีย และเวียดนาม รายงานผลการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับชาติโดยสมัครใจ และเตรียมการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ผ่านการนำเสนอแบบ "Market Place"
  • ตัวแทนจากหน่วยงานระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ใช้กรอบเหตุผลสัมพันธ์ในการค้นหาวิธีแก้ปัญหาการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันและการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืน
  • ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้การใช้แนวทางบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมือง ในการดำเนินงานและการรายงานวาระแห่งโลก ค.ศ. 2030
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย

ธรรมาภิบาล

ต่อยอดความร่วมมือไตรภาคีในเวทีการพัฒนาทางเลือก

  • การพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน ต้องใช้หลักการคนเป็นศูนย์กลางและอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
  • ประเทศโคลอมเบียและไทย ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาทางเลือก
  • ผลลัพธ์ของการแลกเปลี่ยนไตรภาคีระหว่างประเทศเยอรมนี ไทย และโคลอมเบีย ถูกนำเสนอต่อผู้กำหนดนโยบายและผู้ดำเนินโครงการพัฒนาทางเลือก
อ่านเพิ่มเติม
โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศด้านนโยบายยาเสพติดและการพัฒนา
คอร์สอบรม

29 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2562

Monitoring Results and Evaluation: Advance Training (RBME)

6 - 10 พฤษภาคม 2562

Results-based Management Workshop: How to design and implement project effectively

27 - 31 พฤษภาคม 2562

Effective Communication and PR for Development Cooperation: How to utilize media and increase project visibility and outreach: English

เกมส์