สวัสดีค่ะ

ยินดีต้อนรับสู่จดหมายข่าวฉบับที่สองของปีพ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นจดหมายข่าวประจำเดือนเมษายน – มิถุนายน และทุกท่านสามารถคลิกอ่านกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ รวมทั้งบทความพิเศษได้ตามด้านล่างนี้

สำหรับจดหมายข่าวฉบับนี้ ข่าวเด่นประจำฉบับคงหนีไม่พ้น “ไทย ไรซ์ นามา” ต้นแบบโครงการทำนาลดโลกร้อนของไทย ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและรายได้เกษตรกร มาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการในฉบับนี้กันนะคะ

นอกจากนี้ ยังมีบทความอื่นๆ จากโครงการที่เราภูมิใจนำเสนอ อาทิ บทสัมภาษณ์พิเศษชาวประมงนครศรีธรรมราช เพื่อเรียนรู้มุมมองของพวกเขาเกี่ยวกับการลดพลาสติกในทะเล บทความเรื่องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จับมือ GIZ สานต่อการส่งเสริมเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งทุกท่านจะได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าโครงการเข้ามาช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นอย่างไร และเรายังมีบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งครอบคลุมเรื่องการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานและ GIZ เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการพลังงานสะอาด และทุกท่านยังสามารถศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีการขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก ผ่านบทความปาล์มน้ำมันได้ในจดหมายข่าวฉบับนี้นะคะ

หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัปเดตอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามได้ที่เว็บไซต์ของเรา รวมทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และลิงก์อิน หากไม่ต้องการพลาดข่าวสารใหม่ๆ อย่าลืมกดติดตาม กดไลก์ และแชร์กันด้วยนะคะ

นอกจากนี้ แผนกบริการฝึกอบรม AIZ ของเรายังมีหลักสูตรใหม่ๆ ที่น่าสนใจ สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่นี่

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว




 
 
 
 
 
ไทยเปิดตัวใบรับรอง ePhyto พร้อมใช้รับรองสินค้าส่งออกทุกประเทศ เริ่ม 1 ก.ค
 
กลุ่มพันธมิตรโลกด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ดำเนินงานโดย GIZ ประเทศไทย ได้สนับสนุนกรมวิชาการเกษตรในการพัฒนาใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ePhyto กับประเทศคู่ค้าผ่านอนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (IPPC Hub)
ePhyto จะใช้รับรองผ่าน National Single Window (NSW) ซึ่งเป็นระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูลออนไลน์ของหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจสำหรับการนำเข้า ส่งออกสินค้า ส่งผลให้การค้าส่งออกมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง
กรมวิชาการเกษตร นำร่องเปิดการใช้งานระบบ ePhyto กับการส่งออกผลไม้ 22 ชนิดไปสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะมีการส่งออกสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในภาคการเกษตร
 
GIZ ประเทศไทยจัดฝึกอบรมการคุ้มครองข้อมูล (Data Protection) ให้กับนักวิจัยข้าวไทยและเจ้าหน้าที่กรมการข้าว
ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ การตีความของการคุ้มครองข้อมูลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และการคุ้มครองข้อมูลในการทำงานร่วมกับเกษตรกร ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงานด้านข้อมูล
องค์ความรู้นี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในภาคการเกษตร เช่น การสัมภาษณ์เกษตรกร การเก็บข้อมูลเพาะปลูก การนำข้อมูลไปประมวลผลวิจัยและการจัดทำระบบฐานข้อมูลของเกษตรกร เพื่อประโยชน์ในการวิจัยในอนาคต
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
เกษตรฯ จับมือภาคเอกชน เดินหน้าขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก
 
ในปี พ.ศ. 2564 มีเกษตรกรจำนวนกว่า 400 รายภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (SCPOPP) ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (RSPO) และได้เชื่อมโยงกับตลาดโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ผู้ขับเคลื่อนระดับนโยบายและตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม โรงสกัด โรงกลั่น ผู้ผลิตแปรรูป ผู้ค้าส่งออกน้ำมันปาล์ม เข้าร่วมการสัมมนาเชิงธุรกิจเรื่อง “เส้นทางสู่การยกระดับตลาดปาล์มน้ำมันยั่งยืนในประเทศไทย ครั้งที่ 2” เพื่อนำเสนอทิศทางของตลาดน้ำมันปาล์มยั่งยืนและเพิ่มโอกาสของอุตสาหกรรมไทย
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ยกระดับแนวทางการทำเกษตรสวนมะพร้าวอินทรีย์แบบปฏิรูปในประเทศไทย
 
