 | |
|
สวัสดีค่ะ
ยินดีต้อนรับสู่จดหมายข่าวฉบับที่สามของปีนี้ อย่างที่ทุกท่านทราบกันว่าสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ตอนนี้กำลังมาระลอกที่สองในหลายๆ ประเทศ อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งชะล่าใจ หมั่นระวังและดูแลตัวเองกันดีๆ นะคะ
ก่อนอื่น เราขอแจ้งให้ทราบว่า เรามีความยินดีที่จะประกาศแต่งตั้ง มร.ไรน์โฮลด์ เอลเกส เป็น ผู้อำนวยการของ GIZ ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย อย่างเป็นทางการ แทนมร.ทิม มาเลอร์ ที่เพิ่งลาจากตำแหน่งไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ท่านสามารถรับชมวิดีโอเพื่อรู้จัก มร. ไรน์โฮลด์ มากขึ้นในจดหมายข่าวฉบับนี้
และเรายังคงนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจของโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเกี่ยวกับ Moverity แอปพลิเคชั่นใหม่ที่จะเข้ามาช่วยท่านสามารถประหยัดน้ำมันรถได้ อีกหนึ่งบทความที่น่าสนใจ คือ การขับเคลื่อนแผนพลังงานระดับจังหวัด ผ่านระบบจำลองการคาดการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย อ่านเพื่อเรียนรู้เครื่องมือนี้ ที่จะช่วยให้เราสามารถประมวลผลออกมาเป็นภาพจำลองการคาดการณ์การใช้พลังงานในอนาคตล่วงหน้าได้สูงสุดถึง 20 ปี! และยังมีอีกบทความอื่นๆ มากมายที่ให้ทุกท่านได้ค้นหาและเพลิดเพลินกับการอ่าน
หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.thai-german-cooperation.info และเฟซบุ๊ก www.facebook.com/gizthailand
ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว |
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
“โรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร” เสริมสร้างศักยภาพสู่การเป็นนักธุรกิจเกษตรมืออาชีพ |
|
● |
“โรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร” เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้เรียนรู้การวางแผนการผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ |
● |
เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร ได้เพิ่มขีดความรู้ความสามารถผ่านการปฏิบัติด้วยการทำหน้าที่เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ในหลักสูตร |
● |
ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติของหลักสูตรทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ธุรกิจการเกษตรอย่างมีส่วนร่วม
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
“ผลิตภัณฑ์อินทรีย์” อาชีพเสริมสร้างรายได้งามจากสวนปาล์มน้ำมัน |
|
● |
การเพาะเห็ดในสวนปาล์ม คือ อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรปาล์มน้ำมันที่กำลังประสบปัญหาราคาปาล์มน้ำมันในตลาดที่ไม่แน่นอน |
● |
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากทะลายปาล์มเปล่าที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มคุณภาพในดิน แต่ยังช่วยเพิ่มผลผลิตปาล์มด้วย |
● |
เกษตรกรจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (RSPO) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนให้น้อยที่สุด
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
ขยะพลาสติก: ทำไมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการใช้พลาสติกจากบริการส่งอาหารและซื้อกลับบ้านจึงสำคัญ |
|
● |
ปริมาณการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวที่เพิ่มสูงขึ้นและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดความต้องการในการจัดการขยะพลาสติก |
● |
โครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล จัดการสัมมนาออนไลน์เพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการลดปริมาณการใช้พลาสติกจากบริการส่งอาหารและการซื้อกลับบ้าน โดยมีกรมควบคุมมลพิษและผู้ประกอบการเข้าร่วม |
● |
การสัมมนานี้ เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมใหญ่หัวข้อการลดขยะพลาสติก การนำกลับมาใช้ใหม่ (การรีไซเคิล) และแนวทางการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติก |
|
|
|
|
|
|
 |
|
ขยะอาหารกับแนวทางจัดการที่เหมาะสมของประเทศไทย |
|
● |
ปริมาณขยะอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และส่งผลให้ต้องมีการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น |
● |
ความท้าทายหลักในการจัดการขยะอาหารของประเทศไทย คือ การขาดการเก็บข้อมูล ความรู้ แรงจูงใจ เครือข่าย และเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้ |
● |
ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะอาหาร ได้แก่ การสร้างฐานข้อมูลและเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูล รวมถึงการจัดหาระบบการจัดการขยะอาหารอย่างถูกวิธี
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัย และ GIZ พัฒนาวิธีการติดตามและประเมินผลการใช้มาตรการทางธรรมชาติแก้น้ำท่วม น้ำแล้ง |
|
● |
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัย และ GIZ ร่วมกันพัฒนาวิธีการติดตามและประเมินผล เพื่อรวบรวมหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากการใช้มาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA) มาแก้ปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้ง |
● |
ชุมชนในระดับลุ่มน้ำมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิธีการติดตามและประเมินผล (M&E) จากการใช้มาตรการทางธรรมชาติ โดยอาศัยระบบดิจิทัล |
● |
ชุมชน นักเรียน นักศึกษา จะได้รับการอบรมเพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญและเกิดความหวงแหนธรรมชาติ รวมทั้งได้รับความรู้ใหม่ด้านการติดตามและประเมินผลการใช้มาตรการทางธรรมชาติ ในเดือนมกราคม - พฤษภาคม พ.ศ. 2564 |
|
|
|
|
|
|
 |
|
ขับเคลื่อนแผนพลังงานระดับจังหวัด ผ่านระบบจำลองการคาดการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย
|
● |
โครงการด้านพลังงาน ภายใต้แผนความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดอบรมการจัดทำภาพฉายอนาคตพลังงานในระดับจังหวัดของประเทศไทย |
● |
โครงการฯ ได้พัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบจำลองสถานการณ์การใช้พลังงานในระดับจังหวัด โดยนำเอาฐานข้อมูลพลังงานประเทศไทยประมวลผลออกมาเป็นภาพจำลองคาดการณ์การใช้พลังงานในอนาคตล่วงหน้า 20 ปี |
● |
หลังการอบรม ผู้แทนจากสำนักพลังงานจังหวัดนำร่องสามารถเข้าใจถึงหลักการจัดทำแผน และสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยให้การออกแบบและจัดทำแผนพลังงานระดับจังหวัดมีความสมบูรณ์มากขึ้น
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
|
|
 |
|
 |
|