สวัสดีค่ะ

ยินดีต้อนรับสู่จดหมายข่าวฉบับที่สองของปีนี้ อย่างที่ทุกท่านทราบกันว่าสถานการณ์การระบาด
โควิดตอนนี้เริ่มเบาบางลงในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งชะล่าใจ หมั่นระวังและ
ดูแลตัวเองกันดีๆ นะคะ

ก่อนอื่น เราขอแจ้งให้ทราบว่า เป็นเวลากว่า 6 ปีในการทำงานที่ GIZ และ 2 ปี ในการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย มร.ทิม มาเลอร์ได้กลับไปรับตำแหน่งใหม่ เพื่อพร้อมก้าวสู่การเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจที่ GIZ สำนักงานใหญ่ ประเทศเยอรมนีแล้วเมื่อช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมร. ไรน์โฮลด์ เอลเกส จะเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการคนใหม่ ซึ่งมีผลตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้ สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับทิม มาเลอร์ได้ในจดหมายข่าวฉบับนี้

และเรายังคงนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจของโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความจริงอีกด้านของ ‘น้ำมันปาล์ม’ ที่หลายท่านอาจไม่รู้ และหนึ่งในบทความที่น่าสนใจอีกหนึ่งบทความ ก็คือ ประเทศไทยมีการให้องค์ความรู้อะไรในการดูแลรักษาลุ่มน้ำในสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับโครงการใหม่ของอาเซียนที่เพิ่งเปิดตัวไป โดยโครงการนี้จะมุ่งเน้นการส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรและการค้าที่ยั่งยืน และยังมีอีกบทความอื่นๆ มากมายที่ให้ทุกท่านได้ค้นหาและเพลิดเพลินกับการอ่าน

หากท่านต้องการทราบข้อมูลที่อัพเดทอย่างต่อเนื่อง โปรดติดตามเว็บไซต์ของเราได้ที่
www.thai-german-cooperation.info และเฟซบุ๊ก www.facebook.com/gizthailand

อย่าลืมดูแลตัวเองและล้างมือให้สะอาดนะคะ

ขอแสดงความนับถือ
คณะผู้จัดทำจดหมายข่าว
 
 
 
เปิดตัวโครงการใหม่ของอาเซียน ส่งเสริมมาตรฐานด้านความยั่งยืนให้กับสินค้าเกษตร
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
“หลักสูตรเกษตรกรรายย่อยผลิตปาล์มน้ำมันของไทย” เครื่องมือพัฒนาเกษตรกรรายย่อยสู่ความยั่งยืน
 
โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกับกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาหลักสูตรสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน
“หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยผลิตปาล์มน้ำมันของไทย” จะช่วยให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนปาล์มที่เป็นระบบ เช่น การใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม การจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตปาล์ม เป็นต้น
เมื่อเกษตรกรนำความรู้นี้ไปใช้ จะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถเข้าสู่ระบบมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน หรือ RSPO ได้
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ความจริงอีกด้านของ ‘น้ำมันปาล์ม’

 
สวนปาล์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐานขององค์กรสนับสนุนการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนหรือ RSPO จะไม่สามารถแผ้วถางป่าที่มีสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อาศัยอยู่ หรือพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่เปราะบาง
ผู้ปลูกปาล์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จะต้องดำเนินการเพื่อลดการกัดเซาะหน้าดินและปกป้องแหล่งน้ำ รวมทั้งใส่ใจประเด็นสิทธิมนุษยชน เช่น การไม่ใช้แรงงานเด็ก และการได้รับความยินยอมจากชุมชนท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังไม่มีความต้องการน้ำมันปาล์มยั่งยืน เพราะไม่รู้ว่าน้ำมันปาล์มเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่พบได้ในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
การเปลี่ยนแปลงของหุบเขาแห่งกาแฟ