เจ้าหน้าที่และนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการด้านปฐพีวิทยาจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เดินหน้าถ่ายทอดความรู้และทักษะการทำเกษตรอินทรีย์แบบปฏิรูปให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว ใน 4 จังหวัดภาคกลางของประเทศไทย
การฝึกอบรมวิทยากรและเกษตรกรต้นแบบในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของโครงการฯ เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การทำสวนมะพร้าวอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น


อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
กฟผ. จับมือ GIZ สานต่อการส่งเสริมเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว สู่เป้าหมาย Carbon Neutrality
 
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ GIZ ลงนามความร่วมมือในการส่งเสริมและขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีการทำความเย็นสีเขียวในประเทศไทย
พิธีลงนามครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อต่อยอดและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ
การดำเนินงานจะมุ่งผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นของไทยมีส่วนช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
อ่านเพิ่มเติม
 
 
สนพ. และ GIZ ประเทศไทยลงนามบันทึกความเข้าใจ เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการพลังงานสะอาด
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ร่วมกับ GIZ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาพลังงานและส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนผ่านพลังงานในประเทศไทย
การดำเนินงานจะมุ่งสนับสนุนทางด้านนโยบายของ สนพ. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593
สนพ. จะดำเนินการทบทวนและปรับปรุงนโยบายและแผนด้านพลังงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว รวมถึงการจัดทำแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการจัดทำรายละเอียดของแผน
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
 
อาเซียนรับรองข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข
 
ที่ประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 15 (AHMM) ได้รับรองข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและการตอบสนองภายในภูมิภาคสองฉบับ
ข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติฯ นี้ได้รับการสนับสนุนในการจัดทำขึ้นโดยโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน
ข้อกำหนดแนวทางปฏิบัติทั้งสองฉบับ ได้แก่ แนวทางปฏิบัติเพื่อติดตามผู้สัมผัสข้ามพรมแดนและการสอบสวนการระบาดของโรค และแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยของอาเซียนเพื่อป้องกันโรคระบาดในที่สาธารณะ
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
“กองทุนน้ำ” สร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างไร
 
กองทุนน้ำเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยอนุรักษ์และรักษาระบบนิเวศ
การพัฒนากองทุนน้ำจะช่วยสนับสนุนการบูรณาการประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่นโยบาย แผนและกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง
ขณะนี้ หน่วยงานกำกับด้านน้ำของประเทศไทยกำลังประเมินทางเลือกที่เหมาะสมในการจัดตั้งกองทุนน้ำเพื่อรองรับกระบวนการจัดเก็บและจัดสรรค่าน้ำให้เกิดธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในการบริหารจัดการน้ำ



อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
 
โครงการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการ สนับสนุนการบริหารจัดการลุ่มน้ำเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 
การฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการ เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรเพื่อรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคส่วนน้ำของประเทศไทย
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้รับความรู้ในการบริหารจัดการลุ่มน้ำ เช่น การวิเคราะห์ความเสี่ยงและความเปราะบาง และมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ เป็นต้น
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมยังได้เรียนรู้ทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นในการเป็นวิทยากรกระบวนการเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้น
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ทางเลือกสำหรับร้านอาหารและคาเฟ่ในการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวสําหรับการซื้อกลับและการสั่งผ่านฟู้ดเดลิเวรี่
 
กรมควบคุมมลพิษและโครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้น เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขในการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวสําหรับการซื้อกลับและการสั่งผ่านฟู้ดเดลิเวรี่ในร้านอาหารและคาเฟ่
นอกเหนือจากการหารือ ยังมีการวางแผนจัดทำคู่มือสำหรับร้านอาหารและคาเฟ่ ซึ่งทางโครงการฯ และกรมควบคุมมลพิษร่วมกันพัฒนาขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางให้แก่ร้านอาหารและคาเฟ่ในการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวในกระบวนการต่างๆ
คู่มือสําหรับร้านอาหารและคาเฟ่ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 นี้
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
 
การบูรณาการแนวทางต้นน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570)
 
