 | |
|
สวัสดีค่ะ
ยินดีต้อนรับสู่จดหมายข่าวฉบับที่สองของปีพ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นจดหมายข่าวประจำเดือนเมษายน – มิถุนายน และทุกท่านสามารถคลิกอ่านกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ รวมทั้งบทความพิเศษได้ตามด้านล่างนี้
สำหรับจดหมายข่าวฉบับนี้ ข่าวเด่นประจำฉบับคงหนีไม่พ้น “ไทย ไรซ์ นามา” ต้นแบบโครงการทำนาลดโลกร้อนของไทย ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและรายได้เกษตรกร มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการในฉบับนี้กันนะคะ
นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นๆ จากโครงการที่เราภูมิใจนำเสนอ อาทิ บทสัมภาษณ์พิเศษชาวประมงนครศรีธรรมราช เพื่อเรียนรู้มุมมองของพวกเขาเกี่ยวกับการลดพลาสติกในทะเล บทความเรื่องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จับมือ GIZ สานต่อการส่งเสริมเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งทุกท่านจะได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการเข้ามาช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นอย่างไร และเรายังมีบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งครอบคลุมเรื่องการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานและ GIZ เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการพลังงานสะอาด และทุกท่านยังสามารถศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก ผ่านบทความปาล์มน้ำมันได้ในจดหมายข่าวฉบับนี้นะคะ
หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัปเดตอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามได้ที่เว็บไซต์ของเรา รวมทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และลิงก์อิน หากไม่ต้องการพลาดข่าวสารใหม่ๆ อย่าลืมกดติดตาม กดไลก์ และแชร์กันด้วยนะคะ
นอกจากนี้ แผนกบริการฝึกอบรม AIZ ของเรายังมีหลักสูตรใหม่ๆ ที่น่าสนใจ สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่นี่
ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
|
 |
|
ไทยเปิดตัวใบรับรอง ePhyto พร้อมใช้รับรองสินค้าส่งออกทุกประเทศ เริ่ม 1 ก.ค |
|
● |
กลุ่มพันธมิตรโลกด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ดำเนินงานโดย GIZ ประเทศไทย ได้สนับสนุนกรมวิชาการเกษตรในการพัฒนาใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ePhyto กับประเทศคู่ค้าผ่านอนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (IPPC Hub) |
● |
ePhyto จะใช้รับรองผ่าน National Single Window (NSW) ซึ่งเป็นระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูลออนไลน์ของหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจสำหรับการนำเข้า ส่งออกสินค้า ส่งผลให้การค้าส่งออกมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง |
● |
กรมวิชาการเกษตร นำร่องเปิดการใช้งานระบบ ePhyto กับการส่งออกผลไม้ 22 ชนิดไปสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะมีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป |
|
|
|
|
|
|
 |
|
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในภาคการเกษตร |
|
● |
GIZ ประเทศไทยจัดฝึกอบรมการคุ้มครองข้อมูล (Data Protection) ให้กับนักวิจัยข้าวไทยและเจ้าหน้าที่กรมการข้าว |
● |
ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ การตีความของการคุ้มครองข้อมูลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และการคุ้มครองข้อมูลในการทำงานร่วมกับเกษตรกร ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูล |
● |
องค์ความรู้นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในภาคการเกษตร เช่น การสัมภาษณ์เกษตรกร การเก็บข้อมูลเพาะปลูก การนำข้อมูลไปประมวลผลวิจัยและการจัดทำระบบฐานข้อมูลของเกษตรกร เพื่อประโยชน์ในการวิจัยในอนาคต |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
เกษตรฯ จับมือภาคเอกชน เดินหน้าขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก
|
|
● |
ในปี พ.ศ. 2564 มีเกษตรกรจำนวนกว่า 400 รายภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (SCPOPP) ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (RSPO) และได้เชื่อมโยงกับตลาดโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว |
● |
ผู้ขับเคลื่อนระดับนโยบายและตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม โรงสกัด โรงกลั่น ผู้ผลิตแปรรูป ผู้ค้าส่งออกน้ำมันปาล์ม เข้าร่วมการสัมมนาเชิงธุรกิจเรื่อง “เส้นทางสู่การยกระดับตลาดปาล์มน้ำมันยั่งยืนในประเทศไทย ครั้งที่ 2” เพื่อนำเสนอทิศทางของตลาดน้ำมันปาล์มยั่งยืนและเพิ่มโอกาสของอุตสาหกรรมไทย |
