สวัสดีค่ะ

ยินดีต้อนรับสู่จดหมายข่าวฉบับแรกของปีพ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นจดหมายข่าวประจำเดือนมกราคม – มีนาคม และทุกท่านสามารถคลิกอ่านบทความต่างๆ ได้ตามด้านล่างนี้

เนื้อหา ข้อมูลและมุมมองต่างๆ ที่ผ่านบทความในจดหมายข่าวฉบับนี้ ช่วยอธิบายและบอกเล่าเรื่องราวว่า GIZ ประเทศไทยและพันธมิตร มีวิธีการดำเนินงานอย่างไรที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

สำหรับจดหมายข่าวฉบับนี้ เรายังคงนำเสนอกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นบทความเรื่องนิทรรศการงาน “พลังงานสะอาดขับเคลื่อนอนาคต” ที่กรุงเทพฯ และขอนแก่น ที่นำเสนอการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและการคมนาคมขนส่งของโลกและประเทศไทยจากปัจจุบันไปสู่อนาคต โดยการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนลดลง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บทความเกี่ยวกับประเทศไทย-เยอรมนีร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ โครงการเพิ่มการผลิตผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคและส่งเสริมการทำความสะอาดมือ บทความเรื่องโครงการอำนวยความสะดวกด้านการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนนำร่องร่างนโยบายการบูรณาการสีเขียวสำหรับประเทศไทย หรือบทความเกี่ยวกับการเปิดตัวโครงการการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์สำหรับมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการปลูกมะพร้าวที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังมีบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจให้ทุกท่านได้ติดตามค่ะ

หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.thai-german-cooperation.info และเฟซบุ๊ก www.facebook.com/gizthailand

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว
 
 
 
 
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนามการดำเนินงาน ลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ เพื่อลดปัญหาโลกร้อน
 
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมลงนามกับสถานทูตเยอรมันดำเนินการลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ เพื่อลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ก๊าซไนตรัสออกไซด์ มีค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 265 เท่า
การดำเนินงานจะมุ่งเน้นที่การสนับสนุนผู้ประกอบการติดตั้งเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ สร้างขีดความสามารถ บำรุงรักษา ติดตามและประเมินผล
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ภูเก็ต ระยอง ตรัง พร้อมเดินหน้าจัดการปัญหาขยะพลาสติกในทะเล

 
กรมควบคุมมลพิษร่วมกับ GIZ ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการปัญหาขยะทะเล เปิดตัวโครงการนำร่อง เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกที่รั่วไหลลงสู่ทะเลในจังหวัดภูเก็ต ระยอง ตรัง
การดำเนินงานจะมุ่งเน้นไปที่การลด การเก็บรวบรวม การคัดแยกและการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีระยะเวลาดำเนินงานถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565



อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
เปิดตัว “i-PALM” แอพพลิเคชั่นบันทึกข้อมูลการเพาะปลูกเพื่อปรับปรุงผลผลิต พร้อมให้เกษตรกรสวนปาล์มใช้งานแล้ว
 
โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย พร้อมเปิดตัว
i-PALM บันทึกข้อมูลการเพาะปลูก ปรับปรุงผลผลิต
i-PALM ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม สำหรับเรียนรู้วิธีเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น ปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสม ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว เป็นต้น
ปัจจุบันมีเกษตรกรกว่า 3,200 รายในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และกระบี่ที่ได้รับการอบรมพร้อมใช้แอพพลิเคชั่นแล้ว
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
กลุ่มวิทยากรหลักสูตร TOPSA พร้อมเดินหน้าถ่ายทอดความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน
 
หลักสูตร TOPSA เป็นหลักสูตรสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตตามมาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (RSPO) ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ปัจจุบันมีวิทยากรจำนวนถึง 320 รายที่ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตร TOPSA
วิทยากรสามารถถ่ายทอดความรู้มาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรแล้วกว่า 3,000 ราย


อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
อีกหนึ่งก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการส่งเสริมการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย

 
กรมการข้าวและ GIZ ส่งเสริมการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การผลิตข้าวตามมาตรฐานการผลิตข้าวที่ยั่งยืน ช่วยแก้ไขปัญหาตั้งแต่ระดับเกษตรกรผู้ผลิต ระดับชุมชน ไปจนถึงระดับโลก
โครงการมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการผลิตข้าวยั่งยืน ผ่านการสร้างวิทยากรหลักและวิทยากรเกษตรกร เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรในชุมชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและลดภาวะโลกร้อน

 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
หนุนการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานตลาดข้าวยั่งยืนเพื่อเกษตรกรไทย

โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) เสริมสร้างศักยภาพให้แก่เกษตรกรในการผลิตข้าวยั่งยืน การใช้ปัจจัยการผลิตและเครื่องจักรกลทางการเกษตร
จังหวัดอุบลราชธานีได้รับการคัดเลือกให้เป็นพื้นที่นำร่องของโครงการ เพราะเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดถึง 4.1 ล้านไร่ และโครงการมีการขยายผลเพิ่มอีก 2 จังหวัด คือ สุรินทร์และศรีสะเกษ
จำนวนข้าวหอมมะลิยั่งยืนที่ผลิตและเก็บเกี่ยวได้จากฤดูกาลล่าสุดมีมากถึง 60,000 ตัน

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
 
ปฏิบัติการลดคาร์บอนเป็นศูนย์ “Race to Zero” เร่งเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว
 
การเรียกร้องจากประชาชนให้มีการจัดการเรื่องสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโควิด-19 และราคาค่าไฟที่เพิ่มขึ้น ล้วนผลักดันให้ภาคธุรกิจต้องหันมาลงทุนในเทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว
ปัจจุบัน บริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งในประเทศไทยได้เริ่มเห็นความสำคัญกับการเลือกใช้เทคโนโลยีทำความเย็นสีเขียว โดยได้แนะนำหรือจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องทำความเย็นที่ประหยัดไฟและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คาดว่าภายในปีพ.ศ. 2573 จะมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารทำความเย็นธรรมชาติออกสู่ตลาดกว่า 100,000 เครื่อง โดยคิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 30
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
กฟผ. สฟอ. และ GIZ ผนึกกำลังยกระดับอุตสาหกรรมไทย ปรับปรุงห้องทดสอบเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ เน้นประหยัดไฟ ลดโลกร้อน
 
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.) และ GIZ ร่วมจัด “พิธีเปิดและการสาธิตห้องทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ”
งานนี้จัดขึ้นเพื่อเปิดตัวห้องทดสอบผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ และแจ้งข้อมูลด้านมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องปรับอากาศฉบับใหม่ (มอก. 1529-2561)

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
ไทย-เยอรมนีร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือ เพิ่มการผลิตผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคและส่งเสริมการทำความสะอาดมือ
 
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ร่วมกับบริษัท บี. บราวน์ (ประเทศไทย) จำกัดและ GIZ มุ่งเพิ่มการผลิตผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคและส่งเสริมการทำความสะอาดมือในประเทศไทย
ความร่วมมือนี้ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ให้แก่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในสถานพยาบาล 50 แห่งและกลุ่มเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่ชนบท



 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ภาคส่วนน้ำไทยยกระดับความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ
 
โครงการด้านน้ำ แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมจัดโครงการพัฒนาขีดความสามารถสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนน้ำ
โครงการฯ จัดขึ้นเพื่อบูรณาการประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับใช้มาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA) เข้าสู่การวางแผนและการดำเนินงานในระดับลุ่มน้ำ
ในระยะที่ 1 ผู้เข้าร่วมเข้าใจการจัดการน้ำแบบบูรณาการและการใช้ EbA ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


อ่านเพิ่มเติม
 
 
» Rice Value Chain Junior Advisor of Market Oriented Smallholder Value Chain (MSVC) in Thailand Project
» Project Coordinator Thailand of Collaborative Actions for Single-Use Plastic Prevention in South-East Asia
  (CAP SEA) Project

» Public Relation (PR) and Knowledge Management (KM) coordinator of Collaborative Actions for Single-Use
   Plastic Prevention in South-East Asia (CAP SEA) Project

» Technical Advisor/Expert of climate policy component under the Thai-German Climate Programme
» Intern of TRANSfer III – Facilitating the development of ambitious transport mitigation actions Project
» Project Advisor Secretariat of the programme “Clean, Affordable, and Secure Energy for Southeast Asia”
» Regional Advisor of the programme “Clean, Affordable, and Secure Energy for Southeast Asia”
» Senior Advisor Thai Rice NAMA Finance
» Project Assistant: Partner coordination of the programme “Clean, Affordable, and Secure Energy for
   Southeast Asia”

» SRP Communications Officer of Mainstreaming Sustainable Rice through the Sustainable Rice Platform (SRP)
   project

» Technical Advisor/Expert of Thai-German Climate Programme (TGCP Policy)
» Intern of Rethinking Plastics – Circular Economy Solutions to Marine Litter Project
» SRP Standard and Assurance Officer of Mainstreaming Sustainable Rice through the Sustainable Rice
   Platform (SRP) Project

» Intern of the project “Collaborative Actions for Single-Use Plastic Prevention in South-East Asia (CAP SEA)”
ติดต่อ
ปริยา วงศาโรจน์
เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร
อีเมล pariya.wongsarot@giz.de


เว็บไซต์
www.giz.de/thailand
www.thai-german-cooperation.info
www.facebook.com/gizthailand
ที่อยู่
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพลกซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 02 661 9273
โทรสาร 02 661 9273 ต่อ 156


จดหมายข่าว
สมัครสมาชิกจดหมายข่าว