กรมควบคุมมลพิษ อยู่ระหว่างการเตรียมการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 โดยให้ความสำคัญกับแนวทางต้นน้ำตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในการส่งเสริมมาตรการที่ป้องกันการใช้พลาสติกและการเตรียมการเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ
แผนปฏิบัติการฯ ในระยะที่ 2 จะยังคงครอบคลุมถึงแนวทางปลายน้ำ อาทิ มาตรการด้านการรีไซเคิล การกู้คืนวัสดุกลับมาใช้ใหม่และการกำจัด รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ “การจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค” ให้ดีขึ้น
โครงการการทำงานร่วมกันเพื่อการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวภายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CAP SEA) ได้เสนอแนะให้มีการกำหนดคำจำกัดความที่ชัดเจนของเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อนำไปใช้กับนโยบายในระดับประเทศ และควรกำหนดมาตรการและกิจกรรมต่างๆ ตามหลักการลำดับชั้นของการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
โครงการ “Scaling SCP” เดินหน้าส่งเสริมรูปแบบการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
โครงการการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน: ฉลากสิ่งแวดล้อมและการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ เส้นทางสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอาเซียน (Scaling SCP) เป็นโครงการในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายด้านผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในประเทศไทย การดำเนินงานจะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผล (M&E) สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (GPP) และยกระดับมาตรฐานการรับรองฉลากเขียวของไทย
โครงการฯ มีแผนงานความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่จะนำร่องการใช้กลไกการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาครัฐอย่างเต็มรูปแบบ โดยจะเริ่มจัดหาเครื่องปรับอากาศที่ใช้เทคโนโลยีการทำความเย็นสีเขียวเป็นลำดับแรก


อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
เปิดตัวระบบ “E-catalogues” ส่งเสริมการบูรณาการงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืน

 
เครื่องมือสำหรับการจัดซื้อในรูปแบบดิจิทัล อย่างเช่นระบบข้อมูลสินค้า (e-catalogues) และตลาดซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน (e-marketplaces) นับเป็นวิธีการจัดซื้อที่ส่งเสริมความยั่งยืน
เครื่องมือเหล่านี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและเป็นช่องทางการจัดซื้อและจัดจ้างที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐต่างๆ สามารถจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้

 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
เอกสารเผยแพร่เรื่องการติดตามและประเมินผล (M&E) การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืน นำเสนอข้อควรปฏิบัติสำหรับการจัดทำ M&E
 
การติดตามและประเมินผล (M&E) เป็นแนวปฏิบัติที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยติดตามการดำเนินงานและผลกระทบที่ได้รับจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันนโยบายและแผนงานส่วนใหญ่ของหน่วยงานภาครัฐยังไม่มีการกำหนดกรอบ M&E สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอย่างยั่งยืนไว้ หรือหากมีก็มักมุ่งเน้นไปที่กระบวนการมากกว่าการพิจารณาถึงผลกระทบในวงกว้าง
การศึกษาเบื้องต้น มุ่งพิจารณาภาพรวมของกระบวนการวางแผน เพื่อเป็นแนวทางให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ M&E ในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
อ่านเพิ่มเติม
 
 
Public Relation (PR) and Knowledge Management (KM) Specialist of the Sustainable Consumption and Production Hub (SCP Hub)
Financial Advisor of the Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in ASEAN Project (Agri-Climate Risk Finance)
Office Manager of Regional Office
Administrative Assistant (Disability) of GIZ Office Thailand
Advisor for The Renewable Energy and Green Hydrogen of the H2-Uppp Project
Project Assistant of The Thai-German Climate Programme - Agriculture Component (TGCP-Agri) and Thai Rice Nationally Appropriate Mitigation Action (NAMA) Project
Administrative Assistant of The Regenerative Organic Agriculture Project
Policy Advisor (Climate Mitigation) of The Climate, Coastal and Marine Biodiversity (CCMB) Project
Policy Advisor (Climate Finance) of The Climate, Coastal and Marine Biodiversity (CCMB) Project
Intern of Sector Networks
Intern for Renewable Energy of H2-Uppp project
Project Coordinator for GCI and TGC-EMC Decarbonization of Industry
Project Assistant for GCI and TGC-EMC Decarbonization of Industry
Advisor of the Climate, Coastal and Marine Biodiversity (CCMB) project
Project Assistant of the GIZ Food and Agriculture Cluster
Project Coordinator of Green Cooling Initiative for Thailand and Asia and Energy Efficiency in the Industry Component of Thai-German Cooperation on Energy, Mobility and Climate (TGC-EMC)
Project Advisor of Thai-German Climate Programme, Energy Project (TGCP-Energy) and Thai-German Cooperation on Energy, Mobility and Climate (TGC-EMC)
Project Assistant of the Mainstreaming Sustainable Rice through the Sustainable Rice Platform (SRP) project
 
ติดต่อ
ปริยา วงศาโรจน์
เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร
อีเมล pariya.wongsarot@giz.de


เว็บไซต์
www.giz.de/thailand
www.thai-german-cooperation.info

ติดตามข่าวสาร
ที่อยู่
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพลกซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 02 661 9273
โทรสาร 02 661 9281


จดหมายข่าว
สมัครสมาชิกจดหมายข่าว