 
แรงงาน การจัดการดินและน้ำ เป็นปัญหาใหญ่ในการทำสวนกาแฟ
โครงการคอฟฟี่พลัส จัดหลักสูตร “โรงเรียนธุรกิจเกษตร” ให้แก่เกษตรกรได้เรียนรู้วิธีการจัดการแปลงสวนและการคำนวณต้นทุนในการทำสวน
ภายหลังจากการอบรม ทำให้เกษตรกรรู้ว่าการจดบันทึกค่าใช้จ่ายในการทำสวน เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะทำให้ได้รู้ต้นทุนและกำไรที่แท้จริง ซึ่งจะนำไปปรับปรุงการจัดการแปลงของตนเองได้

 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ประเทศไทยทดสอบความปลอดภัยของการใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ R290 ในระบบปรับอากาศครั้งแรก ตอกย้ำการใช้งานที่ปลอดภัย
 
การทดสอบนี้ เป็นการทดสอบสารทำความเย็นที่ติดไฟครั้งแรกในประเทศไทย ที่จะแสดงให้เห็นจุดบกพร่องและจุดที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการออกแบบและผลิตเครื่องทำความเย็นที่ใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่ติดไฟ
ผลการทดสอบ จะช่วยให้ผู้บริโภคคลายความกังวลเรื่องความปลอดภัย เพราะโอกาสติดไฟน้อยมาก หากผลิตภัณฑ์นั้นผ่านมาตรฐาน IEC 60335-2-40
ขณะนี้ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) อยู่ระหว่างการปรับปรุงมาตรฐานอุตสาหกรรม ให้ครอบคลุมในเรื่องความปลอดภัยของการใช้สารทำความเย็นที่ติดไฟในเครื่องปรับอากาศ
อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
หนุนไทยใช้เทคโนโลยีเพื่อการปรับตัว หวังสร้างความเป็นอยู่อย่างยั่งยืน
 
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และสำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ผลักดันการใช้เทคโนโลยีเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการสนับสนุนจาก GIZ
การพัฒนาแผนที่นำทางและฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะถูกนำไปใช้ใน 6 สาขาหลัก
ภูมิปัญญาและวิถีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาในท้องถิ่น ถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับบริบทของประเทศ
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
ผู้บริหารไทย-เยอรมันหารือพัฒนาข้อมูลภูมิอากาศเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
 
กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ GIZ ร่วมวางแผนพัฒนาการให้บริการข้อมูลด้านภูมิอากาศเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การพัฒนาข้อมูลภูมิอากาศเชิงวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถนำเอาข้อมูลความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ เข้าสู่กระบวนการการวางแผนและการพัฒนาเป้าหมายในรายสาขา เช่น การเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาเมืองเพื่อลดความสูญเสียและเสียหายจากภัยพิบัติ การบริหารจัดการน้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม
 
 
 
 
ประเทศไทยเตรียมจัดทำกฎหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศฉบับแรก
 
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินการจัดทำร่างกฎหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ขณะนี้ สผ. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างเพื่อนำเสนอเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ซึ่งจะดำเนินการในรูปแบบออนไลน์ และการจัดประชุมในระดับภูมิภาคทั่วประเทศ
สผ. จะนำเสนอร่างกฎหมายนี้ต่อคณะรัฐมนตรี ภายในปี พ.ศ. 2563
 
อ่านเพิ่มเติม
 
 
60 จังหวัด เตรียมบูรณาการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแผนพัฒนาจังหวัด
 
60 จังหวัดของไทยเข้าร่วมอบรมแนวทางการบูรณาการประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่สอดคล้องกับทิศทางของนโยบายระดับประเทศ
การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน ต้องคำนึงถึงบริบทในพื้นที่ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
จังหวัดนำร่องจำนวน 5 – 10 จังหวัด ที่ถูกคัดเลือกจะได้รับคำแนะนำในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่คำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
 
ติดต่อ
ปริยา วงศาโรจน์
เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร
อีเมล pariya.wongsarot@giz.de


เว็บไซต์
www.giz.de/thailand
www.thai-german-cooperation.info
www.facebook.com/gizthailand
ที่อยู่
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย

193/63 อาคารเลครัชดาออฟฟิศคอมเพลกซ์ (ชั้น 16) ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

โทรศัพท์ 02 661 9273
โทรสาร 02 661 9273 ต่อ 156



จดหมายข่าว
สมัครสมาชิกจดหมายข่าว