สวัสดีค่ะ
 
ในไตรมาสที่สองนี้ เราขอแนะนำแผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไทย-เยอรมัน และเช่นเคยเรายังมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น ข่าวสารด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการน้ำเสีย การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม และอื่นๆ

นอกจากนี้ แผนกบริการฝึกอบรม AIZ ของเรา ยังมีหลักสูตรใหม่ๆ ที่น่าสนใจ สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่ http://training.thai-german-cooperation.info/index.php/training.

หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.thai-german-cooperation.info และเฟชบุค www.facebook.com/gizthailand.

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว
ข่าวเด่น
เยอรมนีสนับสนุนงบประมาณ 690 ล้านบาท ร่วมจัดตั้งแผนงานปกป้องสภาพภูมิอากาศไทย-เยอรมัน
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน
อ่านเพิ่มเติม

การเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร

ภาคเกษตรวางแผนการปรับตัวด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ระบบการผลิตข้าวในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

  • ระบบการผลิตข้าวในลุ่มน้ำเจ้าพระยากำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
  • การใช้แนวทางแบบองค์รวม โดยอิงพื้นที่ตามระบบนิเวศเกษตร เป็นแนวทางหนึ่งที่จะลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับเกษตรกร
  • การปรับปรุงและพัฒนาระบบชลประทานเพื่อการเกษตร ควบคู่กับการวางแนวทางให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้ที่มีส่วนในการจัดทำนโยบายด้านทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร ถือเป็นข้อเสนอแนะหนึ่งในการประชุม
อ่านเพิ่มเติม
โครงการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ไทยและเยอรมนี ประชุมหารือความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • ไทยและเยอรมนีแลกเปลี่ยนประเด็นสำคัญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย
  • การดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศจะประสบความสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อทั่วโลกสามารถปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น รวมทั้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตและพฤติกรรมการบริโภคอย่างเหมาะสม
  • หน่วยงานต่างๆ และรัฐบาลไทย เสนอแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน รวมทั้งแจกแจงความต้องการและลำดับความสำคัญของการดำเนินงาน
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน
สผ. ร่วมกับ GIZ สานต่อการบูรณาการนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่การดำเนินงานในพื้นที่

  • GIZ สนับสนุนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่การดำเนินงานในพื้นที่ 60 จังหวัด
  • การดำเนินงานในแต่ละจังหวัด จำเป็นต้องมีการวางแผนที่ดี มีกระบวนการที่ชัดเจน มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  • GIZ และ สผ. หารือถึงการตั้งคณะทำงาน การจัดทำหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานและแนวโน้มในการของบประมาณ
อ่านเพิ่มเติม
แผนงานความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทย-เยอรมัน
ผู้บริหารระดับสูงร่วมหารือเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในภาคส่วนการตั้งถิ่นฐานและความปลอดภัยของมนุษย์

  • เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง และผู้อำนวยการ GIZ หารือเรื่องความร่วมมือในการออกแบบและพัฒนาเมือง เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ผู้เกี่ยวข้องด้านการออกแบบและพัฒนาเมืองระบุเครื่องมือประกอบการตัดสินใจ มาตรการเชิงโครงสร้างและที่ไม่ใช่เชิงโครงสร้าง
  • ผู้เข้าร่วมประชุมอภิปรายถึงโอกาสในการบูรณาการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่การวางแผนเชิงพื้นที่
อ่านเพิ่มเติม
โครงการแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง

สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

สี่ประเทศอาเซียน เตรียมปรับปรุงฉลากสิ่งแวดล้อมและการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และไทย ร่างเกณฑ์มาตรฐานทางสังคมระดับชาติสำหรับฉลากสิ่งแวดล้อมและการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การลดความยากจนทั่วโลกและขณะนี้ได้รวมประเด็นทางสังคมเข้าไว้ในแผนการดำเนินงานแล้ว
  • ตัวอย่างของคุณลักษณะทางสังคมที่ต้องกำหนดไว้ในฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 และการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น จำนวนชั่วโมงทำงานและเงินเดือนที่เป็นธรรม สภาพความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยและส่งผลดีต่อสุขภาพ รวมทั้งผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดี
อ่านเพิ่มเติม
โครงการพัฒนาการและการวัดผลการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน สำหรับสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง และกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่
กฟผ. แจ้งความคืบหน้ากองทุน RAC NAMA ขณะเยี่ยมเยียน GIZ สำนักงานใหญ่เยอรมนี

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แจ้ง GIZ สำนักงานใหญ่เกี่ยวกับความคืบหน้าของกองทุน RAC NAMA
  • ผู้แทน กฟผ.ได้เยี่ยมชมและเรียนรู้ระบบปั๊มความร้อน ซึ่งใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ ที่อาคารสำนักงาน GIZ ประเทศเยอรมนี
อ่านเพิ่มเติม
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
กฟผ. นำเสนอการดำเนินงานกองทุน RAC NAMA ในการประชุม Bonn Climate Change ประเทศเยอรมนี

