สวัสดีค่ะ

ยินดีต้อนรับสู่จดหมายข่าวฉบับที่สองของปีพ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นจดหมายข่าวประจำเดือนเมษายน – มิถุนายน และทุกท่านสามารถคลิกอ่านบทความต่างๆ ได้ตามด้านล่างนี้

และเช่นเคย จดหมายข่าวฉบับนี้จะนำเสนอเรื่องราวและมุมมองต่างๆ ผ่านการดำเนินโครงการของเราที่มีหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่องสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) บริษัท บี. บราวน์ (ประเทศไทย) จำกัด และ GIZ ได้มอบเจลล้างมือ SOFTA-GEL ให้กับโรงพยาบาลในช่วงการระบาดโควิด-19 เรื่องการจัดการกับวิกฤตขยะพลาสติกในประเทศไทย มาเลเซียและอินโดนิเซีย และเรื่องการเปิดตัวเว็บไซต์ ASEAN Access ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลทางธุรกิจแบบครบวงจร เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงตลาดภายในอาเซียนและภูมิภาคอื่นๆ และยังมีบทความอีกมากมายที่น่าสนใจให้ทุกท่านได้ติดตามค่ะ

หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัปเดตอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.thai-german-cooperation.info และเฟซบุ๊ก www.facebook.com/gizthailand

และเมื่อเร็วๆ นี้ GIZ ได้เปิดตัว 2 ช่องทางใหม่ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/GIZ_Thailand และลิงก์อิน https://www.linkedin.com/company/giz-thailand หากไม่ต้องการพลาดข่าวสารใหม่ๆ อย่าลืมกดติดตาม กดไลก์ และแชร์กันด้วยนะคะ

นอกจากนี้ แผนกบริการฝึกอบรม AIZ ของเรายังมีหลักสูตรใหม่ๆ ที่น่าสนใจ สามารถสมัครออนไลน์ได้ที่ https://www.learning-giz.de/

อย่าลืมรักษาสุขภาพ แล้วเราจะฝ่าวิกฤติโควิดไปด้วยกันค่ะ

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว
 
 
 
 
โปรแกรม ECAM ปรับปรุงการใช้งาน ตอบโจทย์การจัดการน้ำเสียชุมชนของประเทศไทย
 
โปรแกรม ECAM คำนวณปริมาณพลังงานที่ใช้ในกระบวนการระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจากการบำบัดน้ำเสียชุมชน
โปรแกรมนี้เหมาะกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดการน้ำเสียชุมชน และการให้บริการบำบัดน้ำเสียชุมชน หรือบริษัทที่ปรึกษา สถาบันการศึกษาที่สนใจในการจัดการน้ำเสียชุมชนแบบคาร์บอนต่ำ
หากหน่วยงานผู้รับผิดชอบมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำเสียชุมชนในพื้นที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากเท่าไหร่ ก็จะเข้าใจสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคน้ำเสียชุมชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น และสามารถออกแบบมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากน้ำเสียชุมชนได้
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
สทนช. - GIZ ร่วมพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทย บริหารจัดการน้ำในภาวะโลกร้อน
 
กลุ่มผู้แทนเยาวชนไทยร่วมหารือเรื่องประโยชน์ของมาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA) ในการช่วยจัดการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคส่วนน้ำ
แนวทางปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการน้ำจากเยอรมนีแสดงให้เห็นว่ามาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศสามารถใช้เป็นแนวทางในการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการบริหารจัดการน้ำ
กลุ่มเยาวชนจะนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการวางแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการจัดการน้ำ โดยจะมีการนำเสนอแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมในงานประชุมออนไลน์ในเดือนสิงหาคมนี้

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
 
เกษตรกรต้นแบบร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์พร้อมเดินหน้าการปลูกมะพร้าวยั่งยืน
 
กลุ่มเกษตรกรต้นแบบร่วมกิจกรรมพบปะเพื่อเรียนรู้แนวทางการฟื้นฟูมะพร้าวด้วยเกษตรอินทรีย์ และเสริมสร้างทักษะทางธุรกิจเพื่อเพิ่มรายได้และกระจายช่องทางการดำเนินธุรกิจ
กิจกรรมประกอบด้วยการปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินและป้องกันการชะล้างของหน้าดิน การปลูกพืชแซม อาทิ กล้วย กาแฟ ตะไคร้ ชะพลู ใบเตย และพริกไทย เพื่อเสริมธาตุอาหารในดิน การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อนำมูลไปทำปุ๋ยหมักและช่วยบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น