|
|
|
|
|
|
 |
|
ยกระดับแนวทางการทำเกษตรสวนมะพร้าวอินทรีย์แบบปฏิรูปในประเทศไทย
|
|
● |
เจ้าหน้าที่และนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการด้านปฐพีวิทยาจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าถ่ายทอดความรู้และทักษะการทำเกษตรอินทรีย์แบบปฏิรูปให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ใน 4 จังหวัดภาคกลางของประเทศไทย |
● |
การฝึกอบรมวิทยากรและเกษตรกรต้นแบบในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของโครงการฯ เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การทำสวนมะพร้าวอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
กฟผ. จับมือ GIZ สานต่อการส่งเสริมเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality |
|
● |
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ GIZ ลงนามความร่วมมือในการส่งเสริมและขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีการทำความเย็นสีเขียวในประเทศไทย |
● |
พิธีลงนามครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อต่อยอดและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ |
● |
การดำเนินงานจะมุ่งผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นของไทยมีส่วนช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ |
|
|
|
|
|
 |
|
สนพ. และ GIZ ประเทศไทยลงนามบันทึกความเข้าใจ เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการพลังงานสะอาด
|
● |
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกับ GIZ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาพลังงานและส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านพลังงานในประเทศไทย |
● |
การดำเนินงานจะมุ่งสนับสนุนทางด้านนโยบายของ สนพ. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 |
● |
สนพ. จะดำเนินการทบทวนและปรับปรุงนโยบายและแผนด้านพลังงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว รวมถึงการจัดทำแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการจัดทำรายละเอียดของแผน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
อาเซียนรับรองข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข
|
|
● |
ที่ประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 15 (AHMM) ได้รับรองข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและการตอบสนองภายในภูมิภาคสองฉบับ |
● |
ข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติฯ นี้ได้รับการสนับสนุนในการจัดทำขึ้นโดยโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน |
● |
ข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติทั้งสองฉบับ ได้แก่ แนวทางปฏิบัติเพื่อติดตามผู้สัมผัสข้ามพรมแดนและการสอบสวนการระบาดของโรค และแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยของอาเซียนเพื่อป้องกันโรคระบาดในที่สาธารณะ |
|
|
|
|
|
|
 |
|
“กองทุนน้ำ” สร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร
|
|
● |
กองทุนน้ำเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยอนุรักษ์และรักษาระบบนิเวศ |
● |
การพัฒนากองทุนน้ำจะช่วยสนับสนุนการบูรณาการประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่นโยบาย แผนและกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง |
● |
ขณะนี้ หน่วยงานกำกับด้านน้ำของประเทศไทยกำลังประเมินทางเลือกที่เหมาะสมในการจัดตั้งกองทุนน้ำเพื่อรองรับกระบวนการจัดเก็บและจัดสรรค่าน้ำให้เกิดธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในการบริหารจัดการน้ำ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
โครงการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการ สนับสนุนการบริหารจัดการลุ่มน้ำเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
|
|
● |
การฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการ เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคส่วนน้ำของประเทศไทย |
● |
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับความรู้ในการบริหารจัดการลุ่มน้ำ เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบาง และมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ เป็นต้น |
● |
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นในการเป็นวิทยากรกระบวนการเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้น |
|
|
|
|
|
|
 |
|
ทางเลือกสำหรับร้านอาหารและคาเฟ่ในการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวสําหรับการซื้อกลับและการสั่งผ่านฟู้ดเดลิเวรี่
|
|
● |
กรมควบคุมมลพิษและโครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้น เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขในการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวสําหรับการซื้อกลับและการสั่งผ่านฟู้ดเดลิเวรี่ในร้านอาหารและคาเฟ่ |
● |
นอกเหนือจากการหารือ ยังมีการวางแผนจัดทำคู่มือสำหรับร้านอาหารและคาเฟ่ ซึ่งทางโครงการฯ และกรมควบคุมมลพิษร่วมกันพัฒนาขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางให้แก่ร้านอาหารและคาเฟ่ในการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในกระบวนการต่างๆ |
● |
คู่มือสําหรับร้านอาหารและคาเฟ่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 นี้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
|
 |
|
การบูรณาการแนวทางต้นน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570)
|
|
● |
กรมควบคุมมลพิษ อยู่ระหว่างการเตรียมการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 โดยให้ความสำคัญกับแนวทางต้นน้ำตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในการส่งเสริมมาตรการที่ป้องกันการใช้พลาสติกและการเตรียมการเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ |
● |
แผนปฏิบัติการฯ ในระยะที่ 2 จะยังคงครอบคลุมถึงแนวทางปลายน้ำ อาทิ มาตรการด้านการรีไซเคิล การกู้คืนวัสดุกลับมาใช้ใหม่และการกำจัด รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ “การจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค” ให้ดีขึ้น |
● |
โครงการการทำงานร่วมกันเพื่อการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CAP SEA) ได้เสนอแนะให้มีการกำหนดคำจำกัดความที่ชัดเจนของเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อนำไปใช้กับนโยบายในระดับประเทศ และควรกำหนดมาตรการและกิจกรรมต่างๆ ตามหลักการลำดับชั้นของการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน |
|
|
|
|
|
|
 |
|
โครงการ “Scaling SCP” เดินหน้าส่งเสริมรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|
|
● |
โครงการการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน: ฉลากสิ่งแวดล้อมและการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ เส้นทางสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอาเซียน (Scaling SCP) เป็นโครงการในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายด้านผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
● |
ในประเทศไทย การดำเนินงานจะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล (M&E) สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (GPP) และยกระดับมาตรฐานการรับรองฉลากเขียวของไทย |
● |
โครงการฯ มีแผนงานความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่จะนำร่องการใช้กลไกการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐอย่างเต็มรูปแบบ โดยจะเริ่มจัดหาเครื่องปรับอากาศที่ใช้เทคโนโลยีการทำความเย็นสีเขียวเป็นลำดับแรก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
เปิดตัวระบบ “E-catalogues” ส่งเสริมการบูรณาการงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืน
|
|
● |
เครื่องมือสำหรับการจัดซื้อในรูปแบบดิจิทัล อย่างเช่นระบบข้อมูลสินค้า (e-catalogues) และตลาดซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน (e-marketplaces) นับเป็นวิธีการจัดซื้อที่ส่งเสริมความยั่งยืน |
● |
เครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและเป็นช่องทางการจัดซื้อและจัดจ้างที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐต่างๆ สามารถจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
เอกสารเผยแพร่เรื่องการติดตามและประเมินผล (M&E) การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืน นำเสนอข้อควรปฏิบัติสำหรับการจัดทำ M&E
|
|
● |
การติดตามและประเมินผล (M&E) เป็นแนวปฏิบัติที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยติดตามการดำเนินงานและผลกระทบที่ได้รับจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืน |
● |
ปัจจุบันนโยบายและแผนงานส่วนใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐยังไม่มีการกำหนดกรอบ M&E สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืนไว้ หรือหากมีก็มักมุ่งเน้นไปที่กระบวนการมากกว่าการพิจารณาถึงผลกระทบในวงกว้าง |
● |
การศึกษาเบื้องต้น มุ่งพิจารณาภาพรวมของกระบวนการวางแผน เพื่อเป็นแนวทางให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ M&E ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|