  • กฟผ.นำเสนอบทบาทและแผนการเงินของกองทุน RAC NAMA ในการประชุมเรื่อง “การเสริมสร้างจุดมุ่งหมายทางการเงิน ในแผนการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศและการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
  • กองทุน RAC NAMA มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินในการส่งเสริมสารทำความเย็นธรรมชาติ
  • กฟผ. วางแผนการดำเนินงานของกองทุนทั้งสำหรับด้านอุปสงค์และอุปทาน
อ่านเพิ่มเติม
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น
เครื่องมือ ECAM ขับเคลื่อนภาคการจัดการน้ำในการลดก๊าซเรือนกระจก

  • การบำบัดน้ำเสียชุมชน คิดเป็นร้อยละ 47.5 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของน้ำเสียในประเทศไทย
  • ECAM ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การประเมินประสิทธิภาพพลังงาน และยังชี้ให้เห็นถึงโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคส่วนน้ำประปาและน้ำเสีย
  • เครื่องมือนี้ถูกออกแบบมาใช้บนเว็บไซต์ เพื่อให้องค์กรหรือหน่วยงานในภาคสาธารณูปโภคน้ำและน้ำเสีย สามารถหาแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขปัญหาและพัฒนายุทธศาสตร์การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นไปได้
อ่านเพิ่มเติม
การบรรเทาสภาวะโลกร้อนที่เกี่ยวข้องกับน้ำและน้ำเสีย ประเทศไทย

การพัฒนาเมืองและอุตสาหกรรม

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างที่พักอาศัยนำร่องเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่ภูมิภาคบีโกล ประเทศฟิลิปปินส์

  • วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์และเทคโนโลยีบีโกล จัดอบรมการสร้างที่พักอาศัยนำร่องเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCRPH) ให้แก่นักพัฒนาท้องถิ่นและรัฐบาลท้องถิ่นในฟิลิปปินส์
  • CCRPH จะเอื้อประโยชน์ต่อผู้มีรายได้น้อยที่อาศัยอยู่ในเมือง
  • CCRPH ยังได้รับการรับรองจากภาคส่วนเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรมสำหรับที่พักอาศัยของการเคหะแห่งชาติในฟิลิปปินส์และได้รับคะแนนที่พักสูงสุดจากโครงการริเริ่มอาคารสีเขียวของฟิลิปปินส์
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย
เปิดฝึกอบรมเรื่องการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองและการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร ณ เมืองอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย

  • สำนักงานพัฒนาแห่งชาติ (NDA) และโครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย จัดฝึกอบรมเรื่องการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองและการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร
  • การฝึกอบรมได้มีการนำเสนอเครื่องมือเฉพาะสำหรับวิเคราะห์ความท้าทายของเมืองอูลานบาตอร์และร่วมค้นหาแนวทางแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมือง
  • นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีส่วนร่วมของประเทศในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิสัยทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืนของมองโกเลีย เข้าสู่วิธีการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมือง
อ่านเพิ่มเติม
โครงการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการของเมืองในเอเซีย

อื่นๆ

GIZ เดินหน้านำเครื่องมือดิจิทัลมาปรับใช้ในการทำงาน

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาชนบท ขนส่ง สิ่งแวดล้อม พลังงานและน้ำในภูมิภาคเอเชียของ GIZ กว่า 240 คนร่วมหารือในการประชุมเครือข่ายทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชนบทในเอเชีย (SNRD Asia) และเครือข่ายการขนส่ง สิ่งแวดล้อม พลังงาน และน้ำในเอเชีย (TUEWAS)
  • การประชุมเครือข่ายระดับภูมิภาคจัดขึ้นภายใต้สโลแกน “ปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัลสำหรับเครือข่าย SNRD Asia และ TUEWAS” ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ 1) เครื่องมือดิจิทัลที่ใช้ในงานความร่วมมือด้านการพัฒนา และ 2) ศักยภาพของเครื่องมือดิจิทัล
  • ในการประชุมมีการใช้แอปพลิเคชัน Wisembly ซึ่งผู้เข้าร่วมสามารถถามคำถาม โหวตหรือแสดงความคิดเห็นได้โดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อผ่านสมาร์ทโฟน
อ่านเพิ่มเติม
เครือข่ายทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชนบทในเอเชีย และเครือข่ายการขนส่ง สิ่งแวดล้อม พลังงานและน้ำในเอเชีย
คอร์สอบรม

9-13 กรกฏาคม 2561

Monitoring Results and Evaluation: Advance Training

23-26 กรกฏาคม 2561

Leadership Foundation: Managing International Teams

6-10 สิงหาคม 2561

Effective Training Design and Management

เกมส์