 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
หลักสูตร TOPSA ขยายองค์ความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน
 
โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (SCPOPP) จัดฝึกอบรมออนไลน์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้บทเรียนเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืน และสามารถถ่ายทอดความรู้ที่มีให้กับเกษตรกรรายย่อยต่อไป
การฝึกอบรมนี้ มีตัวแทนจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าร่วมกว่า 200 ท่าน
เนื้อหาการอบรม มุ่งเน้นการใช้กรณีศึกษาและการประเมินผลกระทบทางสังคมและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนปาล์มน้ำมัน

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
Risk-NAP ถ่ายทอดความสำเร็จด้านการจัดทำแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในมิติการจัดการความเสี่ยงของไทย
 
โครงการการจัดทำแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง (Risk-NAP) สนับสนุนรัฐบาลไทยในการวางแผนและกำหนดนโยบายด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในระดับประเทศ โครงการได้สนับสนุนการวิเคราะห์และบูรณาการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่แผนและนโยบายใน 3 สาขาที่สำคัญ ได้แก่ สาธารณสุข การท่องเที่ยว และการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์
ในระดับพื้นที่ โครงการได้วางแผนด้านการปรับตัวฯ ในพื้นที่นำร่อง 4 พื้นที่ ตั้งแต่การประเมินความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศตามภาพฉายอนาคตในสถานการณ์ต่างๆ การระบุพื้นที่เสี่ยงที่สำคัญ และการกำหนดทางเลือกในการปรับตัวฯ
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
เสริมสร้างศักยภาพกองทุนสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนกลไกทางการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กองทุนสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ GIZ จัดประชุมรายงานความก้าวหน้าของโครงการสนับสนุน
การเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินงานกองทุนภูมิอากาศสีเขียวระยะที่ 3 ผ่านระบบออนไลน์
การประชุมนี้จัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลสรุปและข้อเสนอแนะให้แก่กองทุนสิ่งแวดล้อมในการขอรับรองเป็นหน่วยงานปฏิบัติการระดับชาติของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว
การขอขึ้นทะเบียนรับรองเป็นหน่วยงานปฏิบัติการระดับชาตินี้ จะช่วยให้กองทุนสิ่งแวดล้อมสามารถเข้าถึงเงินทุนจากต่างประเทศในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้โดยตรง และช่วยเสริมสร้างความพร้อมในการเป็นกลไกทางการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ


อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
» Intern of the “Strengthening Regional Initiatives in ASEAN on COVID-19 Response and other Public
   Health Emergencies” project

» SRP Market Development Officer of the “Mainstreaming Sustainable Rice through the Sustainable Rice
   Platform (SRP)” project

» Project Manager in Training and Capacity Development of the Academy for International Cooperation (AIZ)
» Public Relation (PR) and Knowledge Management (KM) coordinator of Collaborative Actions for Single-Use
   Plastic Prevention in South-East Asia (CAP SEA) Project

» Intern of TRANSfer III – Facilitating the development of ambitious transport mitigation actions Project
» Project Advisor Secretariat of the programme “Clean, Affordable, and Secure Energy for Southeast Asia”
» Regional Advisor of the programme “Clean, Affordable, and Secure Energy for Southeast Asia”
» Senior Advisor Thai Rice NAMA Finance
» Intern of Rethinking Plastics – Circular Economy Solutions to Marine Litter Project
» Intern of the project “Collaborative Actions for Single-Use Plastic Prevention in South-East Asia (CAP SEA)”
ติดต่อ
ปริยา วงศาโรจน์
เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร
อีเมล pariya.wongsarot@giz.de


เว็บไซต์
www.giz.de/thailand
www.thai-german-cooperation.info

ติดตามข่าวสาร
ที่อยู่
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพลกซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 02 661 9273
โทรสาร 02 661 9273 ต่อ 156


จดหมายข่าว
สมัครสมาชิกจดหมายข่าว