สวัสดีค่ะ
 

ในจดหมายข่าวไตรมาสที่สามของปีนี้ มีข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจจากทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  การเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร การจัดการของเสีย การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม และอื่นๆ

นอกจากนี้ แผนกบริการฝึกอบรม AIZ ของเรา ยังมีหลักสูตรใหม่ๆ ที่น่าสนใจ สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่ http://training.thai-german-cooperation.info/index.php/training

หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.thai-german-cooperation.info และเฟชบุค www.facebook.com/gizthailand

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว

ข่าวเด่น

ไทย-เยอรมัน จับมือเปิดตัวข้าวยั่งยืน

มุ่งเป้าให้เกษตรกรไทยยกระดับคุณภาพข้าวให้ได้มาตรฐาน และสามารถแข่งกับต่างประเทศ

โครงการตลาดนำการผลิต เพื่อเกษตรกรรายย่อย

อ่านเพิ่มเติม

การเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร

สหราชอาณาจักร สเปน เยอรมนี และไทย ผนึกกำลังพัฒนาระบบการผลิตข้าวอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทยในจังหวัดร้อยเอ็ด

  • บริษัท Mars Food บริษัท เอลล์บา บางกอก จำกัด กรมการข้าวและ GIZ ร่วมเปิดตัว “โครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืน”
  • โครงการฯ มุ่งเป้าที่จะส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวจำนวน 1,200 ราย ในการผลิตข้าวหอมมะลิยั่งยืนจำนวน 3,500 ตันในจังหวัดร้อยเอ็ด
  • โครงการฯ จะช่วยพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิให้สอดคล้องกับมาตรฐานการผลิตข้าวยั่งยืน เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อ่านเพิ่มเติม
โครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สผ. ร่วมกับ GIZ ขับเคลื่อนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่การดำเนินการในพื้นที่เพิ่มอีก 60 จังหวัด

  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับ GIZ เปิดตัวโครงการการดำเนินงานด้านนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • โครงการฯ มุ่งเน้นสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่การดำเนินการในพื้นที่ครอบคลุม 60 จังหวัดทั่วประเทศ
  • โครงการฯ จะมุ่งดำเนินงานผ่าน 4 แนวทางหลัก คือ การพัฒนาศักยภาพหน่วยงานและบุคลากร การบูรณาการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การติดตามและประเมินผล และการสนับสนุนกลไกการขับเคลื่อนด้านงบประมาณ
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน
การบูรณาการนโยบาย: หัวใจหลักในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย

  • รัฐบาลไทยกำหนดให้มีนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศ และสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานทั่วประเทศ
  • แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 ได้รับมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และถือเป็นกรอบนโยบายสำหรับการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศของประเทศ
  • โครงการการดำเนินงานด้านนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน สนับสนุน สผ. ในการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรของภาครัฐ
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน
ผู้บริหารส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข เสริมสร้างความรู้ความสามารถด้านผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ

  • ผู้บริหารส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมประชุมเชิงวิชาการด้านความเสี่ยงสุขภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเตรียมพร้อมพัฒนานโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการและกิจกรรม
  • กุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพ คือการบูรณาการและการร่วมมือกันของภาคส่วนต่างๆ
  • มีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเกือบทุกที่ในประเทศไทย จาก 34-36 องศาเซลเซียส เป็น 38-40 องศาเซลเซียส
อ่านเพิ่มเติม
โครงการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง
ขยะที่เรารับมือ

  • การจัดการขยะและน้ำเสียที่ไม่ถูกวิธี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดมาตรการส่งเสริมแนวทางการจัดการของเสียแบบผสมผสานเพื่อจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน นำไปสู่การพัฒนาแผนลดก๊าซเรือนกระจกในภาคของเสีย
  • “การจัดการของเสียแบบผสมผสาน” เป็นวิธีการที่มีแนวทางหลากหลายในการจัดการปัญหาของเสีย
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน

การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานทดแทน

นครพนมเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  • จังหวัดนครพนมกำลังขับเคลื่อนการวางแผนด้านพลังงานระดับจังหวัด รวมถึงผลักดันความร่วมมือแผนระดับ “กลุ่มจังหวัดสนุก”
  • ภายหลังจากเหตุการณ์เขื่อนแตกในประเทศลาว ส่งผลให้เจ้าหน้าที่พลังงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือหารือด้านความมั่นคงด้านพลังงานในที่ประชุม
  • เจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสเยี่ยมชมโซล่าฟาร์ม โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่กำลังจ่ายไฟฟ้าภายในจังหวัด
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน

การพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงาน

ความร่วมมือของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในการพัฒนาการอาชีวศึกษา สู่ความเป็นเลิศในอาเซียน

  • สำนักเลขาธิการอาเซียนร่วมกับโครงการความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมคุณภาพของการอาชีวศึกษา ที่มุ่งเน้นความต้องการของตลาดแรงงาน จัดการประชุมหารือระดับภูมิภาคครั้งที่ 7
  • การประชุมเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้งานวิจัยและตัวอย่างในแง่ปฏิบัติจากภูมิภาคอาเซียน ที่จะช่วยพัฒนาความร่วมมือของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในระบบการอาชีวศึกษา
  • ข้อค้นพบที่ได้จากการประชุม เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งคณะทำงานระดับภูมิภาคเพื่อกำหนด "วาระอาเซียนสำหรับการพัฒนาระบบการศึกษาด้านการอาชีวศึกษาในอนาคต”
อ่านเพิ่มเติม
โครงการความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อส่งเสริมคุณภาพของการอาชีวศึกษา ที่มุ่งเน้นความต้องการของตลาดแรงงาน (RECOTVET)

สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

อียู-ลาวกระตุ้นความร่วมมือในภาคขนส่งสินค้า

  • โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเข้ามา
    สนับสนุนและปรับปรุงธุรกิจการขนส่งสินค้าใน สปป.ลาว
  • กระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง สปป.ลาว จะร่วมมือกับโครงการฯ ในการปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยทางถนน การลงทะเบียนยานพาหนะและการออกกฎระเบียบด้านยานพาหนะอย่างเคร่งครัด
  • การฝึกอบรมเรื่องการขับขี่ปลอดภัยและประหยัดพลังงาน จะถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มพูนความรู้สามารถของผู้ฝึกสอนและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการขับขี่ของสปป.ลาว
อ่านเพิ่มเติม
โครงการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม

หลักการการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองถูกนำเสนอในการประชุม ICLEI World Congress 2018 ณ เมืองมอนทรีออล แคนาดา

  • เมืองทั่วโลกมีความมุ่งมั่นที่จะปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเท่ากับศูนย์ให้ได้ภายในปีพ.ศ.  2593 ซึ่งความมุ่งมั่นนี้เปรียบเสมือนตัวเร่งให้เมืองรีบพัฒนาการคมนาคมขนส่งและอาคาร
  • การใช้แนวทางการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองสามารถนำมาปรับใช้กับระเบียบวาระการประชุมเมืองใหม่ ข้อตกลงปารีสปี พ.ศ. 2558 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • ความท้าทายต่างๆ ที่เมืองต้องเผชิญในการจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการ คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล รวมทั้งการขาดเวทีเพื่อการอภิปรายหว่างระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
สำนักงานพัฒนาแห่งชาติมองโกเลียเสริมสร้างความเข้มแข็งในภาคการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมือง

  • สำนักงานพัฒนาแห่งชาติมองโกเลียลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อร่วมกันดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • ความร่วมมือนี้ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์จากที่ดิน พลังงาน น้ำ สุขาภิบาล และการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศในอูลานบาตอร์
  • ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป จะมีการจัดตั้งคณะทำงาน 8 กลุ่มขึ้นเพื่อทำงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
กระทรวง หน่วยงาน และสถาบันฝึกอบรมของอินเดียรับการอบรมการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองและการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร

  • การฝึกอบรมประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ความท้าทายของเมืองที่ถูกรวมไว้ในวาระแห่งโลก
  • ผู้เข้าร่วมที่มาจากสถาบันฝึกอบรม แสดงเจตนารมณ์ในการดำเนินการฝึกอบรมการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองให้กับลูกค้าของพวกเขา
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
คอร์สอบรม

8-12 ตุลาคม 2561

Project Cycle Management with LogFrame Tools

15-19 ตุลาคม 2561

Monitoring Results and Evaluation: Advance Training (RBME)

29 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2561

Biodiversity Conservation for Human Well-Being

เกมส์