 | |
|
สวัสดีค่ะ
ช่วงเทศกาลปีใหม่กำลังใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่ทุกท่านจะได้ใช้เวลาพักผ่อนและทบทวนสิ่งที่ได้ทำตลอดทั้งปี และมองไปข้างหน้า...วางแผนสิ่งที่จะทำต่อไปเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น แม้ว่าสิ่งที่ผ่านมาจะหนักหนาสักแค่ไหน แต่เราก็เริ่มต้นใหม่ได้เสมอนะคะ
แม้ว่าจดหมายข่าวฉบับนี้จะเป็นฉบับสุดท้ายของปีพ.ศ. 2564 แต่เรายังคงนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจของโครงการ และพลาดไม่ได้เลยสำหรับจดหมายข่าวฉบับนี้ เพราะ มร. ไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการของ GIZ ประเทศไทยและมาเลเซียของเราได้มาเล่าประสบการณ์ 'เยอรมนี' ผ่านยนตรกรรมพลังงานสะอาด ที่พร้อมให้ทุกท่านมาร่วมค้นหาคำตอบกันว่ารถยนต์ไฟฟ้าเป็นทางเลือกที่ดีอย่างไรและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้มากแค่ไหนจากบทความพิเศษในฉบับนี้ค่ะ ไม่แน่นะคะ...นี่อาจเป็นทางเลือกใหม่ของคนไทยในอนาคตก็ได้
ขอให้ทุกท่านมีความสุขในช่วงวันหยุด และอย่าลืมรักษาสุขภาพกันมากๆ เพราะว่าโควิด-19 ยังคงแพร่กระจายไปทั่วทุกแห่งของโลก ไม่เว้นแม้แต่รอบๆ ตัวเรานะคะ!
ขอให้ทุกท่านปลอดภัยและมีความสุขในปีใหม่นี้ค่ะ
ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
สรพ.ร่วมกับ บี. บราวน์ และ GIZ ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ให้โรงพยาบาล รับมือสถานการณ์โควิด-19 |
|
● |
คณะทำงานในโครงการเพิ่มการผลิตผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคและส่งเสริมการทำความสะอาดมือ ส่งมอบเจลแอลกอฮอล์จำนวน 4,200 ขวด ณ โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถนำเจลแอลกอฮอล์ไปใช้รับมือต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 |
● |
โครงการฯ ยังได้สนับสนุนกลุ่มเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่โครงการด้านการเกษตรและอาหารของ GIZ ให้เข้าถึงเจลล้างมือแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพและข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนจากเชื้อโควิด-19 |
● |
SOFTA-GEL ที่บริจาคให้แก่โรงพยาบาล ได้ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน EN 14476 ซึ่งเป็นมาตรฐานการทดสอบประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม ซึ่งรวมถึงไวรัสโคโรนาด้วย |
|
|
|
|
|
|
 |
|
GIZ และ UNEP ส่งเสริมการบริโภครูปแบบใหม่ผ่านข้อมูลด้านความยั่งยืน |
|
● |
GIZ ประจำประเทศไทย ร่วมกับเครือข่าย One Planet Network ภายใต้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับภูมิภาคในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคด้วยข้อมูลด้านความยั่งยืน” |
● |
รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยได้จัดทำนโยบาย รวมถึงกำหนดมาตรการและกลไกต่างๆ เพื่อพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ (GPP) |
● |
จากการดำเนินการ GPP ในระยะที่สอง สามารถประเมินมูลค่าของผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับราว 76,000 ล้านบาท และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ราว 11 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
 |
|
DSPOT สนับสนุนการจัดการข้อมูลระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนระดับประเทศ |
|
● |
ฐานข้อมูลออนไลน์ (DSPOT) พัฒนาขึ้นเพื่อติดตามตรวจสอบสถานการณ์ของระบบบำบัดน้ำเสียทั่วประเทศ |
● |
DSPOT มุ่งตอบโจทย์การใช้งานข้อมูลของหน่วยงานผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งานทั่วไปให้สะดวก ใช้งานง่าย ลดความซ้ำซ้อน และเป็นระบบมากขึ้น |
● |
กรมควบคุมมลพิษ และ GIZ ร่วมจัดการอบรมออนไลน์เพื่อช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียนรู้และใช้งานโปรแกรม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
เราจะพัฒนาการคมนาคมขนส่งข้ามพรมแดนสปป. ลาวและไทยในยุคโควิด-19 ได้อย่างไร |
|
● |
โครงการการออกแบบการขนส่งภายในเมืองขนาดกลางอย่างยั่งยืนของภูมิภาคอาเซียน สนับสนุนเมืองในการพัฒนาการขนส่ง และการคมนาคมข้ามแดนในอาเซียน |
● |
โครงการฯ มุ่งเน้นการพัฒนาแผนการคมนาคมและขนส่งของเมืองอย่างยั่งยืนและจัดตั้งคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านขนส่งในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ |
● |
ขณะนี้ โครงการกำลังเปิดแผนพัฒนาเคเบิลคาร์ข้ามพรมแดนเวียงจันทน์-หนองคาย เพื่อเชื่อมโยงบริการขนส่งผู้โดยสารกับระบบขนส่งสาธารณะ โดยมีการวางแผนเตรียมดำเนินงานร่วมกับศูนย์ริเริ่มการพัฒนาเมืองสำหรับภูมิภาคเอเชีย (CDIA) แล้ว |
|
|
|
|
|
|
 |
|
อนาคตยานยนต์ไฟฟ้ากับการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืน
|
● |
ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยียานยนต์จากประเทศไทยและต่างประเทศ เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อการเดินทางอย่างยั่งยืน และอนาคตการปฏิรูปการเดินทางด้วยเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ยานพาหนะไร้คนขับ และการเดินทางด้วยระบบ Sharing ในงาน ASEAN Sustainable Week |
● |
วิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้สร้างแรงผลักดันในการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น |
● |
รัฐบาลไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อทดแทนยานยนต์พลังงานเชื้อเพลิงเต็มกำลังการผลิตในประเทศภายในปี พ.ศ. 2578
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
|
 |
|
GIZ เดินหน้าฝึกอบรมการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของ ภาครัฐ
|
|
● |
ในแต่ละปี รัฐบาลกัมพูชาใช้งบประมาณร้อยละ 20 – 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างในภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่พิจารณาโดยใช้เกณฑ์ราคาที่ต่ำสุด โดยมิได้คำนึงถึงต้นทุนของสินค้าและบริการ ผลประโยชน์เชิงบวกและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม |
● |
โครงการสนับสนุนการพัฒนาด้านการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในเอเชีย (ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และภูฎาน) ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานไทยในการพัฒนากรอบนโยบายให้กับประเทศกัมพูชา |
● |
กิจกรรมภายใต้โครงการฯ ประกอบด้วยการจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่บุคลากรภาครัฐเพื่อให้เข้าใจถึงหลักการการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ยั่งยืน (SPP) การเตรียมความพร้อมเชิงสถาบันสำหรับการดำเนินงานตามหลักการ SPP และการแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างประเทศต่างๆ |
|
|
|
|
|
|
 |
|
ภูฏานมุ่งขับเคลื่อนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ยั่งยืน
|
|
● |
การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐเป็นงบประมาณส่วนใหญ่ของประเทศภูฏาน ซึ่งปัจจุบันยังขาดกรอบทางกฎหมายและความตระหนักรู้เกี่ยวกับรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (SCP) |
● |
โครงการสนับสนุนการพัฒนาด้านการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในเอเชีย (ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เวียดนาม และภูฎาน) ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ทบทวนกฎและระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง (PRR) พ.ศ. 2562 เพื่อครอบคลุมถึงหลักการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวของภาครัฐ (GPP) ให้มากขึ้น |
● |
กิจกรรมหลักของโครงการฯ ครอบคลุมเรื่องการจัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่บุคลากรภาครัฐเพื่อให้เข้าใจถึงหลักการ GPP และการเตรียมความพร้อมเชิงสถาบันเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|