สวัสดีค่ะ
 

เราได้เข้าสู่ไตรมาสแรกของปีและกำลังจะก้าวเข้าสู่ไตรมาสที่สอง สำหรับไตรมาสที่ผ่านมา เราได้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย และขอถือโอกาสนี้ ต้อนรับ มร.ทิม มาเลอร์ ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทยคนใหม่ ไปพร้อมกับการอำลา มร. ชเตฟาน เฮลมิง ที่ดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลากว่า 2 ปี 

ในจดหมายข่าวฉบับนี้ มีข่าวสารทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธรรมาภิบาล การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม หลักสูตรอบรม และอื่นๆ

หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.thai-german-cooperation.info และเฟชบุค www.facebook.com/gizthailand.

คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว

ข่าวเด่น

การเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร

กรมการข้าวและ GIZ สรุปผลสำเร็จการดำเนินโครงการพัฒนาข้าวใน 4 ปี

  • เบรียได้สนับสนุนการจัดฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรมากกว่า 20,000 ราย และช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรถึงร้อยละ10-25 ใน 4 ประเทศเข้าร่วมทั้งหมด
  • สำหรับประเทศไทยคิดเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 29,111 บาทต่อครัวเรือนต่อปี
อ่านเพิ่มเติม
โครงการริเริ่มข้าวที่ดีขึ้นแห่งเอเชีย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ของไทยเข้าฟังและแลกเปลี่ยนความคิดจากประเด็น COP 23

  • หลังจากที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีส ประเทศไทยอาจได้รับผล กระทบทางอ้อม ในด้านการขาดการสนับสนุนด้านการเงินด้านสภาพภูมิอากาศ 
  • ยังคงต้องมีการเจรจาการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดในการดำเนินงานของแต่ละประเทศ
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไทย-เยอรมัน ด้านนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กฟผ. รับทุน 320 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงานสูงและสารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะบริหารกองทุน RAC NAMA มูลค่า 320 ล้านบาท เพื่อใช้สนับสนุนกลไกทางการเงินสำหรับเทคโนโลยีด้านความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • กองทุน RAC NAMA เป็นกองทุนการเงินสู่กลไกลดโลกร้อนแรกในประเทศไทย ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก NAMA Facility
  • กองทุน RAC NAMA สนับสนุนทางด้านการเงินแก่ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ใช้บริการระดับครัวเรือนและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และภาคบริการ เพื่อก้าวสู่การเป็นภาคอุตสาหกรรมทำความเย็นสีเขียวในประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
กฟผ. จับมือ 4 สถาบันการเงิน ส่งเสริมการขายตู้เย็นเบอร์ 5 

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมมือกับสถาบันการเงิน 4 แห่ง ส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ตู้เย็นที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • แคมเปญส่งเสริมการขายนี้ คาดจะสามารถลดพลังงานไฟฟ้าได้กว่า 47 ล้านหน่วยต่อปีหรือ 188 ล้านบาท
  • และยังตั้งเป้าว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประมาณ 25,000 ตันต่อปี 
อ่านเพิ่มเติม
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
กรมอนามัยร่วมวางแผนงานบูรณาการแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • หน่วยงานภาคสาธารณสุข ร่วมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่สอง
    เรื่องการบูรณาการแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สาขาสาธารณสุข 
  • แผนปฏิบัติการ 6 เดือนแรกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 ถึงพฤษภาคม 2561 ถูกนำเสนอในที่ประชุม
  • จังหวัดนครสวรรค์และมหาสารคาม ได้รับเลือกให้เป็นจังหวัดนำร่องในการดำเนินงาน
อ่านเพิ่มเติม
โครงการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง

การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานทดแทน

ชุมชนไทยจับมือกับผู้ให้บริการเทคโนโลยีพลังงานทดแทน หนุนการใช้พลังงานยั่งยืน

  • งานสัมมนาโครงการพลังงานทดแทนชุมชน ไทย-เยอรมัน ครั้งที่ 3 ช่วยส่งเสริมการพัฒนาโอกาสในการนำเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนมาใช้ในชุมชนไทย
  • ผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา  แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์และระบบกริดพลังงานทดแทนแบบผสมผสาน
อ่านเพิ่มเติม
โปรแกรมพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน (PDP) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การพัฒนาเศรษฐกิจและการจ้างงาน

ความร่วมมือไตรภาคี ยกระดับหลักสูตรการสร้างครูอาชีวศึกษาในสปป.ลาว

  • ฝ่ายลาวและไทยเรียนรู้ทักษะการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูอาชีวศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีกลจักร ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และก่อสร้างโยธา
  • หลักสูตรพัฒนาขึ้น โดยคำนึงถึงบริบทประเทศลาวเป็นสำคัญ
  • ภาครัฐและเอกชนร่วมร่างหลักสูตร เพื่อพร้อมแก่การนำเสนอพิจารณาอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา
อ่านเพิ่มเติม
โครงการความร่วมมือไตรภาคีไทย - เยอรมัน

การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม

Rajkot เมืองหนึ่งในอินเดียที่กำลังก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart city)

  • องค์การเทศบาล Rajkot เข้าร่วมการประชุมเชิงเทคนิคเกี่ยวกับระบบท่อน้ำทิ้งแบบสุญญากาศ  ณ รัฐ Gujarat ประเทศอินเดีย
  • แนวคิดนอกกรอบ และการขับเคลื่อนเทคโนโลยีนวัตกรรม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้าง "เมืองอัจฉริยะ"
  • กรรมาธิการเมือง Rajkot แสดงความสนใจที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการประเมินต้นทุนค่าใช้จ่ายที่จะติดตั้งท่อน้ำทิ้งสูญญากาศ บริเวณหนึ่งในพื้นที่ของเมือง
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
หลักสูตรแรกของการอบรม  Urban Nexus  เน้นเชื่อมโยงวาระทั่วโลก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

  • การฝึกอบรม Urban Nexus จัดขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 11-12 ธันวาคม 2560 ที่กรุงเทพฯ 
  • การฝึกอบรม เน้นการเชื่อมโยงแนวทาง Urban Nexus การวางแผนและการดำเนินโครงการเข้ากับวาระทั่วโลก
  • ความรู้เกี่ยวกับแนวทางของ Nexus จะช่วยพัฒนาบุคคลและองค์กร เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืนระดับโลก
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย

ธรรมาภิบาล

ปลอดเชื้อ ปลอดภัย ใส่ใจล้างมือ

  • แนวทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับสุขอนามัยมือ สามารถลดอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล
  • บุคลากรทางการแพทย์จากประเทศกัมพูชา ฟิลิปปินส์และประเทศไทย ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคที่เหมาะสมด้านสุขอนามัยมือตามมาตรฐานและข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก
  • ผู้เข้าร่วมอบรมจะเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับแก่บุคลากรทางการแพทย์  ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป
อ่านเพิ่มเติม
โครงการการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย

อื่นๆ

หลักสูตรการฝึกอบรมที่ AIZ กรุงเทพ

  • หลักสูตรการฝึกอบรมของ AIZ ครอบคลุม 4 ด้านหลักๆ ได้แก่ การพัฒนาบุคคลและสังคม ความเป็นมืออาชีพ ความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการสำหรับมืออาชีพเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการพัฒนา
  • ผู้ฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจาก AIZ ล้วนมากด้วยประสบการณ์และมีความเป็นมืออาชีพด้านการพัฒนาระดับนานาชาติ 
  • แนวทางการฝึกอบรม มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานจริงของผู้เข้าร่วม เพื่อจัดการกับปัญหาต่างๆ และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์ฝึกอบรม AIZ กรุงเทพ
เกมส์