 | |
|
สวัสดีค่ะ
ในที่สุดพวกเราก็อยู่ช่วงเทศกาลปีใหม่กันแล้ว และนี่ก็เป็นเวลาที่พวกเราหลายคนจะได้ผ่อนคลาย มองย้อนกลับไปในสิ่งที่ทำมาตลอดทั้งปี เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง
ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ได้เห็นกิจกรรมดีๆ ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมดีๆ อย่าง “เปลี่ยนเรา เปลี่ยนโลก…WE CHANGE Climate Change” การเปิดตัวโครงการความร่วมมือในการจัดการพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิจกรรมการตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกที่แปลงนาในจังหวัดสุพรรณบุรี และการแบ่งปันแนวทางความร่วมมือเพื่อลดการคุกคามทางเพศ เราหวังว่าท่านจะเพลิดเพลินไปกับการอ่านข่าวสาร และกิจกรรมเหล่านี้และอื่นๆ อีกมากมายในจดหมายข่าวฉบับนี้
หวังว่าทุกท่านจะมีความสุขในช่วงวันหยุด ใครที่ไปเที่ยว ก็ขอให้เดินทางปลอดภัยนะคะ อย่าลืมรักษาสุขภาพด้วย เพราะโควิด-19 ยังคงอยู่รอบตัวเรา อย่าชะล่าใจไปเชียวนะคะ
สวัสดีปีใหม่ค่ะ
ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทยและมาเลเซียคนใหม่เข้าพบอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ |
|
● |
กรมควบคุมมลพิษ หารือเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในระหว่างการเข้าพบกับ GIZ |
● |
การดำเนินงานของ GIZ สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติที่มุ่งสู่การปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน |
● |
ทั้งสองฝ่ายเล็งเห็นโอกาสความร่วมมือในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับโครงการการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน การลดมลพิษทางอากาศ และการลดขยะในทะเล |
|
|
|
|
|
|
 |
|
สารทำความเย็นธรรมชาติ เย็นชื่นใจ ประหยัดไฟ ลดโลกร้อน |
|
● |
สารทำความเย็นธรรมชาติ เป็นสารซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน และมีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนที่ต่ำมาก |
● |
สารทำความเย็นประเภทนี้ ถือเป็นทางออกสำคัญในการช่วยบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
GIZ จับมือภาครัฐ-เอกชนเดินหน้าเชื่อมโยงตลาดข้าวยั่งยืนเพื่อเกษตรกรไทย |
|
● |
พิธีลงนามการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตข้าว โรงสี และบริษัท โอแลม (ประเทศไทย) จำกัด จะช่วยผลักดันการผลิตข้าวตามมาตรฐานข้าวยั่งยืน ผ่านเทคนิคการทำนารูปแบบใหม่ที่ช่วยลดต้นทุนและลดโลกร้อน |
● |
สำหรับปีพ.ศ. 2563 โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) ได้ขยายผลการฝึกอบรมการผลิตข้าวที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรไปแล้วกว่า 10,000 ราย จากกลุ่มเกษตรกร 100 กลุ่มในจังหวัดอุบลราชธานีและสุรินทร์ |
● |
โครงการฯ ตั้งเป้าเชื่อมโยงตลาดข้าวหอมมะลิที่ผลิตตามมาตรฐานข้าวยั่งยืนประมาณ 60,000 ตัน |
|
|
|
|
|
|
 |
|
แปลงนารักษ์โลกกับการลดก๊าซเรือนกระจก
|
● |
ผู้เชี่ยวชาญเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ก๊าซจากแปลงนาสาธิตที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อวัดประสิทธิภาพและนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตข้าว |
● |
สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ กรมการข้าว และ GIZ จัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกร ในเรื่องการทำนาแบบเปียกสลับแห้งและการปรับพื้นที่นาด้วยเลเซอร์ |
● |
การจัดการน้ำในนาแบบเปียกสลับแห้งและการปรับพื้นที่นาด้วยเลเซอร์ จะช่วยให้ต้นข้าวแข็งแรง ไม่ล้ม ปัญหาศัตรูพืชและโรคข้าวลดลง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
อาเซียนหนุนการพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลทางการเกษตร ขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหาร
|
|
● |
ผู้แทนจากภาครัฐด้านสาขาการเกษตรและการประกันภัย และภาคเอกชนด้านธุรกิจประกันภัยจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรและการจัดการทางการเงิน |
● |
ในปี พ.ศ. 2564 ผู้เข้าร่วมประชุมมีแผนที่จะสนับสนุนการทำงานในเรื่องประกันภัยพืชผลทางการเกษตรระหว่างประเทศ และผลักดันให้เกิดการสร้างนโยบายระดับภูมิภาคอาเซียน
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
ภาคเกษตรเตรียมความพร้อมจัดทำรายงานความโปร่งใสของประเทศ |
|
● |
การควบคุมคุณภาพข้อมูลกิจกรรม เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ |
● |
การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใส สอดรับกับรายละเอียดข้อมูลที่จะต้องรายงานในรายงานความโปร่งใสรายสองปีของประเทศ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
 |
|
ผนึกกำลังสร้างภาพฉายอนาคตของประเทศไทย เสริมสร้างศักยภาพผู้เชี่ยวชาญ
|
|
● |
ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษ เรื่องการสร้างภาพฉายในอนาคต สำหรับกำหนดนโยบายและจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย |
● |
ศาสตร์ด้านการคาดการณ์อนาคต จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถสร้างภาพฉายอนาคตของการพัฒนาประเทศได้รอบด้าน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
 |